ลั่นทม
ลั่นทม | |
---|---|
ลั่นทม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Apocynaceae |
สกุล: | Plumeria Tourn. ex L. |
ชนิด | |
7-8 ชนิด ได้แก่:
|
ลั่นทม หรือ ลีลาวดี เป็นไม้ดอกยืนต้นในวงศ์ตีนเป็ด หรือ วงศ์ไม้ลั่นทม (Apocynaceae) พืชสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นพุ่มไม้ผลัดใบหรือต้นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่เม็กซิโก อเมริกากลาง และหมู่เกาะแคริบเบียน ไปจนถึงภาคใต้ของบราซิลและฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็มีการปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น[1][2]
บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้านเพราะมีความเชื่อว่า เป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ นิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Temple Tree, Graveyard Tree)[3]
ต้นลีลาวดีเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู สีขาวขุ่น ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี อาจมีมากถึงหลายสีในดอกเดียว
ดอกลีลาวดียังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว โดยเรียกว่า "ดอกจำปา"[4]
ชื่อพื้นเมือง
แก้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในชื่อ ลีลาวดี โดยบางแหล่งงดใช้ชื่อ ลั่นทม ตามความเชื่อ บางแหล่งรู้จักกันในชื่อ จำปา เนื่องจากเป็นดอกไม้ประจำชาติของลาวและประเทศไทยมีดินแดนติดกับลาว หรือรู้จักในชื่อ จำปาลาว และจำปาขอม ซึ่งชื่อที่ใช้ในปัจจุบันและรู้จักกันทั่วไปจะอยู่ลำดับแรกสุด
ความเชื่อ
แก้คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล
ว่า ลีลาวดีภาษาดอกไม้ของ "ลั่นทม" หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศก ซึ่งมาจากคำว่า "ลั่น" หมายถึง การละทิ้ง แตกหัก ส่วน "ทม" หมายถึง ความเศร้าโศก เสียใจ ไม่ได้มีความหมายว่า "ระทม" เหมือนที่คนเข้าใจ
แต่หากแปลภาษาไทยตามพจนานุกรมตามคำต่อคำโดยแยกเป็น คำว่า ลั่น และ คำว่า ทม คำว่า ลั่น เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดัง ส่วนคำว่า ทม ราชบัณฑิตไม่มีนิยามของคำดังกล่าว ดังนั้นคำว่า ลั่นทม อาจสามารถใช้อย่างแพร่หลายได้ โดยไม่ยึดติดความเชื่อกับคำว่า ระทม ซึ่งคำว่าลั่นทมนั้นได้ถูกนิยามไว้ว่า น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. rubraL. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จำปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จำปาลาว, อีสานเรียก จำปา, ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม
ส่วนคำว่าลีลาวดียังไม่มีนิยามในคำดังกล่าว แต่หากแปลภาษาไทยตามพจนานุกรมตามคำต่อคำโดยแยกเป็น คำว่า ลีลา และคำว่า วดี
คำว่า ลีลา เป็น (๑) น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย (๒) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี (๓) น. ท่วงทำนอง (๔) น. การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง ส่วนคำว่า วดี แปลว่า (๑) น. รั้ว, กำแพง ส่วน วดี (๒) น. คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว
ดังนั้น ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ลั่นทมเป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่ว ๆ ไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู
ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก [ต้องการอ้างอิง]
และด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระองค์ได้พระราชทานนามใหม่แก่ลั่นทม ว่า “ลีลาวดี” ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะการทอดกิ่งที่อ่อนช้อยงดงาม ทำให้คนเริ่มนิยมปลูกไม้ชนิดนี้มากขึ้น และก็มีชื่อเรียก แตกต่างกันไป[5]
ลั่นทมเป็นต้นไม้สกุล Plumeria มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และถูกนำเข้ามาในดินแดนแถบนี้เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนโดยนักเดินเรือชาวสเปนหรือโปรตุเกส จึงไม่มีชื่อในภาษาไทย และไม่ปรากฏชื่อในวรรณกรรมโบราณ แหล่งที่มาของคำว่า ลั่นทม เข้าใจว่ามาจากคำว่า "สราญธม"(สะ-ราน-ทม) ในภาษาเขมร ซึ่งแปลว่า "ความรักอันยิ่งใหญ่" ทั้งนี้ ในสมัยโบราณต้นไม้ชนิดนี้นิยมปลูกในวัด จึงไม่นิยมปลูกในบ้าน
มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลัมมีเรีย (plumeria)
ทางพฤกษศาสตร์
แก้สกุล Plumeria มีมากกว่า 21 ชนิด เท่าที่ตรวจพบสายพันธุ์มีมากกว่าร้อยสายพันธุ์[6] Plumeria หลายสายพันธุ์จะมียาง คล้ายกับสายพันธุ์อื่นๆ ในวงศ์ตีนเป็ด Apocynaceae ซึ่งประกอบไปด้วยสารพิษและทำให้ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง[7] ในหลายสายพันธุ์มีลักษณะของใบและการเรียงตัวของเนื้อเยื่อใบที่แตกต่างกัน ใบของสายพันธุ์ Plumeria alba จะเรียวและแหลม ในขณะที่สายพันธุ์ Plumeria pudica มีรูปร่างยาวและมันวาว สีเขียวเข้ม และในสายพันธุ์ Plumeria pudica ใบอ่อนจนถึงใบแก่มีสีเท่ากันตลอดจนร่วง ส่วนในสายพันธุ์ที่ดอกและใบไม้ร่วงแม้ในฤดูหนาวคือสายพันธุ์ Plumeria obtusa หรือรู้จักกันอย่างเป็นทางการคือลีลาวดีสิงคโปร์ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง[8]
ลักษณะทั่วไป
แก้ต้น เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันไม่มาก
ช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ดอก โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง ฝัก/ผลมีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ[9]
ชื่อวิทยาศาสตร์
แก้ลีลาวดีมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Plumeria spp.
ชื่อวงศ์
แก้ลีลาวดีอยู่ในวงศ์ Apocynaceae
สปีชีส์ที่ได้รับการยอมรับมีอยู่ประมาณ 21 สปีชีส์[10]
- Plumeria alba L. - Puerto Rico, Lesser Antilles
- Plumeria clusioides Griseb. (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- Plumeria cubensis Urb. (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- Plumeria ekmanii Urb. (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- Plumeria emarginata Griseb. (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- Plumeria filifolia Griseb. - Cuba
- Plumeria inodora Jacq. - Guyana, Colombia, Venezuela (incl Venezuelan islands in Caribbean)
- Plumeria krugii Urb. (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Puerto Rico
- Plumeria lanata Britton (a synonym of Plumeria obtusa var. sericifolia (C.Wright ex Griseb.) Woodson[12]) - Cuba
- Plumeria magna Zanoni & M.M.Mejía - Dominican Republic
- Plumeria montana Britton & P.Wilson (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- Plumeria obtusa L. - West Indies including Bahamas; southern Mexico, Belize, Guatemala, Florida; naturalized in China
- Plumeria pudica Jacq. - Panama, Colombia, Venezuela (incl Venezuelan islands in Caribbean)
- Plumeria rubra L. - Mexico, Central America, Venezuela; naturalized in China, the Himalayas, West Indies, South America, and numerous oceanic islands
- Plumeria sericifolia C.Wright ex Griseb. (now demoted to Plumeria obtusa var. sericifolia (C.Wright ex Griseb.) Woodson[12]) - Cuba
- Plumeria × stenopetala Urb.
- Plumeria × stenophylla Urb. - Mexico and Central America
- Plumeria subsessilis A.DC. - Hispaniola
- Plumeria trinitensis Britton (now a synonym of Plumeria obtusa var. sericifolia (C.Wright ex Griseb.) Woodson[12]) - Cuba
- Plumeria tuberculata G.Lodd. (now a synonym of Plumeria obtusa var. sericifolia (C.Wright ex Griseb.) Woodson[12]) - Hispaniola, Bahamas
- Plumeria venosa Britton (now a synonym of Plumeria obtusa L.[11]) - Cuba
- ก่อนหน้านี้สายพันธุ์ที่ปรากฏในสกุลนี้คือ[10]
- Plumeria ambigua Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria angustiflora Spruce ex Müll.Arg. = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson
- Plumeria articulata Vahl = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson
- Plumeria attenuata Benth = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson
- Plumeria bracteata A.DC. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria drastica Mart. = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel
- Plumeria fallax Müll.Arg. = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel
- Plumeria floribunda var floribunda = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson
- Plumeria floribunda var. acutifolia Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria floribunda var. calycina Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria floribunda var. crassipes Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria hilariana Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria lancifolia Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria latifolia Pilg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria martii Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria microcalyx Standl. = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson
- Plumeria mulongo Benth. = Himatanthus attenuatus (Benth.) Woodson
- Plumeria obovata Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria oligoneura Malme = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria phagedaenica Benth. ex Müll.Arg. 1860 not Mart. 1831 = Himatanthus drasticus (Mart.) Plumel
- Plumeria phagedaenica Mart. 1831 not Benth. ex Müll.Arg. 1860= Himatanthus phagedaenicus (Mart.) Woodson
- Plumeria puberula Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria retusa Lam. = Tabernaemontana retusa (Lam.) Pichon
- Plumeria revoluta Huber = Himatanthus stenophyllus Plumel
- Plumeria speciosa Müll.Arg. = Himatanthus bracteatus (A.DC.) Woodson
- Plumeria sucuuba Spruce ex Müll.Arg. = Himatanthus articulatus (Vahl) Woodson
- Plumeria tarapotensis K.Schum. ex Markgr. = Himatanthus tarapotensis (K.Schum. ex Markgr.) Plumel
- Plumeria velutina Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
- Plumeria warmingii Müll.Arg. = Himatanthus obovatus (Müll.Arg.) Woodson
อัลบั้มภาพ
แก้-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกลีส้ม,ขาวและขอบชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองไล่เฉดขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง และมีเส้นสีขาว ปลายกลีบดอกสีชมพูรอบกลีบ - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง และไล่สีขาวไปจนถึงสีชมพู จนถึงปลายกลีบดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง สีขาวและขอบสีชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีแดงเข็มทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองและชมพูอ่อน - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลือง ขอบกลีบสีชมพู - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีส้ม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกสีขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีแดงสด - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีส้มเข้มและสีชมพูอ่อน - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูปนสีเหลือง - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกเรียวสีเหลือง สีขาว ขอบดอกสีชมพู ปลายแแหลม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีชมพูปนสีส้ม - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลีบดอกสีเหลืองอ่อนทั้งดอก - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
พันธุ์ไม้ในตระกูลลีลาวดี กลางกลีบดอกสีเหลืองและกลีบดอกสีชมพูปนสีขาว - ลีลาวดีพบในประเทศไทย
-
ลีลาวดี สีแดงพบใน ประเทศมาเลเซีย.
-
ลีลาวดี สีแดงพบใน ประเทศมาเลเซีย
-
ลีลาวดีในJardin des Plantes de Lille, Lille, ประเทศฝรั่งเศส
-
ลีลาวดีพบใน บังกลอ, ประเทศอินเดีย
-
ลีลาวดีสีชมพู
-
ลีลาวดีสีขาว พบใน อัญประเทศ
-
ลีลาวดี (Indian Champa) พบใน Surat, ประเทศอินเดีย
อ้างอิง
แก้- ↑ "Plumeria Tourn. ex L." Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.
- ↑ Eggli, Urs (2002). Albers, Focke (บ.ก.). Illustrated Handbook on Succulent Plants. Vol. 5: Dicotyledons. Springer. p. 16. ISBN 978-3-540-41966-2.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2018-06-09.
- ↑ National flower - Dok Champa - Laos Tourism
- ↑ http://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/22
- ↑ The Plant List (2013). Version 1.1. Published on the Internet; http://www.theplantlist.org/ เก็บถาวร 2019-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (accessed December 2016)
- ↑ College of Tropical Agriculture and Human Resources (CTAHR). Ornamentals and Flowers. Feb. 1998. OF-24.
- ↑ Kew World Checklist of Selected Plant Families[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://varunya21.wordpress.com/2014/01/16/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของลีลา/[ลิงก์เสีย]
- ↑ 10.0 10.1 "World Checklist of Selected Plant Families". สืบค้นเมื่อ May 18, 2014.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-161613 The Plant List (RBG, Kew, MBG) access date: 2015-02-26
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-161615 The Plant List (RBG, Kew, MBG) access date: 2015-02-26