พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) (21 กันยายน 2425-30 ธันวาคม 2474) ขุนนางชาวไทย อดีตองคมนตรี อดีตนาย อำเภอเสนาใน อดีตนาย อำเภอเสนาใหญ่ อดีตนาย อำเภอกรุงเก่า อดีตปลัด เมืองอ่างทอง อดีตข้าหลวงมหาดไทยมณฑลกรุงเก่า อดีตปลัดกรมตำรวจภูธร อดีตยกกระบัตรมณฑลนครชัยศรี อดีตปลัดมณฑลกรุงเก่า อดีตผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง | |
---|---|
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2425 |
ถึงแก่กรรม | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2474 (49 ปี) |
ตำแหน่ง | อดีตผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี |
ภรรยาเอก | คุณหญิงเล็ก เศวตศิลา |
บุตร | 11 |
บิดามารดา |
|
ตระกูล | เศวตศิลา |
ยศเสือป่า | นายกองตรี |
ยศพลเรือน | มหาอำมาตย์ตรี |
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2425 เป็นบุตรชายของนาย เฮนรี อาลาบาศเตอร์ ที่เกิดแต่นางเพิ่ม อาลาบาศเตอร์ มีพี่ชายคือ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเล็ก เศวตศิลา มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 8 คนและมีบุตรธิดากับภรรยาไม่ทราบชื่ออีก 3 คน
พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดบวมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2474 สิริอายุได้ 49 ปี[1]
ตำแหน่งและบรรดาศักดิ์
แก้- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 กลับจากฝึกงานที่มณฑลกรุงเก่า[2]
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2447 นายอำเภอเสนาใน[3]
- 26 มกราคม พ.ศ. 2447 นายอำเภอเสนาใหญ่[4]
- 14 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ขุนนราภัยพิทักษ์ ถือศักดินา ๘๐๐[5]
- 14 มกราคม พ.ศ. 2451 หลวงไชยสงคราม ถือศักดินา ๑๐๐๐ พร้อมกับรับตำแหน่ง ปลัดเมืองอ่างทอง[6]
- 4 มกราคม พ.ศ. 2453 ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลกรุงเก่า[7]
- 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ปลัดกรมซ้ายในกรมตำรวจภูธร[8]
- ยกกระบัตรมณฑลนครไชยศรี
- 4 กันยายน พ.ศ. 2456 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[9]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2456 พระกรุงศรีบริรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี[11]
- 25 กรกฎาคม 2457 – กราบถวายบังคมลาไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี[12]
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2458 พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม นครบาลจังหวัดนนทบุรี (เปลี่ยนมาจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในปลายรัชกาลที่ 6)[13]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 ปลัดบัญชาการกองสมุหพระนครบาลกรุงเทพ[14]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง คงถือศักดินา ๓๐๐๐[15]
- 19 เมษายน พ.ศ. 2471 - ผู้รั้งตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลจันทบุรี[16]
- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลจันทบุรี[17]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2472 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลปราจีนบุรี[18]
- 2473 – องคมนตรี[19]
ยศ
แก้- 20 สิงหาคม 2454 – รองอำมาตย์เอก[20]
- 25 มิถุนายน 2455 – นายหมู่ตรี[21]
- 14 สิงหาคม พ.ศ. 2456 อำมาตย์ตรี[22]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2456 นายหมู่โท[23]
- 15 ธันวาคม พ.ศ. 2456 อำมาตย์โท[24]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2457 อำมาตย์เอก[25]
- 31 ธันวาคม 2457 – นายหมวดโท[26]
- 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 - นายหมวดเอก[27]
- 15 มีนาคม พ.ศ. 2462 มหาอำมาตย์ตรี[28]
- นายกองตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[29]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[30]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[31]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[32]
- พ.ศ. 2466 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[33]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[34]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[35]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวตาย (หน้า ๔๐๐๒)
- ↑ มหาดเล็กนักเรียนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงนครบาล
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๘๙๖)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ปลดและตั้งตำแหน่ง
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ตั้ง ย้าย สมุหเทศาภิบาล
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี
- ↑ พระราชทานยศ กระทรวงมหาดไทย (หน้า 980)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานเลื่อนยศ
- ↑ ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๓๒๑)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๕, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๑, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๔๐, ๘ มกราคม ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๖๙, ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๖
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 2768)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์