จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก เมืองนนทบุรี)

นนทบุรี ชื่อเดิม บ้านตลาดขวัญ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 [4]

จังหวัดนนทบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nonthaburi
คำขวัญ: 
พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ
เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ
เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ[1]
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนนทบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนนทบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนนทบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สุธี ทองแย้ม
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด622.303 ตร.กม. (240.273 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 75
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด1,308,092 คน
 • อันดับอันดับที่ 13
 • ความหนาแน่น2,102.02 คน/ตร.กม. (5,444.2 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 2
รหัส ISO 3166TH-12
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองนนท์ บ้านตลาดขวัญ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้นนทรี
 • ดอกไม้นนทรี
 • สัตว์น้ำปลาเทพา
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
 • โทรศัพท์0 2580 0705-6
 • โทรสาร0 2580 0705-6
เว็บไซต์http://www.nonthaburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปัจจุบัน จังหวัดนนทบุรีจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร

ประวัติศาสตร์ แก้

 
ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า

สภาพทั่วไปของจังหวัดนนทบุรีเป็นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนหนาแน่นตามริมแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต เช่น บ้านวัดชลอ บ้านวัดเขมา บ้านบางม่วง บ้านตลาดขวัญ บ้านบางขนุน เป็นต้น

สมัยอยุธยา แก้

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีปรากฏที่วัดปรางค์หลวง[5] ตั้งอยู่ในตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแก่ชุมชนชาวเมืองอู่ทองที่อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ก่อนจะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี[6] ชุมชนแห่งนี้ได้ขยายตัวและกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ในบริเวณนี้ โดยมีชุมชนสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านตลาดขวัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ท้องที่จังหวัดนนทบุรีทั้งหมดในสมัยนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา[7]

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา จากเหนือวัดชลอไปทะลุใกล้วัดมูลเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย) เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางและเพื่อเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรในพื้นที่[8]

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ผลจากสงครามทำให้สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อพม่ายกทัพกลับไป และกรุงศรีอยุธยาได้จัดการพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงปรับปรุงกิจการทหารให้มั่นคงกว่าเดิม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง รวมทั้งให้ยกฐานะหมู่บ้านตลาดขวัญขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2092[9] เนื่องจากมีราษฎรจำนวนมากหนีภัยสงครามครั้งนั้นไปอยู่ตามป่าเขาและไม่ยอมกลับพระนคร หากตั้งเมืองใหม่ขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเกณฑ์ไพร่พลเมื่อเกิดสงคราม นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาได้อีกด้วย ที่ตั้งของเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดเทพอุรุมภังค์ (วัดหัวเมือง) เป็นเขตเหนือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) และมีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้[10]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตัดส่วนโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุออกหน้าวัดเขมา[9] (เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าไปทางบางกรวยและบางใหญ่) ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองที่ขุดใหม่ กลายเป็นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลองอ้อม คลองบางกอกน้อย และคลองบางกรวยตามที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชดำริว่า แนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สั้นลงจะทำให้ข้าศึกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ง่ายขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีจากบ้านตลาดขวัญไปตั้งบริเวณปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง[9] (ที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณนี้จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และให้สร้างกำแพงเมืองรวมทั้งป้อมปราการขึ้น 2 ป้อม คือ "ป้อมแก้ว" ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้ว (สันนิษฐานว่าอยู่ที่วัดปากน้ำในปัจจุบัน) และ "ป้อมทับทิม" ตั้งอยู่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน[11] (ปัจจุบันกำแพงและป้อมถูกรื้อไปหมดแล้ว) ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจของเมืองนนทบุรีมีความมั่นคงมาก ทั้งการค้าขายและการทำสวนผลไม้[11]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดเกร็ดขึ้นตัดความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลวกอ้อมไปทางบางบัวทอง[11] ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล ชายฝั่งทั้งสองข้างของคลองลัดเกร็ดถูกกัดเซาะให้ห่างออกจากกันมากขึ้น พื้นที่ตรงกลางที่มีน้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า "เกาะเกร็ด"

ปี พ.ศ. 2307 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเล็กน้อย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า โปรดเกล้าฯ ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพเข้าตีเข้ากรุงศรีอยุธยาจากทางทิศใต้ ตีหัวเมืองรายทางเรื่อยมาจนถึงเมืองธนบุรีและเมืองนนทบุรี ก็เข้ายึดเมืองทั้งสองได้เช่นกัน พม่าแบ่งกำลังบางส่วนขึ้นมาตั้งค่ายอยู่บริเวณวัดเขมา ขณะนั้นมีเรือกำปั่นอังกฤษซึ่งมาค้าขายอยู่ที่เมืองธนบุรีได้อาสาช่วยรบโดยยิงปืนเข้าใส่ค่ายพม่าในเวลากลางคืน[12] แต่ในที่สุดก็สู้กองทัพพม่าไม่ได้ จึงล่องเรือหนีไป

จากนั้นกองทัพพม่าจึงบุกขึ้นไปทางทิศเหนือ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309 และเข้ายึดได้ในปี พ.ศ. 2310 ตลอดการสู้รบได้ส่งผลให้บ้านเมือง วัดวาอารามต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้าง ชาวเมืองนนทบุรีต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้ามแม่น้ำไปหลบซ่อนในสวนบางกรวยและบางใหญ่เพื่อหนีภัยสงคราม[13]

สมัยธนบุรี แก้

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงไปรับครอบครัวชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงเมืองนนท์ ในท้องที่ปากเกร็ด[13] หลังจากที่มอญพ่ายพม่า ในภาวะสงครามคืนสู่ปกติ ชาวนนทบุรีเริ่มเพาะปลูก ค้าขายและติดต่อกับเมืองหลวง นนทบุรีขณะนั้นมีสถานะเป็นชานพระนคร ยังเป็นแหล่งรองรับชาวกรุงเก่า[14]

สมัยรัตนโกสินทร์ แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนต่างถิ่นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์[15] นอกจากนี้ยังมีชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[15] และชาวไทยมุสลิมเมืองไทรบุรีที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวไทยมุสลิมเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอิฐ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด) และบ้านบางบัวทอง[15]

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยชื่อเมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน[16] และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม[17] ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เมืองนนทบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า[18]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค เมืองนนทบุรี จึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด[18] ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง[18] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น "จังหวัด"[19] เมืองนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย[20] ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง

สมัยปัจจุบัน แก้

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ตัดถนนประชาราษฎร์[21] ขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนครสายแรก[22] และต่อมาจึงตัดถนนพิบูลสงครามเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นสายที่สอง[22] ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[23][22] จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[24] อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม

ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ยกกิ่งอำเภอไทรน้อยซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ให้มีฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย[25] จังหวัดนนทบุรีจึงมีเขตการปกครองรวม 6 อำเภอจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้

ทำเนียบผู้ว่าราชการ แก้

รายนามผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรีและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี[26]

ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1
มหาอำมาตย์ตรี นายพันตรีพระยาไกรโกษา (ทัด สิงหเสนี)
ไม่ทราบข้อมูล 2
หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์
ไม่ทราบข้อมูล
3 พ.ศ. 2457–2465 4
พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (เล็ก บูรณฤกษ์)
พ.ศ. 2465–2469
5
พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช)
พ.ศ. 2469–2476 6
พระยาบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม)
พ.ศ. 2476–2478
7
หลวงภูวนารถนราภิบาล (สนิท มหามุสิต)
พ.ศ. 2478–2480 8 พ.ศ. 2480–2482
9
หลวงอรรถเกษมภาษา (สวิง ถาวรพันธ์)
พ.ศ. 2482–2483 10
หลวงโยธีพิทักษ์ (โปร่ง สาทิศกุล)
พ.ศ. 2483–2484
11
นายสุทิน วิวัฒนะ
พ.ศ. 2484–2485 12
หลวงนรกิจบริหาร (แดง กนิษฐสุต)
พ.ศ. 2485–2489
13
นายลิขิต สัตยายุทธ์
พ.ศ. 2489–2491 14
ขุนบุรีภิรมย์กิจ (พริ้ม จารุมาศ)
พ.ศ. 2491–2499
15
นายประกอบ ทรัพย์มณี
พ.ศ. 2499–2503 16
นายสอาด ปายะนันทน์
พ.ศ. 2503–2510
17
นายแสวง ศรีมาเสริม
พ.ศ. 2510–2514 18
นายวิจิตร แจ่มใส
พ.ศ. 2514–2519
19
นายสุชาติ พัววิไล
พ.ศ. 2519–2521 20
นายศรีพงศ์ สระวาลี
พ.ศ. 2521–2524
21
นายฉลอง วงษา
พ.ศ. 2524–2526 22
ดร.สุกิจ จุลละนันท์
พ.ศ. 2526–2530
23 พ.ศ. 2530–2534 24
นายทวีป ทวีพาณิชย์
พ.ศ. 2534–2536
25
นายชัยจิตร รัฐขจร
พ.ศ. 2536–2537 26
นายสุจริต ปัจฉิมนันท์
พ.ศ. 2537–2539
27 พ.ศ. 2539–2542 28
นายขวัญชัย วศวงศ์
พ.ศ. 2542–2544
29
นายสาโรช คัชมาตย์
พ.ศ. 2544–2545 30
นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์
พ.ศ. 2545–2547
31 พ.ศ. 2547–2549 32
นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์
พ.ศ. 2549–2552
33
นายวิเชียร พุฒิวิญญู
พ.ศ. 2552–2556 34
นายธนน เวชกรกานนท์
พ.ศ. 2556–2557
35
นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์
พ.ศ. 2557–2558 36
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์
พ.ศ. 2558–2560
37
นายภานุ แย้มศรี
พ.ศ. 2560–2562 38
นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์
พ.ศ. 2562–2565
39
นายสุธี ทองแย้ม
พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์ แก้

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ แก้

 
แผนที่

จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก[27] และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

 
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเกาะเกร็ด

จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนนทบุรีเป็นแบบร้อนชื้นเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด แก้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 424 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด 34 ตำบล 328 หมู่บ้าน[28] โดยอำเภอทั้ง 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดนนทบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
ลำดับ
[# 1]
ชื่ออำเภอ ชั้น
[29]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(ก.ม.)[30]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][31]
หมู่บ้าน
[# 3][31]
ประชากร
(คน)[32]
แผนที่
1 พิเศษ
77.018 [33]
ไม่ปรากฏข้อมูล 10 26
 364,073 
 
2 2
57.408 [34]
16.86  
2447 [35] 9 41
 147,181 
3 2
96.398 [36]
8.11  
2464 [37] 6 69
 163,791 
4 1
116.439 [38]
15.96  
2445 [39] 8 73
 288,587 
5 2
186.017 [40]
29.01  
2499 [41] 7 68
 72,821 
6 1
89.023 [42]
7.45  
2427 [43] 12 51
 252,151 
  1. เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2. รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3. เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

พื้นที่จังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 46 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 22 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 23 แห่ง[44]

 
เขตเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
สิ้นปี 2563
(คน)[3]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1   เทศบาลนครนนทบุรี 38.90 [45] 2538 [46]   เมืองนนทบุรี 5 5 251,026 
2   เทศบาลนครปากเกร็ด 36.04 [47] 2543 [48]   ปากเกร็ด 5 5 189,458 
เทศบาลเมือง
1   เทศบาลเมืองบางบัวทอง 13.50 [49] 2480 [50]   บางบัวทอง 1 4 5 51,441 
2   เทศบาลเมืองบางกรวย 8.40 [51] 2545 [52]   บางกรวย 2 2 44,527 
3   เทศบาลเมืองบางศรีเมือง 6.36 [53] 2549 [54]   เมืองนนทบุรี 1 1 2 33,005 
4   เทศบาลเมืองพิมลราช 15.08 [55] 2557 [56]   บางบัวทอง 1 1 47,874 
5   เทศบาลเมืองบางคูรัด 19.70 [57] 2562 [58]   บางบัวทอง 1 1 40,360 
6   เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา 11.48 [59] 2562 [60]   บางบัวทอง 1 1 46,986 
7   เทศบาลเมืองบางแม่นาง 14.40 [61] 2563 [62]   บางใหญ่ 1 1 47,395 
8   เทศบาลเมืองบางกร่าง 6.55 [63] 2563 [64]   เมืองนนทบุรี 1 1 23,667 
9   เทศบาลเมืองไทรม้า 8.14 [51] 2563 [65]   เมืองนนทบุรี 1 1 23,742 
10   เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง 29.70 2563 [66]   บางบัวทอง 1 1 55,181 
เทศบาลตำบล
1   เทศบาลตำบลปลายบาง 15.68 [51] 2542 [67]   บางกรวย 2 1 3 46,355 
2   เทศบาลตำบลบางม่วง 1.67 [68] 2542 [67]   บางใหญ่ 3 3 6,101 
3   เทศบาลตำบลบางใหญ่ 7.23 [69] 2542 [67]   บางใหญ่ 3 3 12,083 
4   เทศบาลตำบลไทรน้อย 2.30 2542 [67]   ไทรน้อย 2 2 2,511 
5   เทศบาลตำบลศาลากลาง 14.78 [70] 2551 [71]   บางกรวย 1 1 20,057 
6   เทศบาลตำบลเสาธงหิน 10.50 2554 [72]   บางใหญ่ 1 1 39,574 
7   เทศบาลตำบลบางเลน 7.60 [73] 2554 [74]   บางใหญ่ 1 1 16,376 
8   เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง 11.21 [75] 2554 [76]   บางใหญ่ 1 1 17,599 
9   เทศบาลตำบลบางสีทอง 5.80 [77] 2556 [78]   บางกรวย 1 1 11,426 
10   เทศบาลตำบลบางพลับ 8.31 [79] 2556 [80]   ปากเกร็ด 1 1 10,899 
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

ประชากร แก้

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนนทบุรี
ปีประชากร±%
2556 1,156,271—    
2557 1,173,870+1.5%
2558 1,193,711+1.7%
2559 1,211,924+1.5%
2560 1,229,735+1.5%
2561 1,246,295+1.3%
2562 1,265,387+1.5%
2563 1,276,745+0.9%
2564 1,288,637+0.9%
2565 1,295,916+0.6%
2566 1,308,092+0.9%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[ต้องการอ้างอิง]

ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จังหวัดนนทบุรีมีประชากร 1,288,637 คน คิดเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 599,167 คน และประชากรเพศหญิง 689,470 คน[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังมีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยถึง 2,070.76 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร

ประชากรในจังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยหลายเชื้อชาติทั้งไทย (มีจำนวนมากที่สุด มีอยู่ทั่วไปในจังหวัด) จีน มอญ (อพยพมาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 2) และมลายู (อพยพมาจากเมืองปัตตานีและไทรบุรี)[81] โดยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา รองลงไปเป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่น ๆ จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน พ.ศ. 2561 ด้านศาสนา พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 93.64 รองลงมานับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 6.02 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.30 นอกนั้นนับถือศาสนาซิกข์ ฮินดู และอื่น ๆ รวมกันร้อยละ 0.04[82]

ศาสนา 2543[81] 2557[83] 2559[84] 2561[82]
พุทธ 89.75% 94.5% 94.61% 93.64%
อิสลาม 6.91% 4% 5.11% 6.02%
คริสต์ 1.19% 1% 0.25% 0.30%
ซิกข์ 0.01%
อื่น ๆ 2.15% 0.5% 0.01% 0.04%

เนื่องจากในปัจจุบัน นนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑลของเมืองหลวง มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และมีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวไทยจำนวนมากจากทุกภูมิภาคของประเทศพิจารณาย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่เพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าไปทำงานหรือศึกษาในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ความพลุกพล่านและความหนาแน่นของประชากรในจังหวัดนนทบุรีจึงไม่แตกต่างกับกรุงเทพมหานครมากนัก โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของอำเภอบางกรวย อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ดซึ่งอยู่ติดกับเขตเมืองชั้นในและเขตเมืองชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร

สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว แก้

อำเภอเมืองนนทบุรี
 
ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า
 
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
 
พระอุโบสถวัดปราสาท
 
พระอุโบสถและพระวิหารวัดชมภูเวก
 
พระอุโบสถวัดชลอ
 
วัดอัมพวัน
 
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
 
วัดเสาธงทอง
 
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ นนทบุรี
  • ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ท่าน้ำนนทบุรี ตำบลสวนใหญ่ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนนี้ถูกยุบเลิกเนื่องจากประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ อาคารโรงเรียนจึงได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 เป็นอาคารตึกไม้ 2 ชั้น ทรงไทยประยุกต์ ประดับด้วยงานไม้ลายวิจิตร ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง เมื่อส่วนราชการจังหวัดทั้งหมดได้ย้ายออกไปตั้งที่ศูนย์ราชการแห่งใหม่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียนศาลากลางแห่งนี้เป็นโบราณสถาน ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมและจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวนนทบุรี
  • วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ฯ 4 ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ฯ ตำบลบางศรีเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นโทที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2390 เพื่ออุทิศถวายแด่พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนี (แต่มาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีการผสมผสานศิลปะจีนตามพระราชนิยมไว้ในการก่อสร้างด้วย เช่น พระอุโบสถหลังคามุงกระเบื้องแบบจีน โดยมีจิตรกรรมฝาผนัง บานประตูและหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ ส่วนพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีพระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา" นอกจากนี้ยังมีอาคารที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น พระวิหารหลวง (วิหารพระศิลาขาว) พระเจดีย์ทรงกลม (แบบลังกา) ศาลาการเปรียญหลวง กำแพงใบเสมาและป้อมปราการทั้งสี่มุมรอบวัด
  • อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ซอยบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ฯ 4 ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ฯ ตำบลบางศรีเมือง มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อุทยานแห่งนี้นอกจากจะเป็นสวนสาธารณะที่มีทั้งร่มเงาและความเงียบสงบให้ผู้ที่ต้องการพักผ่อนแล้ว ยังมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติ พืชพรรณ สัตว์ปีก และสัตว์น้ำนานาชนิดอีกด้วย อาคารที่โดดเด่นที่สุดคือ "วิมานสราญนวมินทร์" เป็นอาคารพลับพลาทรงไทยตั้งอยู่กลางสระน้ำของอุทยาน
  • วัดปราสาท ตั้งอยู่ในซอยบางกร่าง 57 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลบางกร่าง สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดเด่นอยู่ที่ผนังพระอุโบสถที่มีลักษณะโค้งตกท้องช้าง สร้างแบบมหาอุด กล่าวคือ ผนังด้านข้างไม่มีหน้าต่าง มีเพียงช่องระบายลมเล็ก ๆ ตรงผนังด้านหลังเท่านั้น ผนังภายในตกแต่งด้วยจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างศิลปะนนทบุรี ปัจจุบันถือว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดซึ่งแม้จะเลือนหายไปมากแต่ก็ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ที่ศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีลวดลายสวยงาม มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน ดังนั้น วัดแห่งนี้จึงคุ้มค่าต่อการเข้าเยี่ยมชมและการศึกษาทางโบราณคดีอย่างยิ่ง
  • วัดตำหนักใต้ ตี่งอยู่ที่ซอยนนทบุรี 27 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย ตามตำนานเล่าว่าก่อนที่จะมีการสร้างวัด พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาก่อน สันนิษฐานว่าพระวิหารและหอระฆังสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2367 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  • วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ที่ซอยนนทบุรี 33 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย มีชื่อเดิมว่า "วัดชมภูวิเวก" เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความเงียบสงบมาก ชาวมอญเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2300 (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ปัจจุบันยังคงมีจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารและพระอุโบสถที่งดงามหลงเหลืออยู่ รวมทั้งซึ่งเป็นหมู่เจดีย์แบบมอญ (เรียกว่า "พระมุเตา") ที่สร้างโดยพระสงฆ์มอญเมื่อปี พ.ศ. 2460
  • วัดโชติการาม ตั้งอยู่ที่ซอยบางไผ่ ซอย 4 ถนนบางไผ่พัฒนา-แยกวัดรวก ตำบลบางไผ่ มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2350 สิ่งที่สวยงามที่สุดในวัดนี้คือ พระวิหารทรงโรงที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน โดยเขียนภาพตั้งแต่พื้นขึ้นไปจรดเพดาน นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถทรงเรือสำเภาแบบอยุธยาตอนปลายอีกด้วย
อำเภอบางกรวย
  • วัดบางไกรใน ตั้งอยู่ที่ถนนวัดโพธิ์เอน-วัดบางไกรใน ตำบลบางขุนกอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตามประวัติกล่าวว่า ลูกหลานของนายไกร (ไกรทอง) ได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้เพื่ออุทิศแก่นายไกร ชาวสวนเมืองนนทบุรีผู้ปราบจระเข้ชาละวันแห่งเมืองพิจิตรลงได้ จุดเด่นของวัดอยู่ที่อุโบสถเก่าซึ่งมีอายุกว่า 300 ปี โครงหลังคาสร้างด้วยไม้สักทอง หน้าบันเป็นไม้สักฉลุลวดลาย บานประตูด้านหน้ามีภาพเขียนสีรูปทวารบาลถืออาวุธด้ามยาว ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไกรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) มีศาลนายไกรทองตั้งอยู่ข้างอุโบสถเก่า
  • วัดชลอ
  • วัดโพธิ์บางโอ
  • ตลาดน้ำบางคูเวียง
  • ตลาดน้ำวัดตะเคียน
อำเภอบางใหญ่
อำเภอบางบัวทอง
อำเภอไทรน้อย
อำเภอปากเกร็ด

การขนส่ง แก้

ระบบราง แก้

ท่าเรือ แก้

  • ท่าปากเกร็ด
  • ท่าเกาะเกร็ด
  • ท่าวัดกลางเกร็ด
  • ท่ากระทรวงพาณิชย์
  • ท่านครอินทร์
  • ท่าวัดเขียน
  • ท่าวัดตึก
  • ท่าวัดเขมาภิรตาราม
  • ท่าวัดปากน้ำ
  • ท่าบางกรวย
  • ท่าสะพานพระราม 7

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

 
พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ)
พระสงฆ์
นักแสดง / นักร้อง / ผู้กำกับละคร
 
แปลก พิบูลสงคราม
นักการเมือง
ผู้สื่อข่าว
นักกีฬา

อ้างอิง แก้

  1. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี ปี 2552: ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน. เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  3. 3.0 3.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate3/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=จังหวัดนนทบุรี&topic=statpop&ccNo=12 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
  4. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  5. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 90.
  6. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 65.
  7. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 56.
  8. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 39.
  9. 9.0 9.1 9.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 40.
  10. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 21.
  11. 11.0 11.1 11.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 41.
  12. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 42.
  13. 13.0 13.1 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 43.
  14. ปัทมา เจริญกรกิจ. "พระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย - รัตนโกสินทร์ตอนต้น ในพื้นที่คลองอ้อมนนท์ จังหวัดนนทบุรี" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 19.
  15. 15.0 15.1 15.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 44.
  16. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 44.
  17. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 27.
  18. 18.0 18.1 18.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 45.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33: 51–53. 28 พฤษภาคม 2459. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  20. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 46.
  21. "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดถนนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางขวางขึ้นไปถึงวัดลานวัว จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 423–430. 13 ธันวาคม 2474.
  22. 22.0 22.1 22.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 48.
  23. "พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (77 ก): 2447–2449. December 10, 1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-05-31.
  24. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  25. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. 5 มิถุนายน 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  26. ฐานข้อมูลสารสนเทศศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "ประวัติของผู้ว่าราชการแต่ละยุคสมัย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A050201.php?id_topic=A0501 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2549. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
  27. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. "บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี: ข้อมูลพื้นฐาน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonthaburi.go.th/narrative_summary/part1.pdf เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  28. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. "บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี: ข้อมูลด้านสังคม." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonthaburi.go.th/narrative_summary/part2.pdf เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  29. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครองจังหวัดนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/nonthaburi.htm เก็บถาวร 2013-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  30. กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  31. 31.0 31.1 ฐานข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "รายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่อำเภอ เทศบาล อบต. ในแต่ละอำเภอ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A090101.php?id_topic=A0901 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ข้อมูลประชากร2564
  33. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 49.
  34. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 50.
  35. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  36. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 53.
  37. "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง ตั้งอำเภอบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 23–24. 24 เมษายน 2464.
  38. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 58.
  39. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  40. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 59.
  41. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. 5 มิถุนายน 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  42. รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 56.
  43. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  44. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  45. เทศบาลนครนนทบุรี. "ข้อมูลเทศบาลนครนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nakornnont.com/data/data2/ เก็บถาวร 2016-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  46. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 29–32. 24 กันยายน 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  47. เทศบาลนครปากเกร็ด. "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pakkretcity.go.th/history4.asp เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  48. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (10 ก): 25–28. 20 กุมภาพันธ์ 2543. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  49. เทศบาลเมืองบางบัวทอง. "ข้อมูลทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buathongcity.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=17&Itemid=43 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  50. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54: 1859–1862. 14 มีนาคม 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  51. 51.0 51.1 51.2 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ศูนย์ข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://info.thailocaladmin.go.th/search_general เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  52. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางกรวย พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (122 ก): 5–8. 16 ธันวาคม 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  53. เทศบาลเมืองบางศรีเมือง. "ประวัติเทศบาลเมืองบางศรีเมือง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangsrimuang.go.th/profile.php เก็บถาวร 2010-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  54. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางศรีเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (พิเศษ 29 ง): 5. 23 กุมภาพันธ์ 2549. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  55. เทศบาลเมืองพิมลราช. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pimolrach.go.th/condition.php เก็บถาวร 2019-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 กันยายน 2562.
  56. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองพิมลราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (พิเศษ 41 ง): 5. 4 มีนาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-03. สืบค้นเมื่อ 2014-03-04.
  57. เทศบาลเมืองบางคูรัด. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkurud.go.th/condition.php เก็บถาวร 2019-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 กันยายน 2562.
  58. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางคูรัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 33 ง): 15. 6 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
  59. องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangrakpattana.go.th/condition.php เก็บถาวร 2019-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 26 ตุลาคม 2562.
  60. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 265 ง): 5. 25 ตุลาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
  61. องค์การบริหารส่วนตำบลบางแม่นาง. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangmaenang.go.th/public/location/data/index/menu/24 เก็บถาวร 2020-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 20 มีนาคม 2563.
  62. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางแม่นาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 66 ง): 8. 20 มีนาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-20.
  63. องค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง. "เกี่ยวกับตำบล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkrang.go.th/condition.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 4 มิถุนายน 2563.
  64. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางกร่าง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 132 ง): 6. 4 มิถุนายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
  65. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองไทรม้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 172 ง): 9. 29 กรกฎาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-29.
  66. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่บางบัวทองและจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 204 ง): 16. 8 กันยายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
  67. 67.0 67.1 67.2 67.3 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-21.
  68. เทศบาลตำบลบางม่วง. "ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางม่วง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangmoung.com/web/index.php/ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางม่วง เก็บถาวร 2010-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 16 เมษายน 2552.
  69. ข้อมูลรายชื่อเทศบาล เก็บถาวร 2010-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
  70. เทศบาลตำบลศาลากลาง. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.salaklang.go.th/default.php?bmodules=html&html=general เก็บถาวร 2009-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  71. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt150851.pdf เก็บถาวร 2011-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  72. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลตำบลเสาธงหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 156 ง): 5. 23 ธันวาคม 2554.
  73. เทศบาลตำบลบางเลน. "สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.banglane.go.th/about [ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 กันยายน 2562.
  74. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลตำบลบางเลน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (105 ง พิเศษ): 4. 14 กันยายน 2554.
  75. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5,765 แห่ง
  76. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบางม่วง และจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง. 2554.
  77. เทศบาลตำบลบางสีทอง. "ลักษณะที่ตั้ง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangsithong.go.th/public/location/data/index/menu/24 เก็บถาวร 2019-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 23 กันยายน 2562.
  78. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลตำบลบางสีทอง. 2556.
  79. เทศบาลตำบลบางพลับ. "ลักษณะที่ตั้ง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangplub.go.th/default.php?modules=fckeditor&fck_id=5&view_id=56&orderby=1 เก็บถาวร 2012-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2556. สืบค้น 14 กันยายน 2556.
  80. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลตำบลบางพลับ. 2556.
  81. 81.0 81.1 "ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนนทบุรี". สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  82. 82.0 82.1 วีณา ปาระมี (2561). รายงานคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวจังหวัดนนทบุรี ปี 2561 (PDF). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.
  83. ดรุณี มนัสวานิช. "รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนนทบุรี" (PDF). สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  84. จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: กระทรวงวัฒนธรรม. 2559. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-27.

ดูเพิ่ม แก้

บรรณานุกรม แก้

  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
  • รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°48′N 100°11′E / 13.8°N 100.18°E / 13.8; 100.18