พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี (24 กันยายน พ.ศ. 2455 — 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520) เป็นพระธิดาในจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ24 กันยายน พ.ศ. 2455
สิ้นพระชนม์30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (65 ปี)
พระสวามีหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์
พระบุตรหม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร
หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
ราชสกุลบริพัตร (โดยประสูติ)
สวัสดิวัตน์ (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระมารดาหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงห้า" หรือ "ท่านพระองค์ห้า"[1] ประสูติเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2455 เป็นพระบุตรพระองค์ที่หกและเป็นพระธิดาพระองค์ที่ห้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตรพระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มาแต่แรกประสูติ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ยกพระบุตรของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทั้งสาย[2]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เป็นพระโสทรานุชาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร
  2. ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย)

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สิริพระชันษา 65 ปี

ต่อมาวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. วิรัช จาตุรงคกุล. "ชีวิตในวังของสกุลจาตุรงคกุล". มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
  4. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนที่ 25 เล่ม 67 ราชกิจจานุเบกษา 2 พฤษภาคม 2493
  5. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 หน้า 4301 วันที่ 6 มีนาคม 2469