พญาการเมือง ทรงเป็น กษัตริย์น่าน องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ภูคา ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1905

พญาการเมือง
กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ภูคา
ครองราชย์พ.ศ. 1898 - พ.ศ. 1905
รัชกาล7 ปี
ก่อนหน้าพญาขุนไส
ถัดไปพญาผากอง
ประสูติเมืองวรนคร
พิราลัยพ.ศ. 1905
เมืองภูเพียง
พระมเหสีพระนางเทวี
พระราชบุตร1 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์ภูคา
พระบิดาพญาผานอง
พระมารดานางพญาปัว (อั้วสิม)

พระราชประวัติ แก้

พญาการเมือง[1] มีพระนามเดิมว่า เจ้าการเมือง ประสูติ ณ เมืองวรนคร ทรงเป็นพระราชโอรสองค์แรกใน พญาผานอง ประสูติแต่พระนางวรนครเทวี และทรงมีพระอนุชาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ มีรายพระนามดังนี้

  1. เจ้าการเมือง ภายหลังเป็น กษัตริย์น่าน องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ภูคา
  2. เจ้าเล่า
  3. เจ้ารื่น
  4. เจ้าบาจาย
  5. เจ้าควายตม
  6. เจ้าไส ภายหลังเป็น กษัตริย์น่าน องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ภูคา

พระกรณียกิจ แก้

ในพงศาวดารเมืองน่าน เล่าว่า ในสมัยเจ้าพระยาการเมือง ครองเมืองน่านอยู่ ก็ได้มี พระยาโสปัตตกันทิ เจ้าเมืองสุโขทัย ได้มาเชิญพระยาการเมือง ไปสร้างวัดหลวงอุทัยถึงสุโขทัย ซึ่งพระยาการเมืองก็ไปช่วย จนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความดีความชอบ ที่พระยาการเมือง ได้ช่วยพระยาโสปัตกันทิ สร้างวัดหลวงอุทัย ทำให้พระยาโสปัตกันทิ มีความชื่นชอบพระยาการเมืองเป็นอันมาก ก่อนจะกลับเมืองน่าน ก็ได้มอบพระธาตุเจ้า 7 องค์ เพื่อตอบแทนที่พระยาการเมือง ได้มาสร้างคุณงามความดีให้แก่สุโขทัย ดังวรรณพระธาตุเจ้า 7 องค์นั้น คล้ายเมล็ดพรรณผักกาด มีวรรณดังแก้ว 3 องค์ วรรณดังมุก 2 องค์ วรรณะทองเท่าเมล็ดงาดำ 2 องค์ , พร้อมพระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ พระยาการเมืองนั้น เมื่อได้ของวิเศษด้วยความชื่นชมโสมนัส แล้วก็นำกลับมาแสดงแก่มหาเถรเจ้า ที่เมืองปัว ด้วยความชื่นชมโสมนัส แล้วถามพระมหาเจรเจ้าว่า ควรเอาประจุธาตุนี้ไว้ที่ใดเมื่อพระมหาเถรเจ้าพิจารณาดูที่ควรประจุธาตุนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า “ ควรเอาไปประจุไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง ตรงที่ระหว่างกลางแม่น้ำเตี๋ยน และแม่น้ำลิง จึงจะเห็นสมควร เพราะภายภาคหน้า แผ่นดินนี้จะเป็นผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแผ่นดินที่เจริญสืบไป” .... เมื่อทราบดังนั้น พระยาการเมือง ก็ประกาศป่าวร้อง พสกนิกร และเหล่าเสนาอำมาตย์ พร้อมนิมนต์มหาเถรเจ้าลงไปด้วย มีการแห่นำเอา พระบรมธาตุเจ้ามาจากเมืองปัว มีดนตรีห้าจำพวกคือ ปี่ ฆ้อง กลองยาว ฉาบ และพิณ แห่เอาพระบรมธาตุเจ้าที่ได้ เดินทางไปตามลำน้ำน่านลงไปที่ภูเพียงแช่แห้ง การเดินทางครั้งนั้น ว่ากันว่า เป็นการเดินทางด้วยทางน้ำ เป็นขบวนแพ ซึ่งในขบวนแพเสด็จครั้งนี้ มีชายหญิงคู่หนึ่ง ชื่อ ปู่คำมา และย่าคำบี้ ทั้งคู่ต่างก็เป็นปฏิภาณกวี ได้ขับซอถ้อง ร้องโต้ตอบกัน สร้างความครึกครื้นให้กับขบวนเสด็จเป็นอันมาก ซึ่งซอครั้งนั้น เกิดจากการซอบรรยายความงดงามของทิวทัศน์ ของลำน้ำน่านขณะล่องแพ จึงกล่าวได้ว่า ปู่คำมาและย่าคำบี้ เป็นผู้ให้กำเนิดการซอเมืองน่าน ที่เรียกว่า “ ซอล่องน่าน” เมื่อมาถึง พระยาการเมืองทรงให้ช่างหล่อเต้าปูนสำริดไว้ 1 ต้น พร้อมกับเอาพระธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพคำ ใส่ลงไปในปูน แล้วปิดฝาทับ พร้อมกับพอกด้วย “ สะตายจีน” (ปูนขาวผสมยางไม้ และทรายละเอียด) ให้เกลี้ยงกลมดีและแข็งดังก้อนหิน พร้อมใช้ไพร่พลแต่งกายเป็นเทวบุตร เทวดา มเหสักข์ทั้งปวง นำพระมหาเถรเจ้าและพระยาการเมือง ไปยังหลุมพร้อมนำเอาพระธาตุเจ้าลงใส่ไปในเต้าปูนนั้น แล้วก็ได้ก่อเจดีย์ขึ้นสูงเหนือแผ่นดิน 1 วา มีการนิมนต์พระภิกษุสังฆะเจ้า กระทำการสมโภช พร้อมมีการสักการบูชา แล้วก็ยกรี้พลกลับเมืองปัว วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ดังนั้น ครั้งแรกที่มีการสร้างพระธาตุแช่แห้งนั้น ไม่ใช่เจดีย์องค์ใหญ่อย่างที่พวกเราเห็นอยู่ทุกวันนี อยู่มาได้ไม่นานนัก พระยาการเมืองก็มีใจคิดถึงพระธาตุ อยากจะปฏิบัติไหว้สาองค์พระบรมสารีริกธาตุทุกวัน จึงยกรี้พลทั้งหลายเสด็จลงมาตั้งเมืองใกล้พระธาตุ ที่บ้านห้วยไค้ภูเพียง แช่แห้ง ขุดคู กำแพงดินรอบพระธาตุจนเสร็จสิ้น ณ บริเวณพระธาตุแช่แห้ง ให้ชื่อว่า “ เมืองภูเพียงแช่แห้ง”

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

ก่อนหน้า พญากานเมือง ถัดไป
พญาขุนไส   กษัตริย์น่าน
องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ภูคา

(พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1906)
  พญาผากอง