ชายแดนมาเลเซีย–ไทย

ชายแดนระหว่างประเทศ

พรมแดนมาเลเซีย–ไทย มีทั้งชายแดนระหว่างประเทศทั้งบนบกผ่านคาบสมุทรมลายู และทางน้ำทางช่องแคบมะละกา รวมไปถึง อ่าวไทย/ทะเลจีนใต้ มาเลเซียทอดตัวอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศไทย มีแม่น้ำโก-ลกเป็นพรมแดนระหว่างประเทศ ที่มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตรกั้นประเทศไทยและมาเลเซีย โดยประเทศไทยอยู่ทางเหนือ และประเทศมาเลเซียอยู่ทางใต้

ชายแดนมาเลเซีย–ไทย
แนวกำแพงกั้นพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย บริเวณด่านปาดังเบซาร์ ระหว่างอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย
ข้อมูลจำเพาะ
พรมแดนระหว่าง ไทย ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
ความยาว647 กิโลเมตร
ประวัติ
มีผลตั้งแต่10 มีนาคม พ.ศ. 2452
การปักปันเขตแดนร่วมกับอังกฤษ
พรมแดนปัจจุบันพ.ศ. 2452
สนธิสัญญา • สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ ฉบับลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452

พรมแดนระหว่างประเทศนี้ได้ใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452[1] ระหว่างไทย (ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสยาม) กับอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งก็คือ เกอดะฮ์ (ไทรบุรี) กลันตัน ปะลิส และตรังกานูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในสมัยก่อนทั้งสี่รัฐนี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามมาก่อน และเป็นรัฐพรมแดนระหว่างประเทศของมาเลเซีย ซึ่งได้แก่ (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) ปะลิส เกอดะฮ์ เประ และกลันตัน กับ 4 จังหวัดพรมแดนระหว่างประเทศของไทย (เรียงจากตะวันตกไปตะวันออก) คือ จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส

พรมแดนทางบก แก้

จากทิศตะวันตกไปจนถึงทิศตะวันออก ชายแดนระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศไทยมีความยาวประมาณ 647 กิโลเมตร[2] โดยมีจุดเริ่มต้นที่แม่น้ำปะลิส

เขตการปกครองที่ติดพรมแดน แก้

  ไทย   มาเลเซีย
อ่าวไทย
จังหวัดนราธิวาส รัฐกลันตัน
รัฐเประ
จังหวัดยะลา
รัฐเกอดะฮ์
จังหวัดสงขลา
รัฐปะลิส
จังหวัดสตูล
ช่องแคบมะละกา

พรมแดนทางทะเล แก้

แบ่งออกเป็น 2 ช่วง - คือในช่องแคบมะละกา และอ่าวไทย/ทะเลจีนใต้

ช่องแคบมะละกา แก้

การข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ แก้

โดยทางรถยนต์ แก้

รายชื่อด่านตรวจคนเข้าเมือง ชายแดนระหว่างประเทศไทย–มาเลเซีย

 
ด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องสะเดา ถ่ายจากฝั่งมาเลเซีย (เกอดะฮ์)

โดยทางรถไฟ แก้

ชายแดนไทย–มาเลเซีย มีเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ 2 เส้นทาง

  • ปะดังเบซาร์ - ปะดังเบซาร์ (สงขลา): เป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการระว่างเมืองปะดังเบซาร์ในมาเลเซีย และเมืองปะดังเบซาร์ในจังหวัดสงลา ของประเทศไทย ก่อนจะเข้าสู่สถานีหาดใหญ่ ซึ่งชื่อเมืองทั้ง 2 เหมือนกัน

รันเตาปันจัง - สุไหโกลก

โดยทางน้ำ แก้

โดยสารด้วยเรือข้ามฟาก ประกอบไปด้วยเที่ยวเดินเรือ ดังต่อไปนี้ เช่น

โดยทางอากาศ แก้

โดยเส้นทางระหว่างประเทศ ประกอบไปด้วยเที่ยวบิน ดังต่อไปนี้ เช่น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลเขตแดน | กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย". treaties.mfa.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
  2. "เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". www.saranukromthai.or.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้