อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
ทุ่งแสลงหลวง หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร ทุ่งแสลงหลวงมีพื้นที่ครอบคลุม อ.วังทอง อ.นครไทย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และใน อ.เขาค้อ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ สำหรับชื่อของอุทยานแห่งชาติมีการสันนิษฐานว่ามีการตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ ซึ่งมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนิน มีป่าหลายชนิด และสัตว์ป่าชุกชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ป่าทุ่งแสลงหลวงและพื้นที่ป่าอื่น ๆ ในจังหวัดต่าง ๆ ได้รับการก่อตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงมีสภาพธรรมชาติ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 2 (อุทยานแห่งชาติ) | |
น้ำตกแก่งโสภา | |
ที่ตั้ง | จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
พิกัด | 16°49′40″N 100°52′12″E / 16.82778°N 100.87000°E |
พื้นที่ | 1,262 km (784 mi)[1] |
จัดตั้ง | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[2] |
ผู้เยี่ยมชม | 52,126[3] (2562) |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
แก้พื้นที่อุทยานตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง จ.พิษณุโลกและ จ.เพชรบูรณ์มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ บริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,028 เมตรสภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว โดยเฉพาะระหว่างในช่วงเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นมาก
พืชพรรณและสัตว์ป่า
แก้อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงมีพื้นที่ที่น่าท่องเที่ยวมากมายสามารถเลือกเที่ยวชมได้ อาทิเช่น น้ำตกแก่งโสภา ทุ่งนางพญา ทุ่งโนนสน ทุ่งแสลงหลวง แก่งวังน้ำเย็น น้ำตกซอนโสม ถ้ำเดือน-ดาว ถ้ำพระวังแดง และถ้ำค้างคาว ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่มีความงดงามทางธรรมชาติ และมีการพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) บริเวณคลองชมพู อีกด้วย การเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง สามารถใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายพิษณุโลก มีระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร
สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
แก้อุทยานฯ มีบ้านพัก ไว้บริการท่องเที่ยวจำนวน 10 หลัง พักได้หลังละ 6-14 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 900-2,400 บาทต่อคืน ค่ายพักแรมจำนวน 2 ค่าย พักได้ค่ายละ 60 คน ค่าธรรมเนียมที่พัก 600 บาทต่อคืน และมีเต็นท์เล็กพักได้ 2 คน 30 บาทต่อคืน
อ้างอิง
แก้- ↑ "ทุ่งแสลงหลวง". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 20 August 2021.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าทุ่งแสลงหลวง ในท้องที่ตำบลวังบกแอ่น ตำบลชมพู ตำบลบ้านมุง ตำบลไทรย้อย อำเภอวังทอง ตำบลหนองกะท้าว ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลน้ำชุน ตำบลแคมป์สน อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลวังโป่ง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ใหเป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). Royal Thai Government Gazette. 92 (101): 136–139. 27 May 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
- ↑ "สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562". กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021, no.91 Thung Salaeng Luang N.P.
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Thung Salaeng Luang". Protected Planet. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- http://www.travelsmile.org/?p=1350 เก็บถาวร 2010-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ภาพสถานที่ท่องเที่ยว ทุ่งแสลงหลวง
- http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=20&lg=1 เก็บถาวร 2005-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน