ท่าอากาศยานพิษณุโลก
ท่าอากาศยานพิษณุโลก (IATA: PHS, ICAO: VTPP) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2] เดิมเป็นสนามบินของกองบินที่ 46 กองทัพอากาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 เป็นสนามบินขับไล่และทิ้งระเบิด
ท่าอากาศยานพิษณุโลก | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ (ศุลกากร) | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดอุตรดิตถ์ | ||||||||||
ที่ตั้ง | อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 154 ฟุต / 47 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 16°46′23″N 100°16′56″E / 16.77306°N 100.28222°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | https://minisite.airports.go.th/phitsanulok | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2563) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th |
ประวัติ
แก้ท่าอากาศยานพิษณุโลก เดิมเป็นสนามบินของกองบินที่ 46 กองทัพอากาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 เป็นสนามบินขับไล่และทิ้งระเบิด ในสงครามมหาเอเชียบูรพา หลังจากนั้นได้ใช้ในการสำหรับซ้อมการบิน และกิจการอื่นๆ ของกองทัพอากาศ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 สำนักงานกองบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้รับอนุญาตจากกองทัพอากาศให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสนามบินในเชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดบริการให้แก่เครื่องบินพาณิชย์ จึงขอพื้นที่จากกองทัพอากาศ เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารที่พักผู้โดยสาร หอบังคับการบิน และใช้พื้นที่ทำประโยชน์อื่น จำนวน 70 ไร่ พร้อมกับดำเนินการบริหารกิจการด้านการบินพาณิชย์ ในระยะแรกของการก่อตั้งบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบิน ดักลาส ดีซี-3 ทำการขนส่งผู้โดยสาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ถูกกำหนดให้เป็นสนามบินอนุญาต[3] และเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534 ได้ถูกประกาศเป็น ท่าอากาศยานศุลกากร
อาคารสถานที่
แก้อาคารผู้โดยสาร
แก้อาคารผู้โดยสาร ความจุผู้โดยสารสูงสุด ขาเข้า 500 คน / ขาออก 500 คน มีทั้งหมด 2 ชั้น โดย
- ชั้น 1 มีพื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร ร้านขายของฝาก ร้านกาแฟ ร้านมินิมาร์ท พื้นที่รับกระเป๋าและผู้โดยสารขาเข้า และบริการรถเช่า
- ชั้น 2 มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารขาออก สำนักงานท่าอากาศยาน และสำนักงานสายการบิน
ลานจอดอากาศยานมีขนาดกว้าง 137 เมตร และยาว 300 เมตร (ใช้ได้จริงประมาณ 240 เมตร) สามารถรองรับเครื่องบินขนาดแอร์บัส เอ320 จำนวน 4 ลำ
ทางวิ่ง (รันเวย์)
แก้ท่าอากาศยานพิษณุโลกมีทางวิ่ง 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 และ 90 เมตร และความยาวข้างละ 60 เมตร พร้อมระบบช่วยเดินอากาศชนิด ILS DME VOR และ NDB
รายชื่อสายการบิน
แก้สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
นกแอร์ เช่าเหมาลำทหาร/ตำรวจ | หาดใหญ่ | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
สายการบินที่เคยทำการบิน
แก้สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, น่าน[4], ตาก[4], เลย[4], กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ[5] | ภายในประเทศ |
สถิติ
แก้ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
แก้ปี (พ.ศ.) | ผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน | คาร์โก้ (ตัน) |
---|---|---|---|---|
2544 | 273,311 | 4,455 | 512.26 | |
2545 | 215,098 | 21.30% | 2,840 | 305.73 |
2546 | 208,617 | 3.01% | 2,247 | 251.60 |
2547 | 229,571 | 10.04% | 2,116 | 393.70 |
2548 | 198,429 | 13.57% | 1,911 | 399.43 |
2549 | 176,738 | 10.93% | 1,795 | 421.85 |
2550 | 155,413 | 12.07% | 1,543 | 417.36 |
2551 | 143,089 | 7.93% | 1,475 | 360.06 |
2552 | 142,591 | 0.35% | 1,530 | 398.21 |
2553 | 148,227 | 3.95% | 1,631 | 203.44 |
2554 | 205,056 | 38.34% | 2,142 | 179.26 |
2555 | 214,698 | 4.70% | 3,224 | 188.90 |
2556 | 242,293 | 12.85% | 6,070 | 251.91 |
2557 | 456,535 | 88.42% | 3,888 | 254.70 |
2558 | 549,951 | 20.46% | 5,076 | 944.01 |
2559 | 492,117 | 10.52% | 4,079 | 1,096.35 |
2560 | 600,093 | 21.94% | 5,398 | 457.23 |
2561 | 672,084 | 12.00% | 5,314 | 143.58 |
2562 | 689,392 | 2.58% | 5,661 | 150.98 |
2563 | 372,036 | 46.03% | 3,634 | 109.46 |
การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน
แก้ท่าอากาศยานพิษณุโลกตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (พิษณุโลก - บึงพระ) ประมาณ 2 กิโลเมตร
บริการรถสาธารณะและรถเช่า
แก้- ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ที่จุดบริการแท็กซี่ บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารที่พักผู้โดยสารซึ่งสามารถติดต่อใช้บริการได้ ณ จุดบริการ
- ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถเช่าของบริษัทรถเช่าต่างๆภายในอาคารผู้โดยสาร ซึ่งสามารถติดต่อด้วยตนเองได้ที่เคาเตอร์ของบริษัทรถเช่า[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๒/๒๔๙๗ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาตเล่ม 71 ตอนที่ 83 ง หน้า 8 วันที่ 13 ธันวาคม 2497
- ↑ 4.0 4.1 4.2 กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 123. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560.
{{cite report}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 194. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560.
{{cite report}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บริการรถสาธารณะและบริษัทรถเช่า ณ ท่าอากาศยานพิณุโลก". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)