พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร[1]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร |
ประสูติ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 |
สิ้นพระชนม์ | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 (1 ปี) |
พระประวัติแก้ไข
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ ประสูติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เป็นพระบุตรพระองค์ที่ 8 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ ในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[2] พระองค์มีพระเชษฐา เชษฐภคินี ร่วมพระบิดาและพระมารดา คือ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อง
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์
พระองค์มีพระขนิษฐา พระอนุชา ร่วมพระบิดา คือ
- อินทุรัตนา บริพัตร
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์
- หม่อมเจ้าชาย(ยังไม่มีพระนาม)
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ ประชวรพระโรคไข้ และมีพระเสมหะ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 วันที่ 30 ธันวาคม เจ้าพนักงานจัดการสรงพระศพ พระราชทานน้ำสรงพระศพแล้วเชิญลงหีบทอง ขึ้นรถยนต์ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เชิญขึ้นตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น มีพระราชทานผ้าไตรของหลวง 10 ไตร ผ้าขาว 20 พับ สดัปกรณ์แล้วเจ้าพนักงานได้อัญเชิญไปบรรจุยังอนุสาวรีย์สุขุมาลนฤมิตร์ ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร[3]
ต่อมาในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 เจ้าพนักงานได้ขุดพระศพเพื่อพระราชทานเพลิง ทรงได้รับพระราชทานโกศราชวงศ์ทรงพระศพ จากนั้นเชิญลองในพระโกศขึ้นรถวอพระประเทียบ มีนายตำรวจนครบาลขึ้นมานำคู่หนึ่ง รถม้าหลวงตามพระศพสองคัน เข้าประตูใต้บริเวณสุสานวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ตั้งขบวนอิสริยยศ มีแตรสังข์เครื่องสูงตามพระเกียรติยศ เวียนพระเมรุ 3 รอบ แล้วพระลองขึ้นตั้งแว่นฟ้าในพระเมรุประกอบพระโกศราชวงศ์ มีแตร สังค์ กลองชนะประโคมยาม
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 เชิญพระโกศขึ้นไปยังพระจิตรกาธาน พร้อมเครื่องพระราชทานเพลิง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ พระญาณวราภรณ์ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นประธานฝ่ายสงฆ์[4]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จมาเก็บพระอัฐิ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน ง): หน้า 579. 4 มิถุนายน 1922. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.
- ↑ "การเมรุวัดเทพสิรินทราวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 53 (ตอน ง): หน้า 1052. 6 มิถุนายน 1926. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2021.