รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน
รายพระนามกษัตริย์นครรัฐน่าน, เจ้าผู้ครองนครน่าน และ เจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 จนถึงปี พ.ศ. 2474
นครน่าน หรือ อาณาจักรน่าน สถาปนาขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1812 โดยพญาภูคา เจ้าเมืองย่าง มีดำริห์ที่จะสร้างเมืองใหม่ให้พระโอรสขึ้นปกครอง แล้วพญาภูคาได้ทรงเลือกพื้นที่ที่มีชัยภูมิที่ดีแล้วก็โปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้น เเล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1825 พญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ผู้เป็นพระบิดาจึงได้ประทานนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า “วรนคร” ซึ่งหมายถึง เมืองที่ดี นับเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของนครน่าน
นครน่าน หรือ อาณาจักรน่าน มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอๆ กับอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา ปกครองโดยกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครที่สืบสันตติวงศ์และพลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองรวมทั้งสิ้น 64 พระองค์
- นครน่าน แบ่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาออกเป็น 4 ยุคสมัย ดังนี้
- ยุคที่ 1 นครรัฐน่าน มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย
- ยุคที่ 2 เมืองน่าน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา
- ยุคที่ 3 เมืองน่าน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่า
- ยุคที่ 4 นครน่าน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรธนบุรีและอาณาจักรรัตนโกสินทร์
กษัตริย์และเจ้าผู้ครอง แห่งนครน่าน | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ตราแผ่นดินนครน่าน | |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงเป็นพระเจ้าผู้ครองนครน่านพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | • พญาภูคา ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา • พญาขุนฟอง ปฐมวงศ์กษัตริย์แห่งนครรัฐน่าน |
องค์สุดท้าย | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา |
อิสริยยศ | กษัตริย์แห่งนครรัฐน่าน พระเจ้านครเมืองน่าน เจ้านครเมืองน่าน พระยาเมืองน่าน |
สถานพำนัก | หอคำหลวง แห่งนครน่าน |
ผู้แต่งตั้ง | กษัตริย์ล้านนา (พ.ศ. 1993–2101) กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2103–2329) กษัตริย์สยาม (พ.ศ. 2317–2474) |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 1812 |
สิ้นสุดระบอบ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (662 ปี 7 เดือน 17 วัน) |
ผู้อ้างสิทธิ์ | เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน |
รายพระนามกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา (นครรัฐน่านอิสระ)
แก้ยุคที่ 1 สถาปนาเมืองวรนคร (ปัว) และเมืองน่าน (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 2004 )
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1825 มีคนไทยกลุ่มหนึ่งในการนำของพระยาภูคา ได้ครอบครองพื้นที่ราบบริเวณตอนบนของจังหวัดน่าน ตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง หรือเมืองล่าง (เชื่อกันว่าอยู่บริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างใกล้เทือกเขาดอยภูคา ในเขตบ้านเสี้ยว หมู่ที่ 6 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เนื่องจากพบร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำคันดินกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา[1]มีดำริห์ที่จะได้ขยายอาณาเขตของตนออกไปให้กว้างขวางมากขึ้น จึงได้ส่งพระราชบุตรบุญธรรมสองคนไปสร้างเมืองใหม่ เมืองแรกให้สร้างทางตะวันออกริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง แล้วให้ชื่อเมืองว่า "เมืองจันทบุรี" (หลวงพระบาง) แล้วให้เจ้าขุนนุ่นผู้เป็นพี่ไปครองเมือง เมืองที่สองโปรดให้สร้างทางตะวันตกริมฝั่งแม่น้ำน่า แล้วให้ชื่อเมืองว่า "เมืองวรนคร" (ปัว) แล้วให้เจ้าขุนฟอง ผู้เป็นน้องไปครองเมือง
รายพระนามกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา
แก้กษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา ในยุคนครรัฐน่านอิสระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 2004 รวมระยะเวลา 179 ปี และมีกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคาขึ้นปกครองทั้งสิ้น 16 พระองค์ 17 รัชกาล มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
ลำดับ | รายพระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | สิ้นสุด | รวมเวลา | ||||
สถาปนาเมืองวรนครขึ้นเป็นราชธานีแห่งแรกของนครรัฐน่าน (พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 1902) | ||||||
1 | พญาขุนฟอง | พ.ศ. 1825 | พ.ศ. 1845 | 20 ปี | ปฐมกษัตริย์น่าน | |
2 | พญาเก้าเกื่อน | พ.ศ. 1846 | พ.ศ. 1848 | 2 ปี | พระโอรส พญาขุนฟอง | |
3 | พระนางคำปินมหาเทวี | พ.ศ. 1848 | พ.ศ. 1849 | 7 เดือน | พระชายา พญาเก้าเกื่อน | |
- | พระนางวรนครเทวี | พ.ศ. 1850 | พ.ศ. 1866 | 16 ปี | รักษาเมืองวรนคร พระชายา พญางำเมือง | |
4 | พญาผานอง | พ.ศ. 1866 | พ.ศ. 1896 | 30 ปี | พระโอรส พญาเก้าเกื่อน | |
5 | พญาขุนไส | พ.ศ. 1896 | พ.ศ. 1898 | 2 ปี | พระโอรส พญาผานอง | |
6 | พญากานเมือง | พ.ศ. 1898 | พ.ศ. 1902 | 5 ปี | พระเชษฐา พญาขุนไส | |
ย้ายราชธานีจากเมืองวรนครมายังเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ. 1902) | ||||||
สถาปนาเวียงภูเพียงแช่แห้ง ขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 (พ.ศ. 1092 - พ.ศ. 1911) | ||||||
6 | พญากานเมือง | พ.ศ. 1902 | พ.ศ. 1905 | 4 ปี | พระเชษฐา พญาขุนใส | |
7 | พญาผากอง | พ.ศ. 1905 | พ.ศ. 1911 | 6 ปี | พระโอรส พญากานเมือง | |
ย้ายราชธานีจากเวียงภูเพียงแช่แห้ง มายังเมืองน่าน (พ.ศ. 1911 ) | ||||||
สถปนาเวียงน่าน หรือ นันทบุรี ขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 3 (พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2362) | ||||||
7 | พญาผากอง | พ.ศ. 1911 | พ.ศ. 1931 | 20 ปี | พระโอรส พญากานเมือง | |
8 | พญาคำตัน | พ.ศ. 1931 | พ.ศ. 1941 | 10 ปี | พระโอรส พญาผากอง | |
9 | พญาศรีจันต๊ะ | พ.ศ. 1941 | พ.ศ. 1942 | 1 ปี | พระโอรส พญาคำตัน | |
- | พระยาเถระ | พ.ศ. 1942 | พ.ศ. 1942 | 6 เดือน | พญาแพร่กบฎ | |
- | พระยาอุ่นเมือง | พ.ศ. 1942 | พ.ศ. 1943 | 1 ปี | อนุชาพญาเถระ | |
10 | พญาหุง | พ.ศ. 1943 | พ.ศ. 1950 | 7 ปี | พระอนุชา พญาศรีจันต๊ะ | |
11 | พญาคัมพูลราช | พ.ศ. 1950 | พ.ศ. 1960 | 10 ปี | พระโอรส พญาหุง | |
12 | พญาพันต้น | พ.ศ. 1960 | พ.ศ. 1968 | 8 ปี | พระโอรส พญาภูเข่ง | |
13 | พญางั่วฬารผาสุม | พ.ศ. 1969 | พ.ศ. 1976 | 7 ปี | พระโอรส พญาพันต้น | |
14 | พญาอินต๊ะแก่นท้าว (1) | พ.ศ. 1976 | พ.ศ. 1977 | 3 เดือน | พระโอรส พญางั่วฬารผาสุม | |
15 | พญาแปง | พ.ศ. 1977 | พ.ศ. 1978 | 1 ปี | พระอนุชา พญาอินต๊เแก่นท้าว | |
16 | พญาอินต๊ะแก่นท้าว (2) | พ.ศ. 1978 | พ.ศ. 1993 | 15 ปี | พระเชษฐา พญาแปง | |
เมืองน่านตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1993) | ||||||
17 | พญาผาแสง | พ.ศ. 1993 | พ.ศ. 2004 | 11 ปี | พระภาติยะ พญาอินต๊ะแก่นท้าว | |
สิ้นสุดการปกครองของกษัตริย์นครรัฐน่านแห่งราชวงศ์ภูคา (พ.ศ. 2004) |
รายพระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของล้านนา)
แก้ยุคที่ 2 นครน่าน ภายใต้การปกครองอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1993 - พ.ศ. 2101 รวมระยะเวลา 108 ปี)
เมื่อพระเจ้าติโลกราช ตีเมืองน่านได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 1993 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ พระเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว กษัตริย์น่าน พระองค์ที่ 16[2]แห่งราชวงศ์ภูคา ก็ทรงผนวกเมืองน่านเข้าเป็นประเทศราชของอาณาจักรล้านนา แล้วทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เจ้าผาแสง พระโอรสในพระเจ้าแปง กษัตริย์น่าน องค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์ภูคา และทรงเป็นพระภาติยะใน พระเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว กษัตริย์น่าน องค์ที่ 16 แห่งราชวงศ์ภูคา ขึ้นปกครองเมืองน่านสืบต่อมา
ในระยะแรกเมืองน่านยังมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรล้านนา แต่หลังจากที่ พระเจ้าผาแสง กษัตริย์น่าน องค์ที่ 17 แห่งราชวงศ์ภูคา ทรงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2004 เมืองน่านก็ถูกลดฐานะลงเป็นเพียงหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา เจ้าผู้ปกครองเมืองน่าน มีฐานะเป็นขุนนาง (หมื่น,ท้าว,พระยา) ที่ขึ้นตรงกับกษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่จะเป็นผู้คัดเลือกขุนนางให้มาปกครองดูแลเมืองน่านทั้งสิ้น พระเจ้าอินต๊ะแก่นท้าว จึงทรงเป็นกษัตริย์น่าน พระองค์ที่ 16 และเป็นพระองค์สุดท้ายที่สืบเชื้อสายกษัตริย์มาจากราชวงศ์ภูคา นับตั้งแต่พระเจ้าขุนคำฟอง ทรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์สมบัติเป็นปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา ในปี พ.ศ. 1825
ขุนนางที่พระเจ้าติโลกราช แต่งตั้งให้มาครองเมืองน่าน ก็จะครองอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 3 - 5 ปี ต่อมาก็ได้อยู่นานขึ้น แต่ไม่เกิน 10 ปี สภาพของเมืองน่านคงเป็นปกติสุขเช่นเดิม
รายพระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของล้านนา)
แก้เมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1993 - พ.ศ. 2101 รวมระยะเวลา 108 ปี มีเจ้าผู้ครองเมืองน่าน ในยุคนี้ 16 องค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ลำดับ | รายพระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | สิ้นสุด | รวมเวลา | |||
18 | หมื่นสร้อยเชียงของ | พ.ศ. 2005 | พ.ศ. 2009 | 4 ปี | ย้ายไปครองเมืองฝาง |
19 | หมื่นน้อยใน | พ.ศ. 2009 | พ.ศ. 2011 | 2 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
20 | หมื่นขวาเถ้าบาจาย | พ.ศ. 2012 | พ.ศ. 2016 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
21 | หมื่นคำ | พ.ศ. 2016 | พ.ศ. 2018 | 2 ปี | ย้ายไปครองเมืองฝาง |
22 | ท้าวขาก่าน | พ.ศ. 2019 | พ.ศ. 2023 | 4 ปี | ย้ายไปครองเมืองเชียงราย |
23 | ท้าวอ้ายยวม | พ.ศ. 2024 | พ.ศ. 2028 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
24 | ท้าวเมืองตน | พ.ศ. 2028 | พ.ศ. 2032 | 4 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
25 | หมื่นโมงเชียงเรื่อ | พ.ศ. 2032 | พ.ศ. 2032 | 6 เดือน | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
26 | ท้าวบุญแฝง (1) | พ.ศ. 2032 | พ.ศ. 2039 | 7 ปี | ย้ายไปครองเมืองเชียงราย |
27 | หมื่นตีนเชียง | พ.ศ. 2039 | พ.ศ. 2040 | 1 ปี | ย้ายไปครองเมืองเชียงราย |
28 | ท้าวบุญแฝง (2) | พ.ศ. 2040 | พ.ศ. 2050 | 10 ปี | พิราลัย ณ เมืองน่าน |
29 | หมื่นสามล้าน | พ.ศ. 2050 | พ.ศ. 2052 | 2 ปี | ย้ายไปครองเมืองฝาง |
30 | เจ้าเมืองแพร่สร้อย | พ.ศ. 2053 | พ.ศ. 2056 | 3 ปี | ย้ายไปครองเมืองนครลำปาง |
31 | ท้าวบุญฝาง | พ.ศ. 2056 | พ.ศ. 2058 | 2 ปี | ย้ายไปครองเมืองเทิง |
32 | เจ้าเมืองฝาง | พ.ศ. 2058 | พ.ศ. 2059 | 10 เดือน | ย้ายไปครองเมืองพะเยา |
33 | พระยาคำยอดฟ้า (1) | พ.ศ. 2059 | พ.ศ. 2060 | 3 เดือน | ย้ายไปครองเมืองพะเยา |
34 | พระยาหน่อเชียงแสน | พ.ศ. 2060 | พ.ศ. 2062 | 2 ปี | ย้ายไปครองเมืองพะเยา |
35 | พระยาคำยอดฟ้า (2) | พ.ศ. 2062 | พ.ศ. 2069 | 7 ปี | ย้ายไปครองเมืองเชียงใหม่ |
36 | เจ้าแสนสงคราม | พ.ศ. 2069 | พ.ศ. 2069 | 1 เดือน | ย้ายไปครองเมืองนครลำปาง |
37 | พระยาคำยอดฟ้า (3) | พ.ศ. 2069 | พ.ศ. 2070 | 1 ปี | พิราลัย ณ เมืองเชียงใหม่ |
38 | พระยาพลเทพฦๅไชย | พ.ศ. 2070 | พ.ศ. 2101 | 31 ปี | หนีไปเมืองล้านช้าง |
รายพระนามเจ้าผู้ครองเมืองน่าน (ภายใต้การปกครองของพม่า)
แก้ยุคที่ 3 นครน่าน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์อังวะ (พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2329 รวมระยะเวลา 226 ปี )
ในปี พ.ศ. 2096 - พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และได้เมืองเชียงใหม่เป็นประเทศราชของพม่า ต่อมากองทัพพม่าได้ยกมาตีเมืองน่าน เมืองน่านในขณะนั้นปกครองโดย พระยาพลเทพฦาไชย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 นำกองทัพเมืองน่านออกต่อสู้กับกองทัพพม่าอย่างสุดกำลัง และไม่สามารถต้านทานกองทัพพม่าได้ จึงได้พาครอบครัว และชาวเมืองน่านบางส่วนหลบหนีไปพึ่งเจ้าเมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. 2101 จึงถือเป็นการสิ้นสุดอำนาจของอาณาจักรล้านนา ในแผ่นดินเมืองน่าน
ต่อมา พระเจ้าบุเรงนอง จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระยาหน่อคำเสถียรไชยราชสงคราม มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน แทนในปี พ.ศ. 2103 และได้ใช้เมืองน่านเป็นฐานกำลังในการยกกองทัพพม่าไปปราบปรามอาณาจักรล้านช้างต่อไป
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของพม่า)
แก้ยุคนครน่าน (ภายใต้การปกครองของพม่า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2329 รวมระยะเวลา 226 ปี มีเจ้าผู้ครองนครน่าน ในยุคนี้ทั้งหมด 15 องค์ มีรายพระนาม ตามลำดับดังนี้
ลำดับ | รายพระนาม | ครองราชย์ | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | สิ้นสุด | รวมเวลา | |||
39 | พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม | พ.ศ. 2103 | พ.ศ. 2134 | 31 ปี | |
40 | พระเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ | พ.ศ. 2134 | พ.ศ. 2140 | 6 ปี | ครั้งที่ 1 |
- | พระยาแขก (รักษาเมืองน่าน) | พ.ศ. 2141 | พ.ศ. 2143 | 2 ปี | |
41 | พระเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ | พ.ศ. 2144 | พ.ศ. 2146 | 2 ปี | ครั้งที่ 2 |
42 | พระเจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม | พ.ศ. 2146 | พ.ศ. 2158 | 12 ปี | |
43 | พระเจ้าอุ่นเมือง | พ.ศ. 2158 | พ.ศ. 2168 | 10 ปี | |
44 | พระยาหลวงเมืองนคร | พ.ศ. 2169 | พ.ศ. 2182 | 13 ปี | |
45 | พระยาเชียงราย | พ.ศ. 2182 | พ.ศ. 2191 | 9 ปี | |
46 | พระยาแหลมมุม | พ.ศ. 2192 | พ.ศ. 2205 | 13 ปี | |
47 | พระยายอดใจ | พ.ศ. 2207 | พ.ศ. 2230 | 23 ปี | |
48 | พระยาเมืองราชา | พ.ศ. 2232 | พ.ศ. 2246 | 14 ปี | |
- | พระนาซ้าย (น้อยอินทร์) | พ.ศ. 2246 | พ.ศ. 2251 | 5 ปี | ครั้งที่ 1 |
49 | เจ้าฟ้าเมืองคอง | พ.ศ. 2251 | พ.ศ. 2257 | 6 ปี | |
50 | เจ้าฟ้าเมียวซา | พ.ศ. 2257 | พ.ศ. 2259 | 2 ปี | |
- | พระนาขวา (น้อยอินทร์) | พ.ศ. 2259 | พ.ศ. 2269 | 10 ปี | ครั้งที่ 2 |
สถาปนาราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ขึ้นปกครองเมืองนครน่าน ในปี พ.ศ 2269 | |||||
51 | พญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ ปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ |
พ.ศ. 2269 | พ.ศ. 2294 | 25 ปี | สถาปนา ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ |
52 | พระเจ้าอริยวงษ์ | พ.ศ. 2297 | พ.ศ. 2311 | 14 ปี | |
53 | พระเจ้านายอ้าย | พ.ศ. 2311 | พ.ศ. 2312 | 7 เดือน | |
54 | พระเจ้ามโนราชา | พ.ศ. 2312 | พ.ศ. 2317 | 5 ปี | |
- | เจ้ามโน | พ.ศ. 2325 | พ.ศ. 2327 | 2 ปี | อ้างสิทธิ์ใน นครน่านที่เมืองเทิง |
- | เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ | พ.ศ. 2327 | พ.ศ. 2329 | 2 ปี | อ้างสิทธิ์ใน นครน่านที่เมืองเทิง |
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์)
แก้ยุคที่ 4 นครน่าน ภายใต้การปกครองของอาณาจักรธนบุรีและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2474 รวมระยะเวลา 145 ปี )
ในปี พ.ศ. 2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา เจ้าจันทปโชติ ผู้เป็นพระโอรสใน พระเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองเมืองน่าน" และได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระยามงคลวรยศประเทศราช และโปรดเกล้าฯ ให้กลับขึ้นมาครองเมืองน่านตามเดิม แต่เมืองน่านในขณะนั้นยังรกร้างว่างเปล่าเพราะถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน เจ้ามงคลวรยศ จึงได้ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองท่าปลา (อาณาเขตเมืองนครน่านในอดีต)
ในปี พ.ศ. 2327 พระเจ้าปดุง พระมหากษัตริย์พม่า รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์โก้นบอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานน้า)ใน พระเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองเมืองน่าน" และได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระยาอัตถวรปัญโญ โดยตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเทิง (อาณาเขตเมืองนครน่านในอดีต)
ในส่วนของ เจ้าสมณะ ผู้เป็นพระอนุชาต่างพระมารดากับ พระเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ได้ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองสา (อำเภอเวียงสา ในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2329 พระเจ้ามงคลวรยศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 56 ได้สละราชย์สมบัติ และยกเมืองน่านให้ พระยาอัตถวรปัญโญ ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานน้า) ขึ้นปกครองสืบต่อไป
ในปี พ.ศ. 2331 พระยาอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ได้นำแสนท้าวขุนนางเมืองน่าน เสด็จลงไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็นข้าขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในการนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยาอัตถวรปัญโญ ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองนครน่าน" ต่อไปตามเดิม และในครั้งนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เจ้าสมณะ ผู้เป็นพระมาตุลา (น้าชาย)ใน พระยาอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ขึ้นเป็น "พระยาอุปราช เมืองน่าน" หรือที่ราชสำนักนครน่านเรียกว่า พระยามหาอุปราชา เจ้าหอหน้า
ในปี พ.ศ. 2344 เมืองน่าน[3] ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดย สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ให้กับขึ้นมาเป็นบ้านเมืองได้ดังเดิม เป็นที่เรียบร้อย และให้นามเมืองน่าน (ใหม่) แห่งนี้ว่า เมืองสิริไชยนันทเทพบุรีสะหรีสรีสวัติพระนครเมืองน่านราชธานี เมืองนครน่าน จึงมีสถานะเป็นเมืองประเทศราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2344 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2347 พระยาอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน มีความชอบในราชการ และทรงมีพระปรีชาสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศ พระยาอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าเมืองน่าน" และได้รับการเฉลิมพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ สมเด็จเจ้าฟ้าหลวงเมืองน่าน" และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน (ภายใต้การปกครองของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์)
แก้นครน่าน (ภายใต้การปกครองของกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์) พ.ศ. 2317 - พ.ศ. 2474 รวมระยะเวลา 157 ปี มีเจ้าผู้ครองนครทั้งสิ้น 10 พระองค์ แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ [4]
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครน่าน 10 พระองค์ แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
ลำดับ | พระรูป | รายพระนาม | ครองราชย์ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่มรัชกาล | สิ้นสุดรัชกาล | รวมเวลา (ปี) | |||
55 (5) |
เจ้าวิธูร |
25 มีนาคม พ.ศ. 2317 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2321 | 4 ปี | |
- | เจ้ามโน |
พ.ศ. 2321 | พ.ศ. 2323 | 2 ปี | |
56 (6) |
พระยามงคลวรยศ |
2 เมษายน พ.ศ. 2326 | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329 | 3 ปี | |
57 (7) |
เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ |
19 สิงหาคม พ.ศ. 2331 | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2353 | 23 ปี | |
58 (8) |
พระยาสุมนเทวราช |
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2368 | 14 ปี | |
59 (9) |
พระยามหายศ |
6 กันยายน พ.ศ. 2368 | 30 มกราคม พ.ศ. 2378 | 10 ปี | |
60 (10) |
พระยาอชิตวงษ์ |
28 มกราคม พ.ศ. 2380 | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2380 | 8 เดือน | |
61 (11) |
พระยามหาวงษ์ |
23 เมษายน พ.ศ. 2381 | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2394 | 13 ปี | |
62 (12) |
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช (เจ้าอนันตยศ) |
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 | 40 ปี | |
63 (13) |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (เจ้าสุริยะ) |
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 | 5 เมษายน พ.ศ. 2461 | 25 ปี | |
64 (14) |
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้ามหาพรหม) |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 | 12 ปี |
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงลำดับรัชกาลที่นับตั้งแต่ พญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 ผู้สถาปนาราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ขึ้นปกครองเมืองนครน่าน ในปี พ.ศ 2269