หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล)

รองอำมาตย์เอก นายหมู่โท หลวงวิโรจน์รัฐกิจ เดิมชื่อ เปรื่อง เป็นเจ้าเมืองหัวเมืองชั้นจัตวา[1] เป็นผู้มีบทบาทในการทำนุบำรุงศาสนาพุทธล้านนากับครูบาศรีวิชัยและพระครูพุทธิวงศ์ธาดา[2][3]

รองอำมาตย์เอก นายหมู่โท
หลวงวิโรจน์รัฐกิจ
(เปรื่อง โรจนกุล)
เจ้าเมืองอ่างทอง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2474–2478
เจ้าเมืองแพร่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2479–2481
เจ้าเมืองนครนายก
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม 2481 – 1 พฤษภาคม 2482
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
เสียชีวิตไมปรากฏ
อาชีพข้าราชการ, ขุนนาง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกสยาม
ประจำการพ.ศ. 2467 –2482
ยศรองอำมาตย์เอก
หน่วยกระทรวงกลาโหม

ประวัติ แก้

เดิมหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) อาศัยอยู่ที่บางกอก ก่อนที่จะได้ศึกษาต่อนั้นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้เข้าถวายรับราชการทหารบก กระทรวงกลาโหมตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เป็นเสนาบดีกระทรวง จนกระทั่งได้รับพระราชทานนายทหารชั้นสัญญาบัตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นก่อนแพแตก พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2474 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้เริ่มรับราชการด้านการปกครองตำแหน่งเลขานุการมณฑล[4] ประจำมณฑลนครไชยศรี[5] ซึ่งในขณะนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า ขุนวิโรจน์รัฐกิจ

ด้านราชการ แก้

เมื่อ พ.ศ. 2467 ขุนวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ตำแหน่งนายอำเภอปากบ่อง จังหวัดลำพูน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ถือศักดินา 800[6]

เมื่อ พ.ศ. 2469 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) มีส่วนร่วมในการเข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ ณ จังหวัดลำพูน โดยได้รับมอบหมายจากปลัดมณฑลประจำจังหวัดให้จัดที่ประทับส่วนพระองค์ ในจดหมายเหตุฯ ปรากฏความว่า[7]

รองอำมาตย์โท หลวงวิโรจน์รัฐกิจ นายอำเภอปากบ่อง... ...มีหน้าที่ตกแต่งศาลากลางจังหวัดซึ่งจัดเป็นที่ประทับกับทำถนนในเวียง นอกเวียง และการปลูกสร้างที่พักชั่วคราว

เมื่อ พ.ศ. 2472 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เริ่มรับราชการครั้งแรกดำรงตำแหน่งนายอำเภอปากบ่อง (ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอป่าซาง) จ. ลำพูน ขณะรับราชการจึงได้ร่วมกับพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง และครูบาศรีวิชัย นักบุญจากล้านนา โดยเป็นประธานฝ่ายฆราวาสร่วมก่อสร้างพระวิหารจัตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้าจนสำเร็จ[8]

 
วิหารจัตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า ซึ่งหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) เป็นประธานฝ่ายฆราวาสร่วมก่อสร้าง[9]

เมื่อ พ.ศ. 2473 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) รับราชการตำแหน่งนายตำบลครบวาระ 1 ปี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในปีถัดมาจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง หัวเมืองชั้นจัตวา ถือศักดินา 1500 และโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศทหารเป็น รองอำมายต์เอกและศักดินายศทหารอีก 1000

เมื่อ พ.ศ. 2474 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง จนครบวาระ 4 ปี

เมื่อ พ.ศ. 2479 ได้เป็นเจ้าเมืองแพร่[10] วาระ 2 ปี[11][12] นายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างห้องพระภายในศาลากลางจังหวัดแพร่ และยังได้สร้างทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ที่ห้องเทพวงศ์ ซึ่งหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ปรากฏลำดับที่ 13 บนทำเนียบดังกล่าว

เมื่อ พ.ศ. 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนครนายก[13] จนครบวาระถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482

หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2485

ยศและบรรดาศักดิ์ แก้

  • รองอำมาตย์ตรี เปรื่อง โรจนกุล[5]
  • รองอำมาตย์ตรี พลเสือป่า ขุนวิโรจน์รัฐกิจ ศักดินา 800
  • รองอำมาตย์ตรี นายหมู่โท ขุนวิโรจน์รัฐกิจ[14]
  • รองอำมาตย์ตรี นายหมู่โท หลวงวิโรจน์รัฐกิจ[15]
  • รองอำมาตย์โท นายหมู่โท หลวงวิโรจน์รัฐกิจ[16][17]
  • รองอำมาตย์เอก นายหมู่โท หลวงวิโรจน์รัฐกิจ ศักดินา 2500

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. ประวัติศาสตร์เมืองแพร่: ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์, 2550. 443 หน้า. 340. ISBN 978-974-458-176-1
  2. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลําพูน. กรุงเทพฯ : ป.สัมพันธฺพาณิชย์, 2532. 112 หน้า. หน้า 17. ISBN 974-793-699-2
  3. อุดม เชยกีวงศ์. อนุสาวรีย์ วัด สะพาน คลอง ถนน ประเพณี ความเชื่อ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. 520 หน้า. หน้า 277. ISBN 978-974-994-837-8
  4. กุลชาต ดิศกุล, หม่อมหลวง. (2554, กรกฎาคม). "การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและปฏิรูปกระทรวงมหาดไทย", สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ กับการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. หน้า 91.
  5. 5.0 5.1 พระราชทานยศ. (๒๔๕๙, ๒๐ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๓. หน้า ๘๑๓.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์. เล่ม 41, 1 มกราคม 2467, หน้า 3,375.
  7. กรมศิลปากร (รวบรวม). จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดลำพูน พุทธศักราช ๒๔๖๙. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2507. 52 หน้า. หน้า 17. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพเจ้าหญิงลำเจียก ณ ลำพูน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๗.
  8. การประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบล ตำบลมะกอก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอป่าซาง
  9. วัดพระพุทธบาทตากผ้า. หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก) ณ เมรุชั่วคราว วัดพระพุทธบาทตากผ้า ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลําพูน วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑. [ม.ป.ท., ม.ป.พ.], 2531. 159 หน้า.
  10. "ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สำนักงานจังหวัดแพร่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-26. สืบค้นเมื่อ 2022-05-26.
  11. แพร่ สร้างห้องพระ ภายในศาลากลางจังหวัด. (2555, 2 ตุลาคม), ข่าวสดรายวัน, 22(7978), 31.
  12. ชเนรินทร์ สมินทรปัญญา. (2555). ผู้ว่าแพร่ระดมพระพุทธรูปสำคัญทั้งจังหวัดเข้าประดิษฐานที่ศาลากลางเพื่อสร้างห้องพระประจำจังหวัด. สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่.
  13. "ทำเนียบเจ้าเมืองนครนายก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-26.
  14. พระราชทานยศนายเสือป่า เก็บถาวร 2023-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๖๗, ๑๔ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๔๑. หน้า ๒,๙๗๒.
  15. พระราชทานบรรดาศักดิ์. (๒๔๖๗, ๑ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๑ หน้า ๓,๓๗๕.
  16. กรมศิลปากร. (2507). จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดลำพูน พุทธศักราช ๒๔๖๙. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ เจ้าหญิงลำเจียก ณ ณ ลำพูน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๐๗. (พิมพ์ครั้งที่ ๔). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 52 หน้า. หน้า 17.
  17. 17.0 17.1 กมล มโนชญากร, (รวบรวม). จดหมายเหตุ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๔. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร, 2474. 225 หน้า. หน้า 199.
  18. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์. (๒๔๘๐, ๑๒ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๕๔ หน้า ๑,๖๘๕.
  19. ส่งเครื่องราชอิศริยาภรณ์ไปพระราชทาน. (๒๔๗๔, ๖ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๘. หน้า ๓,๔๘๓.
บรรณานุกรม
  • สุรัติ วังใน. ประตูเวียงกำแพงเมืองแพร่. 24 เมษายน, 2555.
  • ทำเนียบนามเจ้าเมืองอ่างทองและผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง
  • ทำเนียบนามเจ้าเมืองอ่างทองและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
  • กฤตภาส โรจนกุล. โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.], 2554.
  • พระครูบุญญาภินันท์ (บุญชู จันทสิริ). ประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย (ฉบับสมบูรณ์). 21 พฤษภาคม, 2520.