พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง [สิ-หฺริ-รัด-บุด-สะ-บง] บางแห่งสะกดว่า สิริรัตนบุษบง[1] หรือ ศิริรัตน์บุษบง[2][3] (4 มกราคม พ.ศ. 2449 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ4 มกราคม พ.ศ. 2449
วังบางขุนพรหม
หม่อมเจ้าศิริรัตนบุษบง
สิ้นพระชนม์6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (84 ปี)
พระสวามีหม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล
ราชสกุลบริพัตร (โดยประสูติ)
ดิศกุล (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระมารดาหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2448 (ตรงกับ พ.ศ. 2449 ตามปฏิทินสากล) ณ วังบางขุนพรหม เมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็นหม่อมเจ้า โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามว่า “ศิริรัตนบุษบง” เนื่องด้วยพระสิริโฉมละม้ายคล้ายกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

พระองค์มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาเจ็ดพระองค์ และมีเจ้าน้องต่างพระมารดาอีกสามพระองค์[4][5]

ในปี พ.ศ. 2453 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานันดรของพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม ขึ้นเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า” ทั้งสาย[6]

ครอบครัว

แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทั้งสองไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน แต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน คือ ฤทธิ์ดำรง ดิศกุล[7] ซึ่งสมรสกับ แก้วตา ดิศกุล (สกุลเดิม: หังสสูต) มีบุตรด้วยกันชื่อ อาชวฤทธิ์ ดิศกุล[8]

การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์

แก้

ในปี พ.ศ. 2506 พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบงพร้อมคณะ ได้อุทิศที่ดินส่วนพระองค์ขนาด 339.06 ตารางวา มูลค่า 1,695,300 บาท ให้แก่เทศบาลนครกรุงเทพ (ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร) เพื่อใช้ในการตัดถนนสายใหม่เชื่อมต่อกับถนนบริพัตร โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ[2]

กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันควรแก่การยกย่อง จึงได้ถวาย เครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการพลเรือนสำหรับหมู่คณะ ชนิดติดตั้ง ชั้นเครื่องหมายทองประดับเพชร แด่พระองค์และคณะ[3]

สิ้นพระชนม์

แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 สิริพระชันษา 84 ปี

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง
ไฟล์:Siriratana Busabong Monogram.jpg
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 4 มกราคม พ.ศ. 2449 — 6 มกราคม พ.ศ. 2454 : หม่อมเจ้าศิริรัตนบุษบง บริพัตร
  • 6 มกราคม พ.ศ. 2454 — 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

งานพระนิพนธ์

แก้
  • พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต. กรุงเทพฯ : วันพาณิชย์, 2524, 95 หน้า
  • ทูนกระหม่อมบริพัตรกับการดนตรี. กรุงเทพฯ : จันวาณิชย์, 2524, 169 หน้า (พระนิพนธ์ร่วมกับ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล)
  • พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต. พิมพ์เนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ พันเอกหม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล 20 กันยายน 2533. กรุงเทพฯ : เรือนแก้ว, 2534, 207 หน้า

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช 2468" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 66. 3 มีนาคม พ.ศ. 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2015-02-24. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบง กับพวก ทรงอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (17ง): 458. 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตน์บุษบง กับพวก และนายบำรุง นวราช ทรงอุทิศและอุทิศที่ดินให้ทางราชการสร้างถนน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (90ง): 2114. 10 กันยายน พ.ศ. 2506. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2533. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, พ.ศ. 2533. 117 หน้า. ISBN 9748359611
  5. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม, พ.ศ. 2517. 41 หน้า.
  6. "ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (1ก): 99. 8 มกราคม พ.ศ. 2453. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "คุณแหน ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2553". แนวหน้า. 26 มีนาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "บรรยากาศอบอุ่นกับงานฉลองครบรอบ 8 ปี เลอ คริสตัล". รีวิวเชียงใหม่. 5 กันยายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-09. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ 5 ธันวาคม 2523 https://www.dol.go.th/personnel/24%20%2060/01%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A22523.pdf เก็บถาวร 2020-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 2022. 22 สิงหาคม พ.ศ. 2469. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/401.PDF
  12. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน หน้า ๔๓๐๐ เล่ม ๔๓, ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙