เทศบาลเมืองบางกรวย
เทศบาลเมืองบางกรวย เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเป็นเทศบาลเมืองหนึ่งในสิบแห่งของจังหวัด เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานครมาก ในเขตเทศบาลจึงเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นของประชาชน ทั้งในรูปแบบชุมชนและหมู่บ้านจัดสรร มีตลาด ร้านอาหาร และโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีสวนผลไม้ทั่วไปในพื้นที่ และยังคงพบวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมได้ตามริมคลองบางกอกน้อยและคลองบางกรวย
เทศบาลเมืองบางกรวย | |
---|---|
ปากทางถนนบางกรวย-ไทรน้อย | |
พิกัด: 13°48′15.1″N 100°28′32.3″E / 13.804194°N 100.475639°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | บางกรวย |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สุรศักดิ์ วิชินโรจน์จรัล |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.4 ตร.กม. (3.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 44,527 คน |
• ความหนาแน่น | 5,300.83 คน/ตร.กม. (13,729.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04120201 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 99 หมู่ที่ 3 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ในอดีตเขตเทศบาลเมืองบางกรวยมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันคือคลองบางกอกน้อยและคลองบางกรวย) จึงเป็นพื้นที่หนึ่งในจังหวัดนนทบุรีที่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น[2] โดยเฉพาะบริเวณวัดชลอซึ่งปรากฏรูปแบบสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมสมัยอยุธยา แต่ชุมชนแห่งนี้ก็ยังมีขอบเขตไกลออกไปถึงวัดโตนด วัดกระโจมทอง และวัดลุ่มคงคาราม[2]
เมื่อมีการปฏิรูปการบริหารราชการและการปกครองท้องที่ในสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณนี้จึงมีฐานะเป็นตำบลบางกรวยตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกพื้นที่ด้านตะวันตกของตำบลบางกรวยจัดตั้งเป็นตำบลวัดชลอ[3] จนกระทั่งในบริเวณนี้มีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อประโยชน์ในการทะนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดตั้ง สุขาภิบาลวัดชลอ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499[4] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดชลอบริเวณริมคลองบางกอกน้อย[4] และจัดตั้ง สุขาภิบาลบางกรวย เมื่อปี พ.ศ. 2514[5] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกรวยตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงคลองวัดจันทร์[5]
สุขาภิบาลวัดชลอและสุขาภิบาลบางกรวยอันเป็นท้องถิ่นบริเวณที่ตั้งอำเภอบางกรวยมีประชากรและความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับพื้นที่ที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตสุขาภิบาลทั้งสองแห่งนั้นก็มีสภาพเช่นเดียวกัน ทางราชการเล็งเห็นความจำเป็นในการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทะนุบำรุงท้องถิ่นตามระบบเทศบาล จึงได้ออกพระราชกฤษฎีการวมท้องที่สุขาภิบาลวัดชลอ สุขาภิบาลบางกรวย รวมทั้งท้องที่ตำบลวัดชลอและตำบลบางกรวยที่อยู่นอกเขตสุขาภิบาลทั้งสองแห่งตั้งเป็น เทศบาลตำบลบางกรวย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม ปีเดียวกัน[6]
เนื่องจากเทศบาลตำบลบางกรวยเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งติดกับกรุงเทพมหานคร มีระบบสาธารณูปโภคสะดวกสบาย ทำให้ความเจริญหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่อย่างรวดเร็ว ในเขตเทศบาลจึงมีประชากรหนาแน่นขึ้นมากและมีความเจริญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจนเข้าเกณฑ์ที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จึงมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางกรวยเป็น เทศบาลเมืองบางกรวย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม เป็นต้นมา[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เทศบาลเมืองบางกรวยมีพื้นที่ทั้งหมด 8.4 ตารางกิโลเมตร[8] ครอบคลุมตำบลวัดชลอ 10 หมู่บ้าน และตำบลบางกรวย 9 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้[7]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน เขตเทศบาลตำบลบางสีทอง และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ (อำเภอเมืองนนทบุรี) มีคลองวัดสักใหญ่ฝั่งเหนือ แนวขนานระยะ 500 เมตรจากกึ่งกลางคลองบางกอกน้อย คลองโพธิ์ฝั่งตะวันออก และคลองบางกรวยฝั่งใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีแนวกึ่งกลางทางรถไฟสายใต้[9] คลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันออก และคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน มีแนวขนานระยะ 400 เมตรจากกึ่งกลางคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
ประชากร
แก้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เทศบาลเมืองบางกรวยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 44,527 คน เป็นชาย 20,473 คน เป็นหญิง 24,054 คน[1]
การขนส่ง
แก้ถนน
แก้- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับท้องที่อื่น ๆ ในจังหวัดนนทบุรี
- ถนนบางกรวย-จงถนอม เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับตำบลมหาสวัสดิ์ ตำบลบางขนุน และตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย
- ถนนเทอดพระเกียรติ เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
- สะพานพระราม 7 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
ท่าเรือ
แก้- ท่าน้ำวัดโพธิ์บางโอ
- ท่าน้ำวัดท่าบางสีทอง
- ท่าน้ำวัดโตนด
- ท่าน้ำวัดชลอ
- ท่าน้ำที่ว่าการอำเภอบางกรวย
- ท่าน้ำวัดเกดประยงค์เล็กตั้งตรงจิตร
- ท่าน้ำวัดพิกุลทอง
- ท่าน้ำวัดกล้วย
- ท่าน้ำวัดสวนใหญ่
- ท่าน้ำวัดสำโรง
- ท่าน้ำวัดโพธิ์เผือก
- ท่าน้ำวัดจันทร์
- ท่าน้ำวัดลุ่มคงคาราม
- ท่าน้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ท่าน้ำพระราม 7 (ฝั่งธนบุรี)
เส้นทางน้ำ
แก้สถานที่สำคัญ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางกรวย". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 30.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง พิเศษ): 28–30. 26 มกราคม 2500.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ง): 3204–3205. 16 พฤศจิกายน 2514.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ก): 26–28. 25 สิงหาคม 2537.
- ↑ 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางกรวย พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (122 ก): 5–7. 16 ธันวาคม 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.
- ↑ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ศูนย์ข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://info.thailocaladmin.go.th/search_general เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 เมษายน 2552.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (พิเศษ 34 ง): 104–127. 6 พฤษภาคม 2541. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 2009-04-14.