ผู้ใช้:Saran.cha412/ทดลองเขียน

เจ้าราชญาติ (ขงขวาฬ ณ น่าน)

เมืองนครประเทศราช แก้

นับตั้งแต่เจ้าในหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ร่วมกันปลดแอกล้านนาจากอิทธิของพม่า และได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2317 เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ “เจ้านายฝ่ายเหนือ” มีอำนาจในการปกครองตนเองค่อนข้างมาก ดำรงฐานะเป็น “เจ้าประเทศราช” ที่มีหน้าที่แค่ส่งต้นไม้ทองต้นไม้เงินและเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์รัฐสยามทุกๆ 3 ปี เรื่อยมาจนกระทั่งรัฐสยามได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยรวบอำนาจเจ้าประเทศราชและผนวกดินแดนล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม โดยกว่าระบอบเจ้าประเทศราชจะถึงกาลสิ้นสุดลงก็เมื่อปี พ.ศ. 2486

เนื่องจากล้านนามีการรวมตัวแบบรัฐหลวมๆ สานสัมพันธ์ด้วยระบอบเครือญาติ เจ้าประเทศราชในล้านนาจึงดำรงพระสถานะเป็น “เจ้าผู้ครองนคร” โดยแบ่งออกเป็น 3 สายหลัก คือ

  1. สายราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ปกครองเมืองนครเชียงใหม่ , เมืองนครลำปาง , เมืองนครลำพูน
  2. สายราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ที่ปกครองเมืองนครน่าน
  3. สายราชวงศ์เทพวงศ์ ที่ปกครองเมืองนครแพร่

หัวเมืองฝ่ายเหนือ แก้

หัวเมืองฝ่ายเหนือ แก้

หัวเมืองฝ่ายเหนือ หมายถึง ดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยที่อดีตเคยเป็นพื้นที่ของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสาละวินฝั่งซ้ายถึงแม่น้ำโขงฝั่งขวา มีหัวเมืองที่สำคัญ ได้แก่ เมืองนครเชียงใหม่, เมืองนครน่าน, เมืองนครลำปาง, เมืองนครลำพูน, เมืองนครแพร่, เมืองเถิน หัวเมืองเหล่านี้อดีตเคยเป็นนครรัฐอิสระปกครองตนเอง และบางครั้งตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยามและพม่าสลับกันไปมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหัวเมืองเหนือได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรสยามอย่างเด็ดขาด แต่กรุงรัตนโกสินทร์ฯได้ให้อิสระแก่บรรดาหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนืออย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการปกครอง ด้านเศรษฐกิจและ ด้านการต่างประเทศ โดยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่เคยส่งข้าราชการเข้ามาควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือเลย จนกล่าวได้ว่าในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หัวเมืองฝ่ายเหนือมีสถานะเป็นนครรัฐอิสระ มีหน้าที่แค่ และต้องถวายต้องต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ทุกๆ 3 ปี เพื่อเเสดงความจงรักภักดีต่อกรุงรัตนโกสินทร์ และรวมถึงการเกณฑ์ไพร่พลเมื่อมีศึกสงคราม

การปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ แก้

การปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ คือ เมืองนครเชียงใหม่, เมืองนครน่าน, เมืองนครลำปาง, เมืองนครลำพูน, เมืองนครแพร่ ทุกหัวเมืองต่างมีสถานะที่เท่าเทียมกัน เพราะพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าผู้ครองเมืองให้มีฐานันดรศักดิ์เป็น "พระยาประเทศราช" ตลอดจนตำแหน่งต่างๆ เสมอกันทั้งหมด แต่ในส่วนเมืองนครเชียงใหม่นั้นจะมีอำนาจเหนือเมืองนครลำปางและเมืองนครลำพูน นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา

หัวเมืองฝ่ายเหนือนั้นมีโครงสร้างการปกครองภายในแต่ละหัวเมืองที่คล้ายกัน คือ อำนาจในการปกครองบ้านเมืองสูงสุดอยู่ที่ "เจ้าผู้ครองนคร" หรือ "เจ้าหลวง" และมีเจ้านายบุตรหลานที่เป็นผู้ช่วยอีก 4 ตำแหน่ง คือ "พระยาอุปราช" , "พระยาราชวงศ์" , "พระยาบุรีรัตน์" และ "พระยาราชบุตร" รวมกับตำแหน่งพระยาเมืองจะรวมเรียกว่า "เจ้าขัน 5 ใบ" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นอีก 3 ตำแหน่ง คือ "เจ้าราชภาคิไนย" "พระยาอุตรการโกศล" และ "พระยาไชยสงคราม"

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 อาณาจักรสยามได้กำลังถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมเพื่อเป็นการผูกใจกับเจ้าผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวงศ์สกุล เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่, เจ้าผู้ครองนครลำปาง , เจ้าผู้ครองนครลำพูน และวงศ์สกุล เจ้าผู้ครองนครน่าน ขึ้นเป็น "เจ้า" ทั้ง 4 เมือง ให้สมควรที่ได้ยกขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอันใหญ่ แต่ เจ้าเมือง, อุปราช, ราชวงษ์, บุรีรัตน์ ,ราชบุตร ของเมืองขึ้นนั้นให้ดำรงตำแหน่งเป็น "พระยาประเทศราช" อยู่ตามเดิม ยกเว้นเมืองนครแพร่เพราะ เจ้าผู้ครองนครแพร่ มิได้ลงไปเข้าเฝ้าในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มอีก 3 ตำแหน่งคือ "เจ้าราชภาติกวงศ์" , "เจ้าราชสัมพันธวงศ์" และ "เจ้าสุริยวงศ์" และต่อมาในปี พ.ศ. 2438 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มอีก 6 ตำแหน่ง คือ "เจ้าทักษิณนิเขตน์" , "เจ้านิเวศน์อุดร" , "เจ้าประพันธ์พงษ์" , "เจ้าวรญาติ" , "เจ้าราชญาติ" และ "เจ้าไชยวรเชษฐ์" และต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง คือ "เจ้าราชดนัย" (ซึ่งมีเฉพาะเมืองนครน่านเป็นกรณีพิเศษ)

ในการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เจ้านายหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสยาม ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้แก่เจ้านาย ตามที่เจ้าประเทศราชได้มีศุภอักษรขอกราบบังคมทูลเสนอมา

โครงสร้างการปกครองของหัวเมืองฝ่ายเหนือ แก้

โครงสร้างทางการปกครองภายในของหัวเมืองล้านนา (ฝ่ายเหนือ) แต่ละหัวเมืองมีโครงสร้างคล้ายๆกัน โดยตำแหน่งทางการปกครองสูงสุดอยู่ที่ "เจ้าผู้ครองนคร" หรือ "เจ้าหลวง" และมีเจ้านายบุตรหลานที่เป็นผู้ช่วยอีก 4 ตำแหน่ง คือ "เจ้าอุปราช" , "เจ้าราชวงศ์" , "เจ้าบุรีรัตน์" และ "เจ้าราชบุตร" รวมกับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครจะเรียกว่า "เจ้าขัน 5 ใบ" นอกจากตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบแล้ว ในการบริหารราชการบ้านเมืองต่างๆ ยังมี "เค้าสนามหลวง" หรือ เหล่าเสนาอำมาตย์อีกจำนวน 32 ตำแหน่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นเหล่าขุนนางชั้นสูงที่เจ้าผู้ครองนครทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยในการบริหารราชการบ้านเมือง

เจ้าศักดินา ชั้น สัญญาบัตร หมายถึง เจ้านายบุตรหลานที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ เพื่อเป็นผู้ช่วยในการบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 คือ เจ้าผู้ครองนคร (เจ้าหลวง) และเหล่าเจ้านายระดับสูงผู้มีสิทธิที่จะได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร (เจ้าหลวง) องค์ต่อไปสืบต่อจากเจ้าผู้ครองนคร (เจ้าหลวง) องค์เดิม

ลำดับชั้นยศเจ้านายระดับสูงของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ประกอบด้วย 5 ชั้นยศ ดังนี้

  1. "เจ้าผู้ครองนคร"  : มีพระสถานะในการปกครองสูงสุดมีอำนาจเฉกเช่นพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้นยศ คือ
    1. พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา 15,000 ไร่
    2. เจ้าประเทศราช ถือศักดินา 10,000 ไร่
  2. "เจ้าอุปราช"  : มีพระสถานะเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 มีอำนาจสูงกว่ามากกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ ถือศักดินา 5,000 ไร่
  3. "เจ้าราชวงศ์"  : มีพระสถานะเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 2 ถือศักดินา 3,000 ไร่
  4. "เจ้าบุรีรัตน์"  : มีพระสถานะเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 3 ถือศักดินา 2,400 ไร่
  5. "เจ้าราชบุตร"  : มีพระสถานะเป็นองค์รัชทายาทลำดับที่ 4 ถือศักดินา 2,400 ไร่
  • กลุ่มที่ 2 คือ เหล่าเจ้านายบุตรหลานที่มีพระสถานะเกี่ยวดองกับเจ้าผู้ครองนคร (เจ้าหลวง) เป็นพระชามาดา (ลูกเขย) , พระภาคิไนย (หลานลุง/หลานน้า) เจ้านายในกลุ่มนี้จะต้องรับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเลื่อนยศขึ้นไปในกลุ่มที่ 1 ก่อนถึงมีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองเมืองได้ ประกอบด้วย 8 ชั้นยศ ดังนี้
  1. "เจ้าราชภาคินัย"  : ถือศักดินา 2,000 ไร่
  2. "เจ้าราชภาติกวงษ์"  : ถือศักดินา 2,000 ไร่
  3. "เจ้าราชสัมพันธวงษ์"  : ถือศักดินา 2,000 ไร่
  4. "เจ้าสุริยวงษ์"  : ถือศักดินา 2,000 ไร่
  5. "เจ้าอุตรการโกศล"  : ถือศักดินา 1,600 ไร่
  6. "เจ้าไชยสงคราม"  : ถือศักดินา 1,600 ไร่
  7. "เจ้าทักษิณนิเกตน์ "  : ถือศักดินา 1,600 ไร่
  8. "เจ้านิเวศน์อุดร"  : ถือศักดินา 1,600 ไร่
  • กลุ่มที่ 3 คือ เหล่าเจ้านายบุตรหลานหรือพระญาติวงศ์กับเจ้าผู้ครองนคร (เจ้าหลวง) ที่ทรงสนิทเป็นอย่างมากและมีความสามารถจึงโปรดให้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ ประกอบด้วย 8 ชั้นยศ ดังนี้
  1. "พระวังขวา"  : ถือศักดินา 1,000 ไร่ (ส่วนเมืองนครน่านได้รับการตั้งเป็น "พระยาวังขวา"  : ถือศักดินา 1,200 ไร่)
  2. "พระวังซ้าย"  : ถือศักดินา 1,000 ไร่ (ส่วนเมืองนครน่านได้รับการตั้งเป็น "พระยาวังซ้าย"  : ถือศักดินา 1,200 ไร่)
  3. "พระวิไชยราชา"  : ถือศักดินา 600 ไร่
  4. "พระไชยราชา"  : ถือศักดินา 600 ไร่
  5. "พระเมืองราชา"  : ถือศักดินา 600 ไร่
  6. "พระเมืองไชย"  : ถือศักดินา 600 ไร่
  7. "พระเมืองแก่น"  : ถือศักดินา 600 ไร่
  8. "พระเมืองน้อย"  : ถือศักดินา 600 ไร่

พระเจ้าประเทศราช แก้

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2399 เจ้าพระยามุขมนตรีได้นำเจ้านายบุตรหลานเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย เข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการปฤกษาด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ แลท่านอรรคมหาเสนาธิบดี ว่าหัวเมืองลาวพุงขาว (หลวงพระบาง) หัวเมืองแขก (มลายู) และหัวเมืองเขมร ซึ่งเป็นหัวเมืองประเทศราชเชื้อวงษ์เป็นเจ้าก็ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นเจ้าทุก ๆ หัวเมือง ยกเว้นแต่หัวเมืองลาวพุงดำ (เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย) นับตั้งแต่ พระเจ้าเชียงใหม่กาวิละ , พระเจ้านครลำปางดวงทิพ , พระเจ้าลำพูนไชยบุญมา ได้ถึงแก่พิราไลยไปนั้นแล้ว ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯตั้งเจ้าเมือง อุปราช ราชวงษ์ เมืองแก้ว ครั้งใด ก็โปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระยาทุกๆ ครั้ง ครั้งนี้ทรงพระราชดำริห์ว่าจะทรงยกสกุลวงศ์เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองนครลำปาง เจ้าเมืองลำพูนไชย และสกุลวงศ์เจ้าเมืองน่าน ขึ้นเป็นเจ้าทั้ง 4 เมือง ให้สมควรที่ได้ยกขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอันใหญ่

และทรงพระราชดำริถ้าเจ้าผู้ครองนครองค์ใดที่ความชอบมากพิเศษจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" เฉพาะพระองค์ เช่น พระเจ้าเชียงใหม่กาวิละ ในรัชกาลที่ 1 , พระเจ้านครลำปางดวงทิพย์ และพระเจ้าลำพูนไชยบุญมา ในรัชกาลที่ 2

  • ชั้นยศ "พระเจ้าประเทศราช" นั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนอิสริยยศของเจ้าประเทศราช ที่ทรงมีชนมายุอาวุโสสูงสุดในบรรดา 5 หัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ ขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศเจ้าผู้ครองนครทั้ง 5 หัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ (เจ้าหลวง) ขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น "พระเจ้าประเทศราช" รวมทั้งสิ้น 7 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้


 
พระเจ้ากาวิละ
พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 1 พระบรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราชชาติราไชยสวรรค์ เจ้าขัณฑเสมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ 12 มกราคม พ.ศ. 2329 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2358 รวมระยะเวลา 32 ปี


 
พระเจ้าดวงทิพย์
พระเจ้านครลำปาง องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 2 พระเจ้านครลำปางดวงทิพย์ พระเจ้านครลำปาง
เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ พ.ศ. 2337 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2369 รวมระยะเวลา 31 ปี


 
พระเจ้าบุญมา
พระเจ้านครลำพูน องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 3 พระเจ้าลำพูนไชยบุญมา พระเจ้านครลำพูน
เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ พ.ศ. 2358 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2370 รวมระยะเวลา 12 ปี


 
พระเจ้ามโหตรประเทศฯ
พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 4 พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี นพิสีมหานคราธิฐาน ภูบาลบพิตร สถิตย์ในอุตมชิยางคราชวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2389 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 รวมระยะเวลา 8 ปี


 
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ฯ
พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 5 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพิสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิเดชศรี โยนางคดไนย ราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 รวมระยะเวลา 14 ปี


 
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ
พระเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

องค์ที่ 6 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพยภักดี ศรีโยนางคราชวงษาธิปไตย์ มโหดดรพิไสยธุรสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหารภูบาลบพิตร สถิตยชิยางคราชวงษ พระเจ้านครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
ครองราชย์ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 รวมระยะเวลา 24 ปี


 
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
พระเจ้านครเมืองน่าน องค์ที่ 63 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

องค์ที่ 7 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิกิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ครองราชย์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461 รวมระยะเวลา 25 ปี

รายพระนามกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครน่าน แก้

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2474) แก้

นครรัฐน่าน ถูกสถาปนาขึ้นโดยพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ภูคา โดยมีศูนย์กลาการปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (บริเวณพื้นที่ตำบลยม อำเภอท่าวังผา และตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว ในปัจจุบัน) ต่อมาได้สร้างเมืองไชยบุรีวรนคร หรือ เมืองปัว แล้วสถาปนาเจ้าขุนฟองพระราชโอรสองค์เล็กขึ้นเป็น พระเจ้าขุนคำฟอง ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา ทรงขึ้นปกครองเมืองไชยบุรีวรนคร หรือ เมืองปัว เมื่อปี พ.ศ. 1825 และมีกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคาสืบสันตติวงศ์ต่อเนื่องกันลงมาอีก 17 รัชกาล

  • รายพระนามกษัตริย์นครรัฐน่าน , เจ้าผู้ครองนครน่าน และเจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 จนถึงปี พ.ศ. 2475 รวมระยะเวลา 662 ปี 229 วัน มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครทั้งสิ้น 64 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

- รายพระนามกษัตริย์นครรัฐน่าน 17 รัชกาล 16 พระองค์ แห่งราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 2004 รวมระยะเวลา 179 ปี) มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

องค์ปฐมวงศ์ : พระยาภูคา เจ้าเมืองย่าง
ครองราชย์ พ.ศ. 1812 - พ.ศ. 1880 ดำรงราชย์สมบัติ 68 ปี
ปฐมบรมกษัตริย์นครรัฐน่านแห่งราชวงศ์ภูคา

องค์ที่ 1 พระเจ้าขุนคำฟอง กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 1 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845 ดำรงราชย์สมบัติ 20 ปี
ปฐมกษัตริย์นครรัฐน่านแห่งราชวงศ์ภูคา

องค์ที่ 2 พระเจ้าเก้าเกื่อน กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1845 - พ.ศ. 1848 ดำรงราชย์สมบัติ 3 ปี

องค์ที่ 3 พระนางคำปินมหาเทวี กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1848 - พ.ศ. 1849 ดำรงราชย์สมบัติ 7 เดือน

องค์ที่ 4 พระเจ้าผานอง กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1896 ดำรงราชย์สมบัติ 30 ปี

องค์ที่ 5 พระเจ้าขุนไส กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1898 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 6 พระเจ้าการเมือง กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1906 ดำรงราชย์สมบัติ 8 ปี

องค์ที่ 7 พระเจ้าผากอง กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1906 - พ.ศ. 1931 ดำรงราชย์สมบัติ 25 ปี

องค์ที่ 8 พระเจ้าคำตัน กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1941 ดำรงราชย์สมบัติ 10 ปี

องค์ที่ 9 พระเจ้าศรีจันต๊ะ กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1941 - พ.ศ. 1942 ดำรงราชย์สมบัติ 1 ปี

องค์ที่ 10 พระเจ้าหุงราช กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 1950 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

องค์ที่ 11 พระเจ้าคัมพลูราช (ภูเข็ง) กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1950 - พ.ศ. 1960 ดำรงราชย์สมบัติ 10 ปี

องค์ที่ 12 พระเจ้าสรีพันต้น กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1960 - พ.ศ. 1968 ดำรงราชย์สมบัติ 8 ปี

องค์ที่ 13 พระเจ้างั่วฬารผาสุม กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1969 - พ.ศ. 1976 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

องค์ที่ 14 พระเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว กษัตริย์นครรัฐน่าน (ครั้งที่ 1)
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1976 - พ.ศ. 1977 ดำรงราชย์สมบัติ 3 เดือน

องค์ที่ 15 พระเจ้าคำแปงราช| กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1977 - พ.ศ. 1978 ดำรงราชย์สมบัติ 1 ปี

องค์ที่ 16 พระเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว กษัตริย์นครรัฐน่าน (ครั้งที่ 2)
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 16 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1978 - พ.ศ. 1993 ดำรงราชย์สมบัติ 15 ปี

องค์ที่ 17 พระเจ้าผาแสง กษัตริย์นครรัฐน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 17 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1993 - พ.ศ. 2004 ดำรงราชย์สมบัติ 11 ปี

  • ภายหลังจากที่พระเจ้าผาแสง ทรงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2004 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา ก็ได้ยกเลิกการสืบสันตติวงศ์ของราชวงศ์ภูคา จึงถือว่าเป็นการสิ้นสุดการปกครองระบอบกษัตริย์ในราชวงศ์ภูคานับตั้งแต่ พระยาขุนฟอง องค์ปฐมกษัตริย์

เมืองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา) พ.ศ. 2004 - พ.ศ. 2101 รวมระยะเวลา 97 ปี แก้

นับตั้งแต่เมืองน่านถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 1994 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา จึงได้โปรดเเต่งตั้งให้เจ้าผาแสง ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานลุง) ในพระเจ้าอินต๊แก่นท้าว ขึ้นปกครองเมืองน่านตามเดิม ในฐานะเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา ต่อมาในปี พ.ศ. 2004 พระเจ้าผาแสง ได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ก็ได้โปรดให้ยกเลิกการสืบสันตติวงศ์ จึงถือว่าเป็นการสิ้นสุดการปกครองระบอบกษัตริย์แห่งราชวงศ์ภูคา นครรัฐน่านก็ถูกลดฐานะลงเป็นเพียงหัวเมืองหนึ่งในอาณาจักรล้านนา โดยเจ้าผู้ปกครองเมืองน่านจะเป็นขุนนางที่กษัตริย์เมืองเชียงใหม่จัดส่งให้มาปกครองผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทุกๆ 3 - 5 ปี เจ้าเมืองน่านในยุคนี้จึงมีสถานะเป็น “เจ้าเมือง” ที่ขึ้นตรงต่อ “กษัตริย์ล้านนา” ที่เมืองเชียงใหม่

  • รายพระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน 21 องค์ (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา) พ.ศ. 2004 - พ.ศ. 2101 รวมระยะเวลา 97 ปี มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

องค์ที่ 18 หมื่นสร้อยเชียงของ เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 1 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2005 - พ.ศ. 2009 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 19 หมื่นน้อยใน เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 2 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2009 - พ.ศ. 2011 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 20 หมื่นขวาเถ้าบาจาย เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 3 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2012 - พ.ศ. 2016 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 21 หมื่นคำ เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 4 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2016 - พ.ศ. 2018 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 22 ท้าวขาก่าน เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 5 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2019 - พ.ศ. 2023 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 23 ท้าวอ้ายยวม เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 6 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2024 - พ.ศ. 2028 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 24 ท้าวเมืองตน เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 7 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2028 - พ.ศ. 2032 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 25 หมื่นโมงเชียงเรื่อ เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 8 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2032 - พ.ศ. 2032 ดำรงราชย์สมบัติ 6 เดือน

องค์ที่ 26 ท้าวบุญแฝง เจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 1)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 9 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2032 - พ.ศ. 2039 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

องค์ที่ 27 หมื่นตีนเชียง เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 10 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2039 - พ.ศ. 2040 ดำรงราชย์สมบัติ 1 ปี

องค์ที่ 28 ท้าวบุญแฝง เจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 2)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 11 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2040 - พ.ศ. 2050 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

องค์ที่ 29 พระยาศรีบุญเรืองคำข่าย (หมื่นสามล้าน) เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 12 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2050 - พ.ศ. 2052 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 30 พระยาสร้อยสุริยะ (เจ้าเมืองแพร่สร้อย) เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 13 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2052 - พ.ศ. 2056 ดำรงราชย์สมบัติ 4 ปี

องค์ที่ 31 หมื่นเจ้าเมืองฝาง เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 14 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2056 - พ.ศ. 2058 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 32 เจ้าเมืองฝาง เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 15 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2058 - พ.ศ. 2059 ดำรงราชย์สมบัติ 10 เดือน

องค์ที่ 33 พระยาคำยอดฟ้า เจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 1)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 16 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2059 - พ.ศ. 2060 ดำรงราชย์สมบัติ 3 เดือน

องค์ที่ 34 พระยาหน่อเชียงแสน เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 17 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2060 - พ.ศ. 2062 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

องค์ที่ 35 พระยาคำยอดฟ้า เจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 2)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 18 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2062 - พ.ศ. 2069 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

องค์ที่ 36 พระยาแสนสงคราม เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 19 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2069 - พ.ศ. 2069 ดำรงราชย์สมบัติ 1 เดือน 11 วัน

องค์ที่ 37 พระยาคำยอดฟ้า เจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 3)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 20 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2069 - พ.ศ. 2070 ดำรงราชย์สมบัติ 1 ปี

องค์ที่ 38 พระยาพลเทพฦๅไชย เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 21 (ภายใต้อาณาจักรล้านนา)
ครองราชย์ พ.ศ. 2070 - พ.ศ. 2101 ดำรงราชย์สมบัติ 31 ปี

เมืองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่า) พ.ศ. 2101 - พ.ศ. 2331 รวมระยะเวลา 230 ปี แก้

ในปี พ.ศ. 2101 อาณาจักรล้านนาได้ตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรพม่า พระยาพลเทพฦๅไชย เจ้าเมืองน่าน ได้หลบหนีไปเมืองหลวงพระบาง พระเจ้าบุเรงนอง พระมหากษัตริย์พม่า จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม ขึ้นเป็น เจ้าเมืองน่าน ในยุคนี้เจ้าเมืองน่านทรงรับพระราชบัญชาจากพระมหากษัตริย์พม่าโดยตรง เจ้าเมืองน่านที่กษัตริย์พม่าส่งให้มาปกครองนั้นมาจากหลากหลายตำแหน่งทั้งมาจากเจ้าฟ้าในรัฐฉานและเจ้านายขุนนางในหัวเมืองล้านนา และมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปกครองตามที่พระมหากษัตริย์พม่าโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

  • รายพระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่า) พ.ศ. 2101 - พ.ศ. 2331 รวมระยะเวลา 230 ปี มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

องค์ที่ 39 พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 1 (ภายใต้การปกครองของพม่า)
ครองราชย์ พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2134 ดำรงราชย์สมบัติ 31 ปี

องค์ที่ 40 พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ พระเจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 1)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 2 (ภายใต้การปกครองของพม่า)
ครองราชย์ พ.ศ. 2134 - พ.ศ. 2140 ดำรงราชย์สมบัติ 6 ปี

• พระยาแขก (ขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณพระเจ้ากรุงอังวะ)
รักษาเมืองน่าน พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2143 รวมระยะเวลา 3 ปี

องค์ที่ 41 พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ พระเจ้าเมืองน่าน (ครั้งที่ 2)
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 3 (ภายใต้การปกครองของพม่า)
ครองราชย์ พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2146 ดำรงราชย์สมบัติ 3 ปี

องค์ที่ 42 พระเจ้าศรีสองเมือง พระเจ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 4 (ภายใต้การปกครองของพม่า)

ครองราชย์ พ.ศ. 2146 - พ.ศ. 2158 ดำรงราชย์สมบัติ 12 ปี 

รัชกาลที่ 43 พระเจ้าอุ่นเมือง พระเจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 5 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2168 ดำรงราชย์สมบัติ 10 ปี

รัชกาลที่ 44 พระยาหลวงเมืองนครลำปาง เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 6 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2168 - พ.ศ. 2181 ดำรงราชย์สมบัติ 14 ปี

รัชกาลที่ 45 เจ้าพระยาหลวงเชียงราย เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 7 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2181 - พ.ศ. 2191 ดำรงราชย์สมบัติ 10 ปี

รัชกาลที่ 46 เจ้าพระยาแหลมมุม เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 8 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2192 - พ.ศ. 2205 ดำรงราชย์สมบัติ 13 ปี

รัชกาลที่ 47 เจ้าพระยายอดใจ เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 8 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2208 - พ.ศ. 2230 ดำรงราชย์สมบัติ 22 ปี

รัชกาลที่ 48 เจ้าพระเมืองราชา เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 9 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2232 - พ.ศ. 2246 ดำรงราชย์สมบัติ 14 ปี

.• พระนาซ้าย (นายน้อยอินทร์ บ้านฝายแก้ว) (ครั้งที่ 1)

     รักษาเมืองน่าน พ.ศ. 2250 - พ.ศ. 2251 รวมระยะเวลา 1 ปี

รัชกาลที่ 49 เจ้าฟ้าเมืองคอง (เงี้ยว) เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 10 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2257 ดำรงราชย์สมบัติ 7 ปี

รัชกาลที่ 50 เจ้าฟ้าเมียวซา (พม่า) เจ้าเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน องค์ที่ 11 (ภายใต้การปกครองของพม่า) ครองราชย์ พ.ศ. 2257 - พ.ศ. 2259 ดำรงราชย์สมบัติ 2 ปี

• พระนาขวา (นายน้อยอินทร์ บ้านฝายแก้ว) (ครั้งที่ 2)

    รักษาเมืองน่าน พ.ศ. 2259 - พ.ศ. 2269 รวมระยะเวลา 10 ปี

เมืองประเทศราช (ฝ่ายเหนือ) แก้

หัวเมืองประเทศราช
(ฝ่ายเหนือ)

(Nakhon Lanna Pradesh Raja)
พ.ศ. 2314–พ.ศ. 2442
ธงชาติ
 
แผนที่แสดงอาณาเขตของเมืองประเทศราช (ฝ่ายเหนือ)
สถานะหัวเมืองประเทศราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองหลวงเมืองนครเชียงใหม่
เมืองนครน่าน
เมืองนครลำปาง
เมืองนครลำพูน
เมืองนครแพร่
ภาษาทั่วไปภาษาไทล้านนา หรือ ไทพื้นมือง
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เจ้าผู้ครองนครทั้ง 5 นคร 
พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2482
พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2465
พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2486
พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2474
พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2445
ประวัติศาสตร์ 
• เมืองนครแพร่ สวามิภักดิ์ในปี
พ.ศ. 2314
• เมืองนครเชียงใหม่ สวามิภักดิ์ในปี
พ.ศ. 2317
• เมืองนครลำปาง สวามิภักดิ์ในปี
พ.ศ. 2317
• เมืองนครน่าน สวามิภักดิ์ในปี
พ.ศ. 2331
• เมืองนครลำพูน ตั้งขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2357
• ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2442
ก่อนหน้า
ถัดไป
  แคว้นเชียงใหม่
มณฑลพายัพ  
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย
และบางส่วนของประเทศพม่าและประเทศลาว ในปัจจุบัน
3

รายพระนามพระเจ้าประเทศราชล้านนาทั้ง 7 พระองค์ แก้

พระอิสริยยศ “พระเจ้าประเทศราชล้านนา” แต่เดิมนั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา “พระยาหัวเมืองประเทศราชล้านนา” ที่ทรงเจริญชนม์ไวยยิ่งกว่าบรรดาพระยาประเทศราชใน 5 หัวเมืองล้านนา (เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน เมืองนครน่าน เมืองนครแพร่) ในการสถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศและพระฐานันดรศักดิ์ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสยาม ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในยุคที่ 5 หัวเมืองล้านนา (เมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน เมืองนครน่าน เมืองนครแพร่) มีพระสถานะเป็นเมืองประเทศราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสยาม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศเจ้าผู้ครองนครใน 5 หัวเมืองล้านนา (เจ้าหลวง) ให้ดำรงพระอิสริยยศเป็น "พระเจ้าประเทศราช" รวมทั้งสิ้น 7 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

 
ตราประจำพระเจ้าประเทศราชล้านนา

พระเจ้าประเทศราชล้านนา
ลำดับ พระรูปและพระนาม ครองราชย์ สถาปนาขึ้นเป็น
(พระเจ้าประเทศราช)
สิ้นรัชกาล รวมระยะเวลา (ปี)
1
 
พระบรมราชาธิบดี
12 มกราคม พ.ศ. 2329 14 กันยายน พ.ศ. 2345 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2358 29 ปี
2
 
พระเจ้านครลำปางดวงทิพย์
พ.ศ. 2337 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 30 มีนาคม พ.ศ. 2369 3 ปี
3
 
พระเจ้าลำพูนบุญมา
พ.ศ. 2358 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 25 มีนาคม พ.ศ. 2370 1 ปี
4
 
พระเจ้ามโหตรประเทศ
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2389 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 5 เดือน 28 วัน
5
 
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 9 ปี
6
 
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 16 ปี
7
 
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 5 เมษายน พ.ศ. 2461 15 ปี

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ แก้

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ 9 พระองค์ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร แก้

 
ตราประจำเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ 9 พระองค์
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2482)
ลำดับ พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระบรมราชาธิบดี 12 มกราคม พ.ศ.2329 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2358 29 ปี
2 พระยาธรรมลังกา 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2359 28 มิถุนายน พ.ศ. 2365 6 ปี
3 พระยาคำฟั่น 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2368 2 ปี
4 พระยาพุทธวงศ์ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 7 มิถุนายน พ.ศ. 2389 20 ปี
5 พระเจ้ามโหตรประเทศ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2389 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 8 ปี
6 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 14 ปี
7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2416 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 24 ปี
8 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 5 มกราคม พ.ศ. 2453 8 ปี
9 เจ้าแก้วนวรัฐ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 29 ปี
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

เจ้าผู้ครองนครน่าน แก้

เจ้าผู้ครองนครน่าน 9 พระองค์ แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ แก้


รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน 9 พระองค์
แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2326 - พ.ศ. 2474)
ลำดับ พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระยามงคลวรยศ 2 เมษายน พ.ศ. 2326 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329 2 ปี 306 วัน
2 พระเจ้าอัตถวรปัญโญ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2331 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2353 22 ปี 88 วัน
3 พระยาสุมนเทวราช 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2353 26 มิถุนายน พ.ศ. 2368 15 ปี 134 วัน
4 พระยามหายศ 6 กันยายน พ.ศ. 2368 30 มกราคม พ.ศ. 2378 9 ปี 146 วัน
5 พระยาอชิตวงษ์ 28 มกราคม พ.ศ. 2380 11 ตุลาคม พ.ศ. 2380 8 เดือน 13 วัน
6 พระยามหาวงษ์ 23 เมษายน พ.ศ. 2381 23 ตุลาคม พ.ศ. 2394 12 ปี 183 วัน
7 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 40 ปี 24 วัน
8 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 5 เมษายน พ.ศ. 2461 25 ปี 43 วัน
9 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 11 ปี 279 วัน
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน

เจ้าผู้ครองนครลำปาง แก้

เจ้าผู้ครองนครลำปาง 9 พระองค์ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร แก้

 
ตราประจำเจ้าผู้ครองนครลำปาง

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง 9 พระองค์
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2465)
ลำดับ พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระยาคำโสม พ.ศ. 2325 พ.ศ. 2337 13 ปี
2 พระเจ้าดวงทิพย์ พ.ศ. 2337 พ.ศ. 2369 31 ปี
3 พระยาไชยวงศ์ พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2380 12 ปี
4 พระยาขัติยะ พ.ศ. 2380 พ.ศ. 2381 6 เดือน
5 พระยาน้อยอินท์ พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2391 10 ปี
6 เจ้าวรญาณรังษี 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 7 มิถุนายน พ.ศ. 2414 15 ปี
7 เจ้าพรหมาภิพงษธาดา 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2416 25 มกราคม พ.ศ. 2435 19 ปี
8 เจ้านรนันทไชยชวลิต 25 มกราคม พ.ศ. 2435 30 มีนาคม พ.ศ. 2438 3 ปี
9 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต 3 มกราคม พ.ศ. 2440 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 25 ปี
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครลำปาง

เจ้าผู้ครองนครลำพูน แก้

เจ้าผู้ครองนครลำพูน 10 พระองค์ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร แก้

 
ตราประจำเจ้าผู้ครองนครลำพูน

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำพูน 10 พระองค์
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2486)
ลำดับ พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระยาคำฟั่น พ.ศ. 2357 พ.ศ. 2358 1 ปี
2 พระเจ้าบุญมา พ.ศ. 2358 พ.ศ. 2370 12 ปี
3 พระยาน้อยอินท์ พ.ศ. 2370 พ.ศ. 2381 11 ปี
4 พระยาคำตัน พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2384 3 ปี
5 พระยาน้อยลังกา พ.ศ. 2384 พ.ศ. 2386 2 ปี
6 เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ พ.ศ. 2391 พ.ศ. 2414 23 ปี
7 เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ 12 มีนาคม พ.ศ.2418 17 กันยายน พ.ศ. 2434 16 ปี
8 เจ้าเหมพินธุไพจิตร 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 3 ปี
9 เจ้าอินทยงยศโชติ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 18 มีนาคม พ.ศ. 2454 14 ปี
10 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 32 ปี
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครลำพูน

เจ้าผู้ครองนครแพร่ แก้

เจ้าผู้ครองนครแพร่ 5 พระองค์ แห่งราชวงศ์เทพวงศ์ แก้

ตราประจำเจ้าผู้ครองนครแพร่
ตราประจำเจ้าผู้ครองนครแพร่

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ 5 พระองค์
แห่งราชวงศ์เทพวงศ์ (พ.ศ. 2331 - พ.ศ. 2445)
ลำดับ พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระยาแสนซ้าย พ.ศ. 2331 พ.ศ. 2348 17 ปี
2 พระยาเทพวงศ์ พ.ศ. 2348 พ.ศ. 2359 11 ปี
3 พระยาอินทวิไชย พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2390 31 ปี
4 พระยาพิมพิสารราชา พ.ศ. 2390 19 ตุลาคม พ.ศ.2429 39 ปี
5 เจ้าพิริยเทพวงษ์ 5 เมษายน พ.ศ. 2432 25 กันยายน พ.ศ. 2445 13 ปี
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครแพร่

นครรัฐน่าน แก้

นครรัฐน่าน หรือ อาณาจักรน่าน เป็นอาณาจักรหรือนครรัฐขนาดเล็กของชนชาติกาวน่านในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา เดิมเรียกว่า นันทสุวรรณนคร , กาวราชนคร , นันทบุรีศรีนครน่าน หรือ กาวน่าน

นครรัฐน่าน
พ.ศ. 1825–พ.ศ. 2474
สถานะนครรัฐอิสระ
เมืองหลวงเมืองย่าง หรือ เมืองล่าง
(พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 1848)
เมืองวรนคร หรือ เมืองปัว
(พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1902)
เมืองภูเพียงแช่แห้ง
(พ.ศ. 1902 - พ.ศ. 1911)
เมืองน่าน หรือ เมืองนันทบุรี
(พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2386)
เวียงเหนือ (ดงพระเนตรช้าง)
(พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2399)
เมืองนครน่าน
(พ.ศ. 2400 - พ.ศ. 2474)
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครน่าน 
พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845
พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1896
พ.ศ. 1906 - พ.ศ. 1931
พ.ศ. 1950 - พ.ศ. 1960
พ.ศ. 2017 - พ.ศ. 2022
พ.ศ. 2070 - พ.ศ. 2101
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
พ.ศ. 1825
• ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
พ.ศ. 2474
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา  
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน แก้

นครรัฐน่าน หรือ เมืองนครน่าน เป็นเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มายาวนาน ตั้งแต่สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1825 ในลุ่มบริเวณลุ่มน้ําย่างและลุ่มน้ําปัว ต่อมาพัฒนาขึ้นเป็นอาณาจักรน่านในฐานะรัฐอิสระ ต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งกลายเป็นนครรัฐในฐานะประเทศราชของอาณาจักรสยาม และสุดท้ายถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยที่เรียกว่า “จังหวัดน่าน” สืบมาถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครน่านออกเป็น 5 ยุคสมัย ได้แก่

1.) สมัยนครรัฐน่านอิสระ (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 2004)

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1825 มีคนไทยกลุ่มหนึ่งในการนำของพระยาภูคา ได้ครอบครองพื้นที่ราบตอนบนของจังหวัดน่าน ตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าอยู่บริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างใกล้เทือกเขาดอยภูคา ในเขตบ้านหาดเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เนื่องจากพบร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคาได้ขยายอาณาเขตของตนออกไป โดยส่งบุตรบุญธรรมสองคนไปสร้างเมืองใหม่ ทางตะวันออกบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (หลวงพระบาง) ให้ขุนฟองผู้น้องไปสร้างเมืองวรนคร หรือเมืองปัว อยู่ไกลจากแม่น้ำน่านประมาณ 5,000 วา

ภายหลังจากพญาขุนฟอง ปฐมกษัตริย์นครรัฐน่านแห่งราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1845) ในสิ้นพระชนม์ เจ้าเก้าเกื่อน ผู้เป็นพระราชบุตรก็ได้ครองนครรัฐน่าน และเมื่อพระยาภูคาถึงแก่พิราลัย พญาเก้าเกื่อน กษัตริย์น่าน องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 1845 - พ.ศ. 1848) ก็ได้ย้ายครองเมืองย่างแทน และให้พระชายา คือ พระนางคำปินเทวี ดูแลรักษาเมืองวรนครสืบแทน เมืองน่านในระยะแรกที่เริ่มสร้างบ้านแปงเมืองมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองวรนคร (เมืองปัว) และมีความใกล้ชิดกับเมืองหลวงพระบางในฐานะเมืองพี่เมืองน้อง

พระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ก็เข้ามายึดเมืองวรนครเป็นเมืองขึ้น การเข้ามาถือเอาซึ่งเมืองวรนครครั้งนี้เป็นการง่ายมาก มิได้มีการรบพุ่งแต่อย่างใด เพราะทางฝ่ายวรนครไม่ทันรู้ตัว เตรียมการป้องกันไม่ทัน ครั้งนั้นเจ้าเมืองวรนครเป็นผู้หญิง เป็นชายาของพระเจ้าเก้าเถื่อนเจ้าเมืองวรนครอันดับที่ ๒ ซึ่งได้ละเมืองวรนครไว้ให้แก่ชายา แล้วไปครอบครองเมืองย่างอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง การที่เสียเมืองวรนครให้แก่แคว้นพะเยาครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าเก้าเถื่อนทำการแก้มือแก่พระยางำเมืองแต่ประการใด เห็นจะไม่มีกำลังพอที่จะทำการตอบแทนนั่นเอง ในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า ในขณะที่พระยางำเมืองเข้ามาถึงวรนครนั้น นางพระยาวรนครได้หนีออกไปจากเมืองได้ไปคลอดบุตรระหว่างทางเป็นชาย ภายหลังเมื่อกุมารนั้นมีอายุ ๑๖ ปี ได้ถวายตัวอยู่ในราชสำนักพระยางำเมือง และพระยางำเมืองโปรดปรานให้นามว่า ขุนใส่ยศ และให้ไปครองเมืองปราด ส่วนเมืองวรนครนั้น พระยางำเมืองให้นางชายาผู้หนึ่งชื่อว่า อั้วลิมกับบุตรชายชื่อว่าอามป้อมมาครอง ภายหลังนางอั้วลิมเกิดผิดใจกับพระยางำเมืองด้วยเรื่องเป็นเชิงว่าพระยางำเมืองระแวงในความจงรักภักดีของนาง นางเจ็บใจจึงร่วมคิดกับขุนใส่ยศ เจ้าเมืองปราดแข็งเมืองต่อพระงำเมืองและมาตั้งอยู่ที่วรนคร แล้วขุนใส่ยศกับนางอั้วลิมก็สมสู่อยู่ด้วยกันฉันท์สามีภริยา ความทั้งนี้ทราบถึงพระยางำเมืองจึงยกกองทัพมาตีวรนคร ทางฝ่ายเมืองวรนครให้เจ้าอามป้อมเป็นทัพยกออกไปเมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายได้ปะทะทำการรบกันเพียงเล็กน้อย พระยางำเมืองก็เลิกทัพกลับไป นับว่าเกิดความสลดพระทัยในการที่บิดากับบุตรต้องมาทำสงครามกัน

ต่อจากนี้ขุนใส่ยศได้อภิเษกเป็นเจ้าเมืองวรนคร มีนามว่า “พระยาผานอง” ในปี ๑๘๖๕

พญาการเมือง ครองเมืองปัวอยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๖ - ๑๙๐๑ นับเป็นราชวงศ์ภูคาองค์ที่ห้า เมืองปัวได้ขยายตัวมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พญาการเมืองได้สร้างพระธาตุแช่แห้งบนภูเพียงแช่แห้ง ระหว่างแม่น้ำเตี๋ยนกับแม่น้ำลิง อยู่ทางด้านทิศตะวันออก (ฝั่งซ้าย) ของแม่น้ำน่าน ห่างออกไปประมาณสามกิโลเมตร และได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาทางใต้ มาสร้างเมืองใหม่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง ในปี พ.ศ.๑๙๐๒ โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลาง

พญาการเมืองพิราลัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๖ โอรสคือ พระยาผากอง ขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ต้องประสบปัญหาน้ำแล้งในฤดูแล้งทุกปี เนื่องจากเมืองตั้งอยู่ไกลแหล่งน้ำมากเกินไป จึงได้ย้ายเมืองมาสร้างใหม่ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ของแม่น้ำน่าน ตรงบริเวณบ้านห้วยไค้ คือ บริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อวันอังคาร ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง พ.ศ.๑๙๑๑

กษัตริย์น่าน แก้

พญาภูเข่ง
กษัตริย์น่าน องค์ที่ 11
แห่งราชวงศ์ภูคา ปกครองอาณาจักรน่าน
ราชวงศ์ ราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1950 - พ.ศ. 1960
ก่อนหน้า พญาหุง
ถัดไป พญาพันต้น
พระมเหสี 1.) พระนางวิมลาเทวี

2.) พระนางปทุมมาวดี

สวรรคต พ.ศ. 1960
งานสำคัญ 1.) พ.ศ. 1949 ทรงสร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ขึ้นเป็นวัดหลวงกลางเวียงนครน่าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา

2.) พ.ศ. 1955 ทรงสร้างวัดสวนตาล พร้อมกับพระชายาองค์ที่ 2 คือ พระนางปทุมมาวดี
3.) พ.ศ. 1956 ทรงสร้างวัดพญาภู

พญาศรีพันต้น
กษัตริย์น่าน องค์ที่ 12
แห่งราชวงศ์ภูคา ปกครองอาณาจักรน่าน
ราชวงศ์ ราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1960 - พ.ศ. 1968
ก่อนหน้า พญาภูเข่ง
ถัดไป พญางั่วฬารผาสุม
สวรรคต พ.ศ. 1968
งานสำคัญ พ.ศ. 1964 ทรงสร้างวัดศรีพันต้น
พญางั่วฬารผาสุม
กษัตริย์น่าน องค์ที่ 13
แห่งราชวงศ์ภูคา ปกครองอาณาจักรน่าน
ราชวงศ์ ราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์ พ.ศ. 1969 - พ.ศ. 1976
ก่อนหน้า พญาพันต้น
ถัดไป พญาอินต๊ะแก่นท้าว
สวรรคต พ.ศ. 1976
งานสำคัญ พ.ศ. 1969 ทรงสร้าง "พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี"
  • ท้าวขาก่าน เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 22 (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา) ปกครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2019 - พ.ศ. 2023
พระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
กษัตริย์ประเทศราช
รัชสมัย11 พฤษภาคม พ.ศ. 2269 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2294
ราชาภิเษก11 พฤษภาคม พ.ศ. 2269
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าฟ้าเมืองคอง
รัชกาลถัดไปพระเจ้าอริยวงษ์
พิราลัย16 มิถุนายน พ.ศ. 2294
พระมเหสีพระนางเมืองเชียงใหม่อรรคราชเทวี
พระชายาพระนางยอดราชเทวี
พระนามเต็ม
พระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน
พระนามเดิม
เจ้าพระยาติ๋น
พระบุตร7 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
 
ตราแผ่นดินเมืองนครน่าน
พระราชอิสริยยศพระเจ้านครน่าน
เจ้านครน่าน
พระยานครน่าน
ปกครองเมืองนครน่าน
และหัวเมืองขึ้นอีก 45 หัวเมือง
เชื้อชาติไทยวน , ไทลื้อ
บรรพบุรุษชาวกาวน่าน
สาขาสายราชสกุล ณ น่าน
สายที่ 1 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
สายที่ 2 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ
สายที่ 3 เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ
จำนวนพระมหากษัตริย์14 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันเจ้าสมปราถนา ณ น่าน
ประมุขพระองค์สุดท้ายเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
ช่วงระยะเวลา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2269 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474
สถาปนา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2269
สิ้นสุด17 สิงหาคม พ.ศ. 2474
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์ภูคา
เจ้าผู้ครองนคร
แห่งเมืองนครลำพูน
ราชาธิปไตยในอดีต
4
5
 
พระเจ้าลำพูนไชยบุญมา
เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

ปฐมกษัตริย์ พระยาคำฟั่น
องค์สุดท้าย เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
อิสริยยศ พระยานครลำพูนไชย
เจ้านครลำพูนไชย
สถานพำนัก คุ้มหลวงเมืองนครลำพูน
ผู้แต่งตั้ง พระมหากษัตริย์สยาม
เริ่มระบอบ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2357
สิ้นสุดระบอบ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
ผู้อ้างสิทธิ์ เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
เจ้าผู้ครองนคร
แห่งเมืองนครลำปาง
ราชาธิปไตยในอดีต
 
พระเจ้าทิพย์จักรสุลวะฤๅไชยสงคราม
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

ปฐมกษัตริย์ พระเจ้าทิพย์จักรสุลวะฤๅไชยสงคราม
องค์สุดท้าย เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
อิสริยยศ พระยานครลำปาง
เจ้านครลำปาง
สถานพำนัก คุ้มหลวงเมืองนครลำปาง
ผู้แต่งตั้ง พระมหากษัตริย์สยาม
เริ่มระบอบ พ.ศ. 2275
สิ้นสุดระบอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465
ผู้อ้างสิทธิ์ เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน

เจ้าผู้ครองนครลำพูน แก้

เจ้าผู้ครองนครลำพูน 10 พระองค์ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร แก้

 
ตราประจำเจ้าผู้ครองนครลำพูน

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำพูน 10 พระองค์
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2486)
ลำดับ พระรูป พระนาม ครองราชย์ รวมระยะเวลา
เริ่ม (พ.ศ.) สิ้นสุด (พ.ศ.)
1 พระยาคำฟั่น พ.ศ. 2357 พ.ศ. 2358 1 ปี
2 พระเจ้าบุญมา พ.ศ. 2358 พ.ศ. 2370 12 ปี
3 พระยาน้อยอินท์ พ.ศ. 2370 พ.ศ. 2381 11 ปี
4 พระยาคำตัน พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2384 3 ปี
5 พระยาน้อยลังกา พ.ศ. 2384 พ.ศ. 2386 2 ปี
6 เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ พ.ศ. 2391 พ.ศ. 2414 23 ปี
7 เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ 12 มีนาคม พ.ศ.2418 17 กันยายน พ.ศ. 2434 16 ปี
8 เจ้าเหมพินธุไพจิตร 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 3 ปี
9 เจ้าอินทยงยศโชติ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 18 มีนาคม พ.ศ. 2454 14 ปี
10 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 32 ปี
ยกเลิกตำแหน่ง เจ้าผู้ครองนครลำพูน