ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

บทความนี้เกี่ยวกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สำหรับทางหลวงสายอีสาน ดูที่ ถนนมิตรภาพ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายกลางสะพานมิตรภาพที่แม่สอด (เขตแดนไทย/พม่า)–มุกดาหาร (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 ทางหลวงเอเชียสาย 13 และ ทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้วย

Thai Highway-12.svg
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12
ถนนสายเอเชีย, ถนนจรดวิถีถ่อง (ตาก–สุโขทัย), ถนนสิงหวัฒน์ (สุโขทัย–พิษณุโลก), ถนนมิตรภาพ (พิษณุโลก–หล่มสัก), ถนนมลิวรรณ (บ้านโนนหัน–ขอนแก่น; มะลิวัลย์ ใน ทน.ขอนแก่น), ถนนศรีจันทร์ (ขอนแก่น–ยางตลาด), ถนนถีนานนท์ (ยางตลาด–สมเด็จ)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แสดงเฉพาะช่วงตาก–ขอนแก่น (เส้นสีแดง)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ในตัวเมืองพิษณุโลก
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (แม่สอด–ตาก) (แยกอินโดจีน–แยกบ้านคลอง) (ตาก–มุกดาหาร)
ความยาว:793.391 กิโลเมตร (492.990 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก:สะพานมิตรภาพ เขตแดนประเทศพม่า ใน อ.แม่สอด จ.ตาก
 
ปลายทางทิศตะวันออก:Thai Highway-212.svg 212 ใน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
ระบบทางหลวง

รายละเอียดของเส้นทางแก้ไข

 
ป้ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

แม่สอด–ตากแก้ไข

ถนนในช่วงแม่สอด–ตาก เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 เป็นถนนที่ก่อสร้างตามโครงข่ายทางหลวงสายเอเชีย คือ ทางหลวงเอเชียสาย 1 จุดเริ่มต้นตามหลักกิโลเมตรอยู่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า (สะพานข้ามแม่น้ำเมย) ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นทางลงสู่ระดับดินผ่านด่านพรมแดนแม่สอด ตรงไปยังทิศตะวันออก ในช่วงนี้จะเป็นทางคู่ขนาด 4 ช่องจราจร ผ่านแยกสนามบิน ซึ่งหากเลี้ยวขวาไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1355 (ถนนอินทรคีรี) จะเข้าเมืองแม่สอด ถ้าตรงไปจะเป็นเลี่ยงเมือง หลังจากนั้นมาบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1355 ที่วงเวียนที่แยกอุ้มผาง จากนั้นขึ้นเขาผ่านเทือกเขาถนนธงชัย แต่เดิมเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในปัจจุบันได้รับการขยายเป็น 4 ช่องจราจรทั้งหมดแล้ว มุ่งหน้าไปยังอำเภอเมืองตาก แล้วสิ้นสุดช่วงนี้บนถนนพหลโยธิน รวมระยะทาง 85.905 กิโลเมตร จากนั้นนับกิโลเมตรต่อไปตามถนนพหลโยธินไปทางทิศเหนือ จนถึงสี่แยกทางหลวงในเขตเทศบาลเมืองตาก จึงมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แยกขวาออกไปทางทิศตะวันออก

ถนนจรดวิถีถ่อง (ตาก–สุโขทัย)แก้ไข

ถนนในช่วงตาก–สุโขทัย มีชื่อเรียกว่า ถนนจรดวิถีถ่อง มีระยะทางรวมในช่วงนี้ 78.802 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 92.804 บริเวณสี่แยกทางหลวง ซึ่งเชื่อมต่อมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1400 (ถนนมหาดไทยบำรุง) ที่ตัดกับถนนพหลโยธิน เป็นทางคู่ขนาด 4 ช่องจราจร เส้นทางตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย แล้วเข้าเขตอำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงแยกวังวน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จะเบี่ยงออกไปทางขวา ซึ่งถ้าหากตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย เมื่อเลี้ยวขวาจะเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นทางเดี่ยว 2 ช่องจราจร เมื่อออกจากอุทยานจะผ่านแยกบ้านนา ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 มาบรรจบทางซ้ายมือ ส่วนทางขวามือจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จากนั้นตรงเข้าไปยังเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ผ่านสะพานพระร่วง ข้ามแม่น้ำยม แล้วสิ้นสุดที่แยกสุโขทัยธานี ตัดกับถนนประพันธ์บำรุงทางซ้ายมือ และถนนสิงหวัฒน์ ซึ่งแยกออกไปทางขวาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถ้าตรงไปจะเป็นถนนจรดวิถีถ่องอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งใช้เรียกกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ช่วงสุโขทัย–ศรีสำโรง–สวรรคโลก

ถนนสิงหวัฒน์ (สุโขทัย–พิษณุโลก)แก้ไข

ถนนในช่วงสุโขทัย–พิษณุโลก มีชื่อเรียกว่า ถนนสิงหวัฒน์ เริ่มต้นในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มุ่งไปยังทิศตะวันออก บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 หรือถนนเลี่ยงเมืองสุโขทัย จากนั้นผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอพรหมพิราม จากนั้นเข้าสู่อำเภอเมืองพิษณุโลก ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง) จากนั้นผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก ศาลหลักเมืองพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก สิ้นสุดที่เชิงสะพานนเรศวรริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

ถนนมิตรภาพ (พิษณุโลก–หล่มสัก)แก้ไข

 
หลักกิโลเมตรที่ 0 บริเวณสี่แยกอินโดจีน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มองจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ไปยังทิศตะวันตก

ถนนในช่วงพิษณุโลก–หล่มสัก มีชื่อเรียกว่า ถนนมิตรภาพ เป็นถนนสายที่สองที่ได้รับการช่วยเหลือในการก่อสร้างจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา หลังจากก่อสร้างถนนมิตรภาพสายแรก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ช่วงสระบุรี–นครราชสีมา) ถนนในช่วงนี้เริ่มต้นที่เชิงสะพานนเรศวร ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตัดผ่านใจกลางเมืองพิษณุโลก ข้ามทางรถไฟสายเหนือ แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 กับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ที่สี่แยกอินโดจีน แล้วบรรจบกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ ที่แยกซีพี จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกไปยังอำเภอวังทอง เข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ผ่านอำเภอเขาค้อ จนสิ้นสุดที่สี่แยกพ่อขุนผาเมือง ซึ่งตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2466 ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสาย

หล่มสัก–ชุมแพแก้ไข

 
สะพานห้วยตอง
 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก–ชุมแพ ที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
 
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ฝั่งมุ่งหน้าทิศตะวันตก ที่ทางแยกคอนสาร ในอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ก่อนที่จะผ่านเทือกเขาเพชรบูรณ์

ถนนช่วงหล่มสัก–ชุมแพนี้ กรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก–ชุมแพ เพื่อให้แล้วเสร็จตามโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์สายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยได้รับการช่วยเหลือเงินค่าก่อสร้างจากรัฐบาลออสเตรเลีย ทางหลวงในช่วงนี้เริ่มจากสี่แยกพ่อขุนผาเมืองในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรถึงศูนย์สร้างทางหล่มสัก จากนั้นจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร ข้ามสะพานห้วยตอง ผ่านเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จากนั้นเข้าสู่เขตอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ แล้วเข้าเขตอำเภอน้ำหนาวอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะออกจากเขตอุทยาน แล้วเข้าสู่เขตอำเภอคอนสารครั้งที่สอง โดยมีทางแยกเข้าตัวอำเภอน้ำหนาว ที่สามแยกห้วยสนามทราย ต่อมาเข้าเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่นเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเข้าสู่เขตอำเภอคอนสารครั้งที่สาม โดยถนนจะมีขนาด 4 ช่องจราจรอีกครั้งก่อนถึงตัวอำเภอคอนสาร และเข้าเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ไปสิ้นสุดที่สามแยกถนนมะลิวัลย์ ที่ตำบลโนนหัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงหล่มสัก-ชุมแพ เป็นช่วงเดียวที่ยังไม่ได้รับการขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร เนื่องจากถนนผ่านเขตเทือกเขาสูงชันและอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อันเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ออกมาต่อต้านมิให้ปรับปรุงขยายช่องจราจรบนถนนช่วงนี้ และเสนอทางเลือกอื่น ๆ เช่น มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร[1] ได้เสนอให้กรมทางหลวงปรับปรุงพัฒนาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2216 (ห้วยสนามทราย - กกกะทอน) ซึ่งเป็นถนนที่ไม่ได้ผ่านเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว แต่ระยะทางจะไกลกว่าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่ 58 กิโลเมตร

กรมทางหลวงได้มีการศึกษาถนนแนวใหม่ขนาด 4 ช่องจราจรเพื่อลดผลกระทบต่ออุทยานแห่งชาติน้ำหนาว[2] โดยแนวเส้นทางจะแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เดิมที่สี่แยกอาเซียน ซ้อนทับไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 แล้วตรงไปยังแนวเส้นทางใหม่ที่ทางแยกสักหลง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 จะเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าอำเภอหล่มเก่า) จากนั้นแนวเส้นทางจะผ่านที่ราบและเส้นทางภูเขา ไปตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2216 บริเวณตำบลหลักด่าน แล้วทับซ้อนกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2216 ตลอดสายทางจนถึงทางแยกห้วยสนามทราย เลี้ยวซ้ายไปตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เดิมจนถึงแยกคอนสาร มีระยะทางประมาณ 121 กิโลเมตร เพิ่มระยะทางจากแนวเดิมประมาณ 23 กิโลเมตร

ถนนมลิวรรณ (ชุมแพ–ขอนแก่น)แก้ไข

ดูเพิ่มที่: ถนนมลิวรรณ

ถนนช่วงชุมแพ–ขอนแก่น มีชื่อว่า ถนนมลิวรรณ (ถนนมะลิวัลย์ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น) เส้นทางเริ่มต้นจากตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จากนั้นผ่านอำเภอหนองเรือ อำเภอบ้านฝาง และอำเภอเมืองขอนแก่น ตัดผ่านถนนเลี่ยงเมืองขอนแก่นด้านตะวันตก และสิ้นสุดที่สี่แยกสามเหลี่ยม โดยตัดกับถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และถนนประชาสโมสร ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น มีระยะทางทั้งหมด 92 กิโลเมตร

นอกจากนี้ถนนมลิวรรณยังใช้เรียกกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ช่วงตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ถึงอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย อีกด้วย

ถนนศรีจันทร์ (ขอนแก่น–ยางตลาด)แก้ไข

ถนนช่วงขอนแก่น–ยางตลาด มีชื่อเรียกว่า ถนนศรีจันทร์ เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 โดยมีเส้นทางเริ่มจากเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จากนั้น ผ่านอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ผ่านบางส่วนของอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และไปสิ้นสุดที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางหลวงเส้นนี้มีระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น มีชื่อเรียกว่า ถนนศรีจันทร์ เช่นกัน มีเส้นทางเริ่มจากถนนมิตรภาพ สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 (ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น)

ยางตลาด-มุกดาหารแก้ไข

ถนนในช่วงนี้บางส่วนเป็นถนนที่ก่อสร้างใหม่ ในช่วงแรกแนวเส้นทางจะทับซ้อนไปกับถนนถีนานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เดิม) จากนั้นจะแยกจากถนนถีนานนท์บริเวณหน้าห้างขายวัสดุก่อสร้างโกลบอลเฮ้าส์ สาขากาฬสินธุ์ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ในอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เข้าเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2046 ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จากนั้นเส้นทางจะขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 และ 12 เดิม) ที่บ้านนาไคร้ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 จะข้ามทางหลวงสายใหม่ที่ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ เพื่อเข้าสู่พื้นที่อำเภอหนองสูงและอำเภอคำชะอีต่อไป จากนั้นเส้นทางจะเบี่ยงออกจากตัวอำเภอหนองสูงและอำเภอคำชะอีไปทางด้านซ้ายทางของทางหลวงสายเดิม และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 ที่ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร โดยหลังจากนี้แนวเส้นทางจะตรงไปตามทางสายเดิมถึงอำเภอเมืองมุกดาหาร

ประวัติแก้ไข

 
โครงการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ช่วงพิษณุโลก–หล่มสัก ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2503 กรมทางหลวงได้ทำการก่อสร้างช่วงพิษณุโลก–หล่มสัก โดยกำหนดให้ทางหลวงสายดังกล่าวเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 โดยได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสหรัฐ โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ถนนมิตรภาพ ต่อมาเมื่อถนนโชคชัย–เดชอุดมได้ถูกสร้างขื้น ในปี พ.ศ. 2513 กรมทางหลวงจึงได้กำหนดให้เปลี่ยนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 โดยหมายเลข 24 ได้ถูกนำไปเรียกถนนโชคชัย–เดชอุดม (ก่อนจะกลายมาเป็นถนนสีคิ้ว–เดชอุดม หรือ สีคิ้ว–อุบลราชธานีในเวลาต่อมา)[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมากรมทางหลวงจึงได้ก่อสร้างต่อช่วงตาก–พิษณุโลก และช่วงหล่มสัก–ชุมแพ โดยได้รับการสนับสนุนเงินค่าก่อสร้างจากรัฐบาลออสเตรเลีย โดยกรมทางหลวงได้สร้างทับทางหลวงหลายสาย เช่น ถนนจรดวิถีถ่อง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินสายศรีสำโรง–สุโขทัย–สวรรคโลก), ถนนสิงหวัฒน์, ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2056 (โนนหัน–คอนสาร หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า ถนนภูเวียง–คอนสาร ตามจริงเป็นถนนชุมแพ–คอนสาร), ถนนมลิวรรณ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 เดิมในช่วงชุมแพ–ขอนแก่น (เชียงคาน–ขอนแก่น) และ ถนนมะลิวัลย์ (ตัดกับถนนกลางเมือง หรือ ถนนมิตรภาพสายเก่าและถนนประชาสโมสร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 ในปัจจุบัน))

โดยกรมทางหลวงๆได้ให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เฉพาะในช่วงตาก–ขอนแก่นเท่านั้น และกำหนดกิโลเมตรที่ 0 ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก และมีระยะทางรวมในตอนนั้นประมาณ 460 กิโลเมตร ต่อมากรมทางหลวงได้ประกาศให้เส้นทางสายแม่สอด–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตลอดทั้งสาย โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551[3] ซึ่งได้เปลี่ยนหมายเลขของถนนสายอื่น ๆ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 เฉพาะในช่วงแม่สอด–ตาก (เดิมเป็นทางหลวงสายตาก–แม่สอด–แม่สะเรียง), ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 ตลอดทั้งสาย, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 (เดิมช่วงยางตลาด–สมเด็จ–สกลนคร (เฉพาะในช่วงยางตลาด–สมเด็จ) เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2143) เฉพาะในช่วงยางตลาด–สมเด็จ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 ตลอดทั้งสาย (เดิมช่วงกุฉินารายณ์–คำชะอี–มุกดาหารเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2030) พื่อให้สอดคล้องกับเส้นทางยุทธศาสตร์สายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เต็มทั้งโครงการ โดยให้กิโลเมตรที่ 0 ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอดแทน

แต่เดิมนั้น กรมทางหลวงได้กำหนดให้ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก และทางเลี่ยงเมืองสุโขทัยเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ด้วย แต่ปัจจุบัน กำหนดให้ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 และทางเลี่ยงเมืองสุโขทัยเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125

แต่เดิมนั้น กรมทางหลวงได้กำหนดให้ถนนเลี่ยงเมืองขอนแก่น (ด้านใต้) เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ด้วย แต่ปัจจุบันกำหนดให้ถนนเลี่ยงเมืองขอนแก่น (ด้านใต้) เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230

ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตอนกาฬสินธุ์–นาไคร้[4] มีแนวเส้นทางเริ่มต้นบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่ตำบลหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ทางทิศตะวันตกของเมืองกาฬสินธุ์ ผ่านไปทางใต้ของตัวเมือง ไปสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่บ้านหนองเอี่ยน ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายใหม่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว

รายชื่อทางแยกแก้ไข

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทิศทาง: แม่สอด−มุกดาหาร ซ้าย: ทิศเหนือ, ขวา: ทิศใต้
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
    แม่สอด−ตาก
ตาก แม่สอด 0.000 สะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 1 ข้ามแม่น้ำเมย
3.367 แยกสนามบิน ไม่มี     ทล.1355 ถนนแม่สอด-ตาก เดิม เข้าเมืองแม่สอด
6.625 แยกแม่สอด   ทล.105 ไป อ.แม่สะเรียง, อ.แม่ระมาด ไม่มี
8.300 แยกโรบินสันแม่สอด   ถนนพัฒนานครแม่สอด ไป อ.แม่ระมาด   ถนนพัฒนานครแม่สอด เข้าเมืองแม่สอด
9.957 แยกวงเวียนอุ้มผาง ไม่มี   ทล.1090 ไป อ.อุ้มผาง
ไม่มี     ทล.1355 ถนนแม่สอด-ตาก เดิม เข้าเมืองแม่สอด
11.000     ถนนเลี่ยงเมืองแม่สอด ไป สะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 2, พม่า ไม่มี
เมืองตาก 77.905 ไม่มี   ทล.1108 ไป บ.นาโบสถ์
85.905 แยกตากแม่สอด     ถนนพหลโยธิน เข้าเมืองตาก       ถนนพหลโยธิน ไปกำแพงเพชร นครสวรรค์
    ตาก−สุโขทัย (ถนนจรดวิถีถ่อง)
ตาก เมืองตาก 92.804 แยกทางหลวง เชื่อมต่อจาก:   ทล.1400 จากเมืองตาก
    ถนนพหลโยธิน ไปลำปาง     ถนนพหลโยธิน ไปกำแพงเพชร
109.680 แยกวังประจบ-โป่งแดง   ทล.1111 ไป บ.โป่งแดง ไม่มี
116.284 แยกวังประจบ-พรานกระต่าย ไม่มี   ทล.1132 ไป อ.พรานกระต่าย
สุโขทัย บ้านด่านลานหอย 147.093 แยกบ้านด่าน-ทุ่งเสลี่ยม   ทล.1327 ไป อ.ทุ่งเสลี่ยม ไม่มี
เมืองสุโขทัย 154.733 แยกวังวน ไม่มี   ถนนจรดวิถีถ่อง ไป อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เข้าเมืองสุโขทัย
ตรงไป:     ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนนอก ไป พิษณุโลก
แยกอุทยาน
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
  ทล.102 ไป อ.ทุ่งเสลี่ยม, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ไม่มี
ไม่มี   ทล.1272 ไป อุทยานแห่งชาติรามคำแหง, อ.คีรีมาศ
แยกบ้านนา   ทล.1272 ไป ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนนอก, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย   ถนนจรดวิถีถ่อง ไป อุทยานแห่งชาติรามคำแหง, เมืองสุโขทัยธานี
171.002 แยกคลองโพธิ์   ทล.101 ไป พิษณุโลก, อุตรดิตถ์   ทล.101 ไป กำแพงเพชร
171.606 ตรงไป: สท.ถ 3-0001 ถนนจรดวิถีถ่อง เข้าเมืองสุโขทัย (แยกสุโขทัยธานี)
สท.ถ 3-0001 ถนนจรดวิถีถ่อง (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี)
สุโขทัย เมืองสุโขทัย เชื่อมต่อจาก:   ถนนจรดวิถีถ่อง จาก ตาก
สะพานพระร่วง ข้ามแม่น้ำยม
แยกสุโขทัยธานี ถนนประพนธ์บำรุง สท.ถ 3-0002 ถนนสิงหวัฒน์ ไป พิษณุโลก, เชื่อมต่อ   ถนนสิงหวัฒน์
ตรงไป: สท.ถ 3-0001 ถนนจรดวิถีถ่อง ไป อ.สวรรคโลก, อ.ศรีสัชนาลัย, เชื่อมต่อ   ทล.1413
สท.ถ 3-0002 ถนนสิงหวัฒน์ (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี)
สุโขทัย เมืองสุโขทัย แยกสุโขทัยธานี เชื่อมต่อจาก: ถนนประพนธ์บำรุง
สท.ถ 3-0001 ถนนจรดวิถีถ่อง จาก ตาก, เชื่อมจาก   ถนนจรดวิถีถ่อง สท.ถ 3-0001 ถนนจรดวิถีถ่อง จาก อ.สวรรคโลก, อ.ศรีสัชนาลัย, เชื่อมจาก   ทล.1413
    สุโขทัย−พิษณุโลก (ถนนสิงหวัฒน์)
สุโขทัย เมืองสุโขทัย 174.419 เชื่อมต่อจาก: สท.ถ 3-0002 ถนนสิงหวัฒน์ จากเมืองสุโขทัย (แยกสุโขทัยธานี)
174.769 แยกกระชงค์   ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนใน ไป ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนนอก, ตาก   ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนใน ไป อ.บางระกำ
179.819 แยกบ้านสวน   ทล.1054 ไป อ.ศรีสำโรง   ทล.1053 ไป บ.หลุม
กงไกรลาศ 186.564 แยกโค้งตานก     ถ.เลี่ยงเมืองสุโขทัยส่วนนอก ไป ตาก     ถนนสิงหวัฒน์ ไป พิษณุโลก
แยกบ้านกร่าง (กงไกรลาศ) ทางหลวงท้องถิ่น ไปบรรจบ ทล.1057, อ.พรหมพิราม   ทล.1055 ไป อ.บางระกำ
พิษณุโลก พรหมพิราม 210.539 แยกคลองเมม (เขื่อนนเรศวร)   ทล.117 ไป อ.พรหมพิราม, อุตรดิตถ์ ไม่มี
เมืองพิษณุโลก 224.769 แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง)   ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านเหนือ) ไป จ.อุตรดิตถ์, อ.วังทอง   ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านเหนือ) ไป พิจิตร นครสวรรค์
229.949 แยกบ้านคลอง ถนนปราบไตรจักร     ถนนสีหราชเดโชชัย ไป นครสวรรค์
    พิษณุโลก−หล่มสัก (ถนนมิตรภาพ)
พิษณุโลก เมืองพิษณุโลก สะพานนเรศวร ข้ามแม่น้ำน่าน
สะพานสูงข้ามทางรถไฟ
หน้าท็อปแลนด์พลาซา (แยกบ้านแขก)
  ถนนเอกาทศรถ ไป อ.พรหมพิราม, อ.วัดโบสถ์   ถนนเอกาทศรถ ไป สถานีรถไฟพิษณุโลก อ.บางกระทุ่ม
234.562 แยกเรือนแพ ไม่มี   ทล.1061 ไป ท่าอากาศยานพิษณุโลก
239.075 แยกอินโดจีน     ทล.11 ไป อุตรดิตถ์   ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านใต้) ไป พิจิตร นครสวรรค์
243.055 แยกซีพี   ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านเหนือ) ไป สุโขทัย อุตรดิตถ์ ไม่มี
วังทอง 250.749 แยกวังทอง ไม่มี   ทล.11 ไป อ.สากเหล็ก พิจิตร
นครไทย 299.523 แยกบ้านแยง   ทล.2013 ไป เลย, อุดรธานี ไม่มี
เพชรบูรณ์ เขาค้อ 331.073 แยกแคมป์สน ไม่มี   ทล.2196 ไป อ.เขาค้อ เพชรบูรณ์
หล่มสัก 351.787 แยกน้ำชุน   ทล.2372 ไป วังบาล อำเภอหล่มสัก, ภูหินร่องกล้า   ทล.2278 ไป บุ่งคล้า จังหวัดเพชรบูรณ์
353.392 แยกอาเซียน   ทล.21 ไป ถนนสามัคคีชัย น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์   ทล.21 ไป อำเภอหล่มเก่า, จังหวัดเลย
355.989 แยกสามัคคีชัย (สี่แยกพ่อขุนผาเมือง)   ทล.2466 ไป ตัวเมืองอำเภอหล่มสัก, อำเภอหล่มเก่า   ทล.2466 ไป ตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์
    หล่มสัก−ชุมแพ
เพชรบูรณ์ หล่มสัก แยกลานบ่า ทางหลวงท้องถิ่น ไป บ้านน้ำพุง ทางหลวงท้องถิ่น (ทล. เดิม) ไป บ้านโนนทอง บ้านไร่ จังหวัดเพชรบูรณ์
361.086 แยกปากห้วยขอนแก่น   ทล.2181 ไป ตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก ทางหลวงท้องถิ่น
แยกหน้าศูนย์ ทางหลวงท้องถิ่น (ทล. 2209 เดิม) ไป บ้านหวาย อำเภอหล่มสัก ศูนย์สร้างทางหล่มสัก
366.135 แยกน้ำดุก ไม่มี   ทล.2275 ไป บ้านกลาง, บ้านเพชรละคร ,อำเภอบึงสามพัน
สะพานพ่อขุนผาเมือง (สะพานห้วยตอง) ข้ามห้วยตอง
น้ำหนาว 406 แยกเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว (กิโลเมตรที่ 50) ไป อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ไม่มี
ชัยภูมิ คอนสาร 428.865 แยกห้วยสนามทราย   ทล.2216 ไป อ.น้ำหนาว ไม่มี
451.289 แยกคอนสาร ถนนพิชิตสงคราม ไป อ.คอนสาร   ทล.2055 ไป เขื่อนจุฬาภรณ์
    ชุมแพ–ขอนแก่น (ถนนมลิวรรณ)
ขอนแก่น ชุมแพ 458.897 แยกโนนหัน   ทล.201 ถนนมลิวรรณ ไป เลย ไม่มี
แยกโรงพยาบาลชุมแพ   ทล.228 ไป อ.สีชมพู, หนองบัวลำภู ถนนราษฎร์บำรุง เขตเทศบาลเมืองชุมแพ
472.115 แยกสามเหลี่ยมชุมแพ ถนนสันติสุข 4 เขตเทศบาลเมืองชุมแพ   ทล.201 ไป อ.ภูเขียว, ชัยภูมิ
หนองเรือ 505.345 แยกกุดฉิม   ทล.2038 ไป อ.ภูเวียง ไม่มี
508.591 แยกหนองเรือ ไม่มี   ทล.2187 ไป อ.บ้านแท่น, ชัยภูมิ
เมืองขอนแก่น 539.751 แยกบ้านทุ่ม ไม่มี   ทล.2062 ไป อ.มัญจาคีรี
545.270 แยกเลี่ยงเมืองขอนแก่น (1)       ทล.230 ไป อุดรธานี กาฬสินธุ์       ทล.230 ไป นครราชสีมา, มหาสารคาม
547.195 แยกสนามบินขอนแก่น 2428 ทล.2428 ไป ท่าอากาศยานขอนแก่น ไม่มี
552.231 แยกสามเหลี่ยม   ถนนมิตรภาพ ไป อุดรธานี   ถนนมิตรภาพ ไป นครราชสีมา
    ขอนแก่น-ยางตลาด (ถนนศรีจันทร์)
ขอนแก่น เมืองขอนแก่น 562.629 แยกเลี่ยงเมืองขอนแก่น (2)       ทล.230 ไป อุดรธานี, หนองบัวลำภู       ทล.230 ไป นครราชสีมา, มหาสารคาม
มหาสารคาม เชียงยืน 583.540 แยกเชียงยืน   ทล.2322 ไป อ.อำเภอกระนวน   ทล.2322 ไป อ.โกสุมพิสัย
กาฬสินธุ์ ยางตลาด 606.820 แยกบ้านฮ่องฮี   ทล.2039 ไป อ.ห้วยเม็ก ไม่มี
613.000 แยกยางตลาด     ถนนถีนานนท์ ไป กาฬสินธุ์   ถนนถีนานนท์ ไป มหาสารคาม
ตรงไป:   ทล.2116 ไป ร้อยเอ็ด
    ยางตลาด–มุกดาหาร
กาฬสินธุ์ ยางตลาด 620.437 แยกเขื่อนลำปาว   ทล.2416 ไปเขื่อนลำปาว ไม่มี
เมืองกาฬสินธุ์ 626.516 ทางแยกต่างระดับวงแหวนลำพาน   ทล.299 ไป อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มี
634.375 แยกบ้านหลุบ   ทล.214 ไป จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.214 ไป จังหวัดร้อยเอ็ด
กุฉินารายณ์ 695.000 แยกบ้านดงมัน   ทล.2046 ไป อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.2046 ไป อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
≈706.100 แยกบ้านนาไคร้   ทล.299 ไป อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มี
มุกดาหาร หนองสูง ≈711.500 -   ทล.299 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.299 ไป อำเภอหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
คำชะอี ≈740.400 - ไม่มี   ทล.299 ไป อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
≈742.600 แยกหนองเอี่ยน   ถนนหนองเอี่ยน-หัวขัว ไป บ.เหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ไม่มี
เมืองมุกดาหาร ≈746.100 แยกผึ่งแดด   ทล.2292 ไป หนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ไม่มี
≈759.400 แยกโพนทราย มห.3019 ทางหลวงชนบท มห.3019 ไป สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) มห.3019 ทางหลวงชนบท มห.3019 ไป บ้านคำอาฮวน
≈769.350 แยกศูนย์หม่อนไหม     ถนนเลี่ยงเมืองมุกดาหาร ไป นครพนม   ถนนเลี่ยงเมืองมุกดาหาร ไป อำนาจเจริญ
771.123 แยกเมืองใหม่       ถนนชยางกูร ไป นครพนม     ถนนชยางกูร ไป อำนาจเจริญ
ตรงไป: ถนนพิทักษ์พนมเขต ไป เทศบาลเมืองมุกดาหาร
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

ทางหลวงที่เกี่ยวข้องแก้ไข

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 (ช่วงสามแยกแจกัน–วงเวียนบ้านนา)แก้ไข

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 สายสามแยกแจกัน–คีรีมาศ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงสามแยกแจกัน–วงเวียนบ้านนา เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดทั้งสาย เดิมมีชื่อว่า ทางเลี่ยงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่ถูกสร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายตาก - ขอนแก่น ตอนเลี่ยงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พ.ศ. 2540[5] โดยจากแผนที่แนบท้ายจะเห็นว่าแนวเส้นทางเริ่มต้นตั้งแต่ บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย แล้วเบี่ยงไปทางซ้ายมือซ้อนทับกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 ในปัจจุบัน บริเวณสามแยกแจกัน จนถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 อีกครั้ง ที่แยกวังวน ต่อมาหลังจากที่กรมทางหลวงได้กำหนดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด–มุกดาหารแล้วนั้น กรมทางหลวงจึงได้กำหนดให้รวมสายทางช่วงวงเวียนบ้านนา–สามแยกแจกันเข้ากับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 ส่วนช่วงสามแยกแจกัน–สามแยกวังวน เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125 ในเวลาต่อมา

ช่วงแยกหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่า–คีรีมาศ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร เริ่มจากบริเวณแยกหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ไปสิ้นสุดที่บริเวณตัวเมืองคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

แต่เนื่องจากช่วงที่ 2 นั้นเดิมมีแค่ช่วงเดียวเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังจากที่กรมทางหลวงได้กำหนดให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เส้นทางแม่สอด–มุกดาหารแล้วนั้น กรมทางหลวงจึงได้เพิ่มระยะทางถึงสามแยกแจกันในเวลาต่อมา โดยได้กำหนดหลักกิโลเมตรที่ 28+981 ไปสิ้นสุดที่สามแยกแจกันมาจนถึงปัจจุบัน

รายละเอียดของเส้นทางแก้ไข

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1272 มีจุดเริ่มต้นจากบริเวณสามแยกแจกัน ในตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จากนั้นซ้อนทับกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 บริเวณวงเวียนบ้านนา ไปจนถึงแยกหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองเก่า จากนั้นก็เลี้ยวไปทางซ้ายมือ ผ่านอำเภอคีรีมาศ แล้วไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยช่วงที่ 1 ระยะทางทั้งสิ้น 5.595 กิโลเมตร และ ช่วงที่ 2 21.196 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125แก้ไข

ดูบทความหลักที่: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 125

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126แก้ไข

ดูบทความหลักที่: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 (ช่วงทางเลี่ยงเมืองขอนแก่นด้านใต้)แก้ไข

ดูบทความหลักที่: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299แก้ไข

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299
ที่ตั้งอ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ถึง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
ความยาว135.030 กิโลเมตร (83.904 ไมล์)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 สายลำน้ำพาน–หนองบง[6] เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ได้รับการกำหนดหมายเลขใหม่ โดยแรกเริ่มได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2143 (ต่อมาได้ถูกรวมสายทางเข้ากับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213) และ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2030 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2042 ในเวลาต่อมา) ต่อมากรมทางหลวงได้ควบรวมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แต่เนื่องจากทางหลวงสายนี้มีระยะทางที่ไกลและตัดผ่านเขตชุมชนจำนวนมาก กรมทางหลวงจึงตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แนวใหม่ ตั้งแต่ห้างขายวัสดุก่อสร้างโกลบอลเฮ้าส์ สาขากาฬสินธุ์ จนถึงตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เมื่อเปิดใช้งานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แนวใหม่ กรมทางหลวงได้กำหนดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายเดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 มีเส้นทางเริ่มจากทางแยกต่างระดับวงแหวนลำพาน ผ่านอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แต่ไม่ได้เข้าเมืองกาฬสินธุ์ (เดิมทางเข้าเมืองกาฬสินธุ์เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2143 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213) แล้วไปสิ้นสุดที่สี่แยกสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นจะเลี้ยวขวาเข้าถนนสมเด็จ–มุกดาหาร ผ่านอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ เข้าเขตจังหวัดมุกดาหาร ผ่านอำเภอหนองสูง จากนั้นไปสิ้นสุดเส้นทางที่บ้านหนองบง ตำบลหนองเอี่ยน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร รวมระยะทางทั้งสิ้น 135.030 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตั้งแต่ทางแยกต่างระดับวงแหวนลำพานถึงอำเภอสมเด็จ จากนั้นจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรจนถึงตัวอำเภอคำชะอี และเนื่องจากถนนสายนี้ผ่านชุมชนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้มีการตัดโครงการทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 แนวใหม่

รายชื่อทางแยกแก้ไข

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299 ทิศทาง: ลำน้ำพาน - หนองบง ซ้าย: ทิศเหนือ, ขวา: ทิศใต้
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ 0.000 ทางแยกต่างระดับวงแหวนลำพาน     ทล.12 ไป อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์     ทล.12 ไป อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
≈2.200 แยกโนนตาล   ทล.2441 ไป กาฬสินธุ์ ไม่มี
≈4.950 แยกสงเปลือย   ทล.214 ไป ไป กาฬสินธุ์   ทล.214 ไป ร้อยเอ็ด
≈10.700 แยกบายพาสกาฬสินธุ์   ทล.2441 ไป กาฬสินธุ์ ไม่มี
แยกคำเม็ก ไม่มี ทางหลวงท้องถิ่น ไป อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
สมเด็จ ≈36.850 แยกหนองผ้าอ้อม ไม่มี   ทล.2336 อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
≈45.300 แยกตลาดสมเด็จ   ทล.2041 ไป อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.299 ไป อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ตรงไป:   ถนนถีนานนท์ ไป อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
กุฉินารายณ์ ≈84.500 แยกบัวขาว   ทล.2291 ไป อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.2046 ไป อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
≈99.100 แยกบ้านนาไคร้   ทล.299 ไป อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่มี
มุกดาหาร หนองสูง ≈104.500 -   ทล.299 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.299 ไป อำเภอหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
≈116.400 แยกหนองสูง ไม่มี   ทล.2370 ไป อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
คำชะอี 135.030 -   ทล.12 ไป จังหวัดกาฬสินธุ์   ทล.12 ไป อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญแก้ไข

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น

ถนนจรดวิถีถ่อง
ถนนสิงหวัฒน์
ถนนมิตรภาพ
หล่มสัก–ชุมแพ

อ้างอิงแก้ไข

  1. https://news.thaipbs.or.th/content/259097 เปิดทางเลือกขยายถนนผ่านอุทยานฯ น้ำหนาว ไกลกว่าแต่ไม่กระทบป่าไม้
  2. https://www.xn----twfk8fqbqi5bec2a8bt21a.com/?fbclid=IwAR34tklJIHA84jYS68ne22FpRtXFAL2YPBFf3H_s1PvAmEnYiXm9Pp0b4QE
  3. เดินเครื่อง East-West ตั้งทางหลวงเลขที่ 12 ดัน 4 เลนทั้งสายรับACMEC-BIMSTEC - Manager Online[ลิงก์เสีย]
  4. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ สายแม่สอด (เขตแดน) - มุกดาหาร ตอนกาฬสินธุ์ - บ้านนาไคร้ พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (44 ก): 12. 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ สายตาก - ขอนแก่น ตอนเลี่ยงอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (66 ก): 10. 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-13. สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.
  • ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาประกาศแนวทางหลวงแผ่นดิน 88 สาย พ.ศ. 2495. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/031/659.PDF (วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2561).
  • จอมพล ป. พิบูลสงคราม "เรื่องตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่." ราชกิจจานุเบกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6377.PDF (วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2561).
  • สุรพล เทวะผลิน. "ทางยุทธศาสตร์เหนือเชื่อมอีสาน." วารสารทางหลวง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dohjournal.com/index.php?option=com_content&view=article&id=285:2012-06-09-17-52-11&catid=41:2011-07-22-02-46-32&Itemid=82[ลิงก์เสีย] (วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2561).
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์. ท่องเที่ยวเส้นทาง 12 พิษณุโลก-หล่มสัก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://archmis.arch.nu.ac.th/information_news/news/data/anno201120142020.pdf (วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2561).
  • "ทางหลวงหมายเลข 12 : ยุทธศาสตร์ต้านคอมมิวนิสต์ สู่เส้นทางเชื่อมโยงอาเซียน." ผู้จัดการออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/columnist/detail/9590000026440 (วันที่ค้นข้อมูล: 17 พฤษภาคม 2561).

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข