แสลงใจ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แสลงใจ หรือ ตูมกาแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-vomica) เป็นไม้ยืนต้นในป่าเบญจพรรณ เป็นที่มาของชื่ออุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
แสลงใจ | |
---|---|
ภาพวาดจาด Köhler's Medizinal-Pflanzen | |
Habitus | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | ดอกหรีดเขา Gentianales |
วงศ์: | วงศ์กันเกรา Loganiaceae |
สกุล: | สกุลแสลงใจ Strychnos L. |
สปีชีส์: | Strychnos nux-vomica |
ชื่อทวินาม | |
Strychnos nux-vomica L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ลักษณะทั่วไป
แก้ลักษณะเป็นไม้ต้น สูง 5–25 ม. กิ่งก้านกลม เกลี้ยง สีเทาแกมเหลือง บางครั้งมีหนาม ใบดก หนาทึบ ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปไข่กว้าง ถึงรูปโล่ กว้าง 3–9 ซม. ยาว 4–10.5 ซม. ปลายใบมน ถึงเรียวแหลมและมักเป็นติ่งหนาม โคนใบมนกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง มีเส้นใบหลัก 3–5 เส้นออกจากโคนใบ ดอก เล็ก สีเขียวอ่อน ถึงขาวนวล ยาว 0.8–1.3 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ที่ปลายยอด ผลกลมโต เหมือนลูกมะตูม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5–4 ซม. เมื่อสุกเป็นสีส้ม ถึงแดง เปลือกหนา ผิวมีขนสาก ถึงเกลี้ยง มี 1–4 เมล็ด เมล็ดรูปโล่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีขนคล้ายเส้นไหมคลุม
แสลงใจพบในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนามและมาเลเซีย
พิษ
แก้เมล็ดมีสารสตริกนิน ใช้ในปริมาณต่ำเป็นยาบำรุงธาตุ กระตุ้นระบบการหายใจและการไหลเวียนของโลหิต ในตำรับสมุนไพรไทยเรียกว่า โกฐกะกลิ้ง ถ้าใช้มากจะเป็นพิษอย่างรุนแรงถึงตายได้ โดยจะทำให้เกิดอาการชักกระตุก เนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย
อ้างอิง
แก้- ↑ "Strychnos nux-vomica L." The Plant List.
- แสลงใจ โดย กรมป่าไม้ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน