หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร
ท่านผู้หญิงพันธุ์ทิพย์ บริพัตร (ราชสกุลเดิม เทวกุล; 8 มีนาคม พ.ศ. 2452 − 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2530) เป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
พันธุ์ทิพย์ บริพัตร | |
---|---|
เกิด | หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ เทวกุล 8 มีนาคม พ.ศ. 2452 |
เสียชีวิต | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 (78 ปี) |
คู่สมรส | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต |
บุตร | หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร |
บิดามารดา | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย หม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (ราชสกุลเดิม เทวกุล) เป็นธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย กับหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) และเป็นพี่สาวของหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนราชินี และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ สมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยพระองค์ผู้ก่อตั้งมูลนิธิมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ เจ้าของวังสวนผักกาด และวังตะไคร้ มีธิดาองค์เดียวคือหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในปี พ.ศ. 2493 และเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ ในปี พ.ศ. 2514
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 สิริรวมอายุได้ 78 ปี[1]
รางวัลที่ได้รับ
แก้- ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2524
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการออกแบบตกแต่งภายใน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2526
อนุสรณ์สถาน
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3) [3]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 5 (ป.ป.ร.5)[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้ชื่อที่ตั้งตามนาม
แก้- ตึกพันธุ์ทิพย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ตึกจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ โรงพยาบาลนครนายก
- ชมพูพันธุ์ทิพย์ เนื่องจากหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์เป็นผู้นำพันธุ์ตาเบบูย่า (Tabebuia) พันธุ์ดอกสีชมพู (Tabebuia rosea (Bertol.) DC.) จากอเมริกาใต้เข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2500[6]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25): 1807. 26 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2493.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา ประจำปี 2473" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47: 3081. 6 พฤศจิกายน 2473. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2473.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน (หน้า 3119)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, ตอนที่ 11 เล่ม 69 หน้า 487, 19 กุมภาพันธ์ 2495
- ↑ "ชมพูพันธุ์ทิพย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-08-24.
- ↑ 7.0 7.1 "หม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.0 8.1 "จมื่นทิพยรักษา (พิณเทพเฉลิม บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-05. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)