พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายไทย ประเภทพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตราขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 และมีผลใช้บังคับในวันถัดมา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | สภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
วันตรา | 3 สิงหาคม 2560 (เห็นชอบตามมาตรา 267 ของรัฐธรรมนูญ) |
ผู้ลงนาม | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
วันลงนาม | 30 กันยายน 2560 |
ผู้ลงนามรับรอง | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) |
วันลงนามรับรอง | 30 กันยายน 2560 |
วันประกาศ | 7 ตุลาคม 2560 |
วันเริ่มใช้ | 8 ตุลาคม 2560 |
ท้องที่ใช้ | ประเทศไทย |
ผู้รักษาการ | ประธานกรรมการการเลือกตั้ง |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... |
ผู้เสนอ | คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ |
การพิจารณาในสภานิติบัญญัติ | |
วาระที่หนึ่ง | 21 เมษายน 2560 |
วาระที่สอง | 15 มิถุนายน 2560 |
วาระที่สาม | 15 มิถุนายน 2560 |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
| |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | |
คำสำคัญ | |
วิธีการจัดตั้งและการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง | |
เว็บไซต์ | |
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
พระราชบัญญัติดังกล่าวมีใจความสำคัญปรับเปลี่ยนกฎหมายที่ควบคุมพรรคการเมืองหลายอย่าง ซึ่งโดยรวมแล้วทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอลง ตั้งยากขึ้น ยุบง่ายขึ้น โดยมีความมุ่งหมายตามอ้างเพื่อพิทักษ์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ป้องกันพรรคนอมินี และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองมากขึ้น
การร่าง
แก้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีความสำคัญต่อวันการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครบ 4 ฉบับ[4]
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จัดแถลงงานเปิดร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ โดยแถลงว่า กรธ. อยากให้เห็นมาตราว่าด้วยกิจกรรมของพรรคการเมือง 4 ข้อที่กำหนด ได้แก่ การมีสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคการเมือง ทุนประเดิมพรรคการเมือง การมีสมาชิกถึงเกณฑ์ที่กำหนดภายในระยะเวลาต่าง ๆ และกลไกการบริหารพรรคการเมืองตามที่ร่างพระราชบัญญัติฯ กำหนด[5] สำหรับความกังวลเรื่องพรรคการเมืองขนาดเล็ก อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. มองว่า การจะส่งผู้สมัครหรือนำแนวคิดทางการเมืองไปสู่การบริหารประเทศ จำเป็นต้องมีกำลังหรือองคาพยพที่ใหญ่พอสมควร กรธ. ต้องการให้พรรคเล็กทำงานมวลชนให้คนที่มีความคิดทางการเมืองชวนพรรคชวนพวกมาร่วมอุดมการณ์ทำงานด้วยความคิด ไม่ใช่รอให้คนเข้ามาร่วมเอง[5]
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เห็นว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้มองพรรคการเมืองเป็นอาชญากร เพราะหากกระทำผิดจะมีโทษจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต อีกทั้งยังมีข้อจำกัดอีกมากมาย เช่น การจำกัดคนที่จะมาเป็นสมาชิกพรรค การก่อตั้งพรรคการเมืองที่ทำได้ยากขึ้น รวมไปถึงสมาชิกพรรคจะต้องบริจาคเงินให้พรรคการเมืองด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่พรรคการเมืองจะไปดูแลให้สมาชิกพรรคอยู่ในระเบียบวินัยได้ทั้งหมด ฝ่ายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วิธีปฏิบัติที่ได้ระบุไว้ถือเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติและต้องใช้เวลา เช่น เรื่องการจ่ายเงินบำรุงพรรคการเมือง พรรคประชาธิปัตย์เคยทำมาแล้วโดยขอเก็บค่าสมาชิก 20 บาทต่อคนต่อปี จากสมาชิกที่มีจำนวนกว่า 2 ล้านคน แต่พรรคกลับได้รับค่าบำรุงจากสมาชิกพรรคไม่ถึง 10,000 คน[6]
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคร่วมจ่ายทุนประเดิม และให้สมาชิกพรรคการเมืองจ่ายค่าบำรุงพรรคการเมืองรายปีเพื่อให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมือง และห้ามบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้ามาควบคุม ครอบงำหรือชี้นำการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง เพื่อป้องกันการเกิด "พรรคนอมินี" ซึ่งเป็นเหตุของคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 และคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกันจะถูกยุบพรรค และพรรคการเมืองใดที่นำมวลชนไปชุมนุมข้างถนนอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองซึ่งมีโทษยุบพรรค[4]
นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต้องแจ้งวงเงินที่จะใช้ แหล่งทุน ความคุ้มค่า และความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งพรรคเพื่อไทยตั้งคำถามว่า "จะทำให้กกต. กลายเป็นผู้เห็นชอบนโยบายของพรรคการเมืองหรือไม่"[4] นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบาทของ กกต. ให้สามารถขอความร่วมมือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดูเส้นทางการเงินของผู้ที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้ และนำหลักฐานนั้นไปดำเนินคดีกับทั้ง 2 ฝ่ายได้ รวมถึงสามารถขอความคุ้มครองพยานจากคดีการเลือกตั้งได้[4]
อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ไม่มีการบังคับให้พรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม 72 พรรคไปจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่[4]
นักการเมืองคัดค้านร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวเพราะมองว่าเป็น "แผนทำลายพรรค" คือ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ[4]
เนื้อหา
แก้มาตรา 92 หาก กกต. มีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้อำนาจมานอกวิธีการตามรัฐธรรมนูญ หรือให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้าควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคในลักษณะที่ทำให้พรรคหรือสมาชิกของพรรคขาดความอิสระ สามารถยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้[7]
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ยังกำหนดให้มีระบบคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น คือ ให้สมาชิกพรรคการเมืองในจังหวัดต่าง ๆ ลงคะแนนเลือกตัวแทนที่พรรคการเมืองสรรหาสำหรับแต่ละจังหวัดแล้วให้ผู้สมัครคนนั้นลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมือง โดยมีบทลงโทษจำคุกและปรับสำหรับผู้ที่กระทำผิดในเรื่องการจูงใจให้หรือไม่ให้ลงคะแนนแก่ผู้สมัคร รับสินบน หรือให้คนนอกเข้ามาแสดงความคิดเห็นหรือลงคะแนน[8]
โทษตัดสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้นไม่มีกำหนดชัดเจน จึงเข้าใจได้ว่า อาจตัดสิทธิทางการเมืองได้ถึงตลอดชีวิต
การนำไปปฏิบัติ
แก้วันที่ 14 กันยายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (อำนาจเต็มที่) ยกเลิกไพรมารีโหวตสำหรับการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามพระราชบัญญัตินี้[9]
เดือนมีนาคม 2562 พรรคไทยรักษาชาติเป็นพรรคการเมืองแรกที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง ฐานเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดลเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นปรปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ตามมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ู๕๓/๒๕๖๐ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๓๑๗ ง หน้า ๗-๑๒ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐
- ↑ แก้ไขข้อความคลาดเคลื่อน คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๓/๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๓๑๘ ง หน้า ๑ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง หน้า ๒๔-๒๙ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ทำไมนักการเมืองกลัว ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง?
- ↑ 5.0 5.1 กรธ.เปิดร่างแรกพ.ร.บ.พรรคการเมือง129มาตราไม่เซ็ตซีโร่
- ↑ เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ ชี้ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มองพรรคการเมืองเป็นอาชญากร-ยากต่อการปฏิบัติจริง
- ↑ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ "ตั้งพรรคยาก ยุบพรรคง่าย ห้ามประชานิยม"
- ↑ รู้จัก ระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือ ไพรมารีโหวต (Primary Vote) ในพ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ
- ↑ คลอดแล้ว!! ม. 44 คลายล็อกการเมือง เลิกไพรมารีโหวต
- ↑ ไทยรักษาชาติ : สรุปคำวินิจฉัยศาล รธน. สั่งยุบ ทษช. "เซาะกร่อนบ่อนทำลาย" สถาบันพระมหากษัตริย์