หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2490) เกิดที่จังหวัดพระนคร เป็นนักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีวเคมี และชีวเคมีศึกษา มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับโปรตีนและเอนไซม์ และเน้นการสอนและการวิจัยทางด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี เป็นผู้ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2548 หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรรเป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี กับหม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ และยังเป็นพระภาติยะ (หลานป้า) ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต่อมาสมรสกับหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย; ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรและหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย) มีบุตรีสองคน คือ หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์ โลว์ และหม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์
ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ | |
---|---|
เกิด | 25 กันยายน พ.ศ. 2490 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ |
บุตร | หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์ โลว์ หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์ |
บิดามารดา | หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี |
ประวัติ
แก้การศึกษา
แก้ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศึกษาที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยสำเร็จการศึกษาระดับประถม ที่โรงเรียน Cheam School และระดับมัธยมที่โรงเรียน Rugby School จากนั้นได้รับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ใน พ.ศ. 2511 ได้รับปริญญาโท สาขาชีวเคมี และปริญญาเอก สาขาอณูชีววิทยา จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ใน พ.ศ. 2515 โดยทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล Dr. César Milstein ที่ MRC Laboratory of Molecular Biology
ประวัติการทำงาน
แก้ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใน พ.ศ. 2518 รองศาสตราจารย์ใน พ.ศ. 2521 และศาสตราจารย์ใน พ.ศ. 2525[1] เคยปฏิบัติงานวิจัยที่ University of Texas Medical Branch ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2519-2520 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ระดับ 11 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ
- พ.ศ. 2523 - 2527 - หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2538 - 2540 - รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2540 - 2542 - รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน - หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน - หัวหน้าหน่วยวิจัยโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548 - 2550 - คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548 - 2550 - กรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน - กรรมการสภา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน - นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ ของประเทศไทย
- พ.ศ. 2528 - 2530 - ประธานสาขาชีวเคมี สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2528 - 2530 - บรรณาธิการวารสารของ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2534 - 2541 - กรรมการสาขาเกษตรและชีววิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
- พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิไทย-เคมบริดจ์
- พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน - สมาชิก บัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2544 - ปัจจุบัน - บรรณาธิการวารสาร ScienceAsia ของ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน - กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรระดับนานาชาติ
- พ.ศ. 2522 - 2525 - Member, Coordinating Committee, Asian Network of Biological Science
- พ.ศ. 2523 - 2529 - Treasurer, Federation of Asian and Oceanian Biochemists (FAOB)
- พ.ศ. 2533 - 2535 - President, Federation of Asian and Oceanian Biochemists (FAOB)
- พ.ศ. 2539 - 2545 - Member, Committee on Symposia, International Union of Biochemistry and Molecular Biology (IUBMB)
- พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน - Thai Delegate to International Union of Biochemistry and Molecular Biology (IUBMB)
- พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน - Member, Governing Council Asia-Pacific International Molecular Biology Network
- พ.ศ. 2544 - 2548 - Membership Committee for Biochemistry and Biophysics, Third World Academy of Science (TWAS)
- พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน - Editorial Board, Molecules and Cells, Korean Society of Molecular and Cellular Biology
- พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน - Member, Health Committee, European Action on Global Life Sciences (EAGLES)
- พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน - Council Member, Asian and Oceanic Human Proteome Organization (AOHUPO)
เกียรติคุณและรางวัล
แก้- พ.ศ. 2525 - ได้รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย
- พ.ศ. 2537 - Honorary Member, Federation of Asian and Oceanian Biochemists and Molecular Biologists (FAOBMB)
- พ.ศ. 2538 - Honorary Member, Philippine Society for Biochemistry and Molecular Biology
- พ.ศ. 2539 - Elected Fellow, Third World Academy of Science (TWAS)
- พ.ศ. 2540 - สมาชิกก่อตั้งบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2540 - รางวัลนักวิจัยดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย สาขาอาจารย์หรือนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีผลในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2541 - Member, Asia Pacific International Molecular Biology Network
- พ.ศ. 2544 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สาขาชีวเคมี)
- พ.ศ. 2545 - รางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2546 - รางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2546 - รางวัลอาจารย์ดีเด่น ของสภาอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง ของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
- พ.ศ. 2547 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สาขาวิทยาการโปรตีน)
- พ.ศ. 2548 - ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ เก็บถาวร 2007-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ผลงานด้านการวิจัย
แก้ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ มาเป็นเวลากว่า 36 ปี ได้ศึกษาโปรตีนชนิดต่าง ๆ ของร่างกายหลายชนิด ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2512 - 2519 - ศึกษาโปรตีนอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งเป็นโปรตีนภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกาย จึงเป็นโปรตีนที่มีลักษณะโครงสร้างที่พิเศษ โดยมีส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่เป็นพื้นฐานทำหน้าที่ส่วนรวม และส่วนที่มีความจำเพาะเพื่อให้สามารถจับกับสารต่าง ๆ ได้
- พ.ศ. 2515 - 2529 - ศึกษาโปรตีนและเอนไซม์ที่มีความจำเพาะต่อระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติและโครงสร้างแตกต่างจากโปรตีนชนิดเดียวกันที่พบในอวัยวะอื่น ๆ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าจะสามารถยับยั้งโปรตีนเหล่านี้ได้โดยไม่มีผลต่อโปรตีนของเนื้อเยื่ออื่นหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางคุมกำเนิดในเพศชาย โปรตีนที่ศึกษาได้แก่ sperm protamine, testis-specific histone, testis-specific lactate dehydrogenase isozyme X และ plasma acidic protease เป็นต้น เพื่อทำให้เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรตีนเหล่านั้น
- พ.ศ. 2527 - 2548 - ศึกษาโครงสร้างของฮีโมโกลบินผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเลือด รวมทั้งศึกษาการผ่าเหล่าที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้ และได้ค้นพบฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดใหม่อีกหลายชนิดที่ยังไม่เคยมีผู้พบมาก่อนในประเทศไทย เช่น Hb-Lepore-Washington-Boston, Hb J Buda, Hb G Coushatta และ Hb Queens เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ และอาการของคนไข้ สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างชัดเจนขึ้น และสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
- พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน - ศึกษาโปรตีนและเอนไซม์ในโรคความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิสม (Inborn errors of metabolism) ซึ่งพบในเด็กไทย และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจก่อให้เกิดอาการปัญญาอ่อน ความผิดปกติของกระดูก ฯลฯ ได้ การศึกษาจึงมุ่งเน้นที่จะเข้าใจถึงพื้นฐานระดับโมเลกุลของโรคทางพันธุกรรม เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ป่วย และช่วยในการบำบัดรักษา ตลอดจนวินิจฉัยโรค
- พ.ศ. 2536 - ปัจจุบัน - ศึกษาโครงสร้างการทำงานของเอนไซม์ไกลโคซิเดสและสารจำพวกไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายและการสร้างคาร์โบไฮเดรท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารจำพวกโอลิโกแซคคาไรด์ ที่มีความสำคัญต่อการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์ ได้ค้นพบเอนไซม์จำพวกนี้ชนิดใหม่หลายชนิดจากเมล็ดพืชพื้นเมืองของไทย ที่มีประโยชน์สามารถนำมาใช้ในการสังเคราะห์โอลิโกแซคคาไรด์และไกลโคไซด์ได้ เช่น เอนไซม์จาก พะยูง ถ่อน มะเขือพวง กระเจี๊ยบ ฉนวน ลั่นทม มันสำปะหลัง และ ข้าว เป็นต้น
- พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน - การพัฒนาเทคนิคด้านโปรตีโอมิกส์ในการวิจัยโรคมะเร็ง เป็นการศึกษาโปรตีนผิดปกติที่พบในโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ (proteomics) วิเคราะห์หาโปรตีนที่น่าจะมีความสำคัญหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกและแนวทางติดตามผลการรักษา ตลอดจนหาวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ได้ผลดียิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้สร้างกลุ่มทีมวิจัยทางด้านโปรตีนและเอนไซม์ที่เข้มแข็งขึ้นในประเทศไทย ทั้งที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อมุ่งขยายงานวิจัยทางด้านนี้ให้กว้างขวางขึ้น โดยเน้นศึกษาโปรตีนและเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ และที่เกี่ยวข้องกับโรคในมนุษย์ ศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอนุพันธ์ของเพนนิซิลินที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในโรคต่าง ๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการรักษาโรคมะเร็งและการหายของแผล ศึกษาการประยุกต์ใช้โปรตีนและเอนไซม์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น โปรตีนและเอนไซม์ย่อยโปรตีนในไหมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย การแยกสกัดเอนไซม์นาริจีเนสจากแหล่งในประเทศไทย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้เพื่อกำจัดรสขมในน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสนใจด้านการเรียนการสอน และทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางด้านชีวเคมีด้วย
งานวิจัยเหล่านี้ ได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติกว่า 120 เรื่อง และจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องของกลไกการทำงานของโปรตีนและความสัมพันธ์กับโครงสร้าง ซึ่งจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม และการรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[5]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
ลำดับสาแหรก
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/056/1.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ มิถุนายน ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๓๒, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2545 : ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุทัศน์ ฟู่เจริญ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, 2545. ISBN 974-229-301-5
- เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 2544. TRF Senior Research Scholar 2001. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2544.
- เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 2547-2548. TRF Senior Research Scholar 2004-2005. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547-2548.