รายพระนามพระมหากษัตริย์ล้านนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
รายพระนามพระมหากษัตริย์ล้านนา (พ.ศ. 1839 – 2317) ตั้งแต่พญามังรายสถาปนาราชวงศ์มังราย อาณาจักรล้านนา กระทั่งนครเชียงใหม่พ้นจากการประเทศราชของพม่าและตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรี
กษัตริย์และเจ้าผู้ครอง แห่งล้านนา | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
ตราแผ่นดินล้านนา | |
พระเจ้าติโลกราช ครองราชย์ยาวนานที่สุด | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พญามังราย |
องค์สุดท้าย | โป่มะยุง่วน |
สถานพำนัก | เวียงแก้ว |
ผู้แต่งตั้ง | กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2101–2139 / 2158–2171 / 2174–2270 / 2306–2317) กษัตริย์อยุธยา (พ.ศ. 2139–2158) |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 1839 |
สิ้นสุดระบอบ | พ.ศ. 2317 |
ราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1839 –2101)
แก้พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
พญามังราย | พ.ศ. 1839 - 1854 | 15 ปี | พระราชโอรสในพญาลาวเมง กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง | |
พญาไชยสงคราม | พ.ศ. 1854 - 1868 | 14 ปี | พระราชโอรสในพญามังราย | |
พญาแสนพู | พ.ศ. 1868 - 1877 | 9 ปี | พระราชโอรสในพญาไชยสงคราม | |
พญาคำฟู | พ.ศ. 1877 - 1879 | 2 ปี | พระราชโอรสในพญาแสนพู | |
พญาผายู | พ.ศ. 1879 - 1898 | 19 ปี | พระราชโอรสในพญาคำฟู | |
พญากือนา | พ.ศ. 1898 - 1928 | 30 ปี | พระราชโอรสในพญาผายู | |
พญาแสนเมืองมา | พ.ศ. 1929 - 1945 | 16 ปี | พระราชโอรสพญากือนา | |
พญาสามฝั่งแกน | พ.ศ. 1945 - 1984 | 30 ปี | พระราชโอรสในพญาแสนเมืองมา | |
พระเจ้าติโลกราช | พ.ศ. 1984 - 2030 | 46 ปี | พระราชโอรสในพญาสามฝั่งแกน | |
พญายอดเชียงราย | พ.ศ. 2030 - 2038 | 8 ปี | พระโอรสในท้าวบุญเรือง และเป็นพระนัดดาพระเจ้าติโลกราช | |
พญาแก้ว | พ.ศ. 2038 - 2068 | 30 ปี | พระราชโอรสในพญายอดเชียงราย | |
พระเมืองเกษเกล้า | พ.ศ. 2068 - 2081 | 13 ปี | พระราชโอรสในพญาแก้วกับพระนางสิริยศวดีเทวี | |
ท้าวซายคำ | พ.ศ. 2081 - 2086 | 5 ปี | พระราชโอรสในพระเมืองเกษเกล้ากับพระนางจิรประภาเทวี | |
พระเมืองเกษเกล้า | พ.ศ. 2086 - 2088 | 2 ปี | พระราชโอรสในพระเมืองเกษเกล้ากับพระนางจิรประภามหาเทวี | |
พระนางจิรประภาเทวี | พ.ศ. 2088 - 2089 | 1 ปี | พระมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า | |
สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช | พ.ศ. 2089 - 2090 | 1 ปี | พระราชโอรสในพระยาโพธิสาลราชกับพระนางยอดคำทิพย์ | |
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี) | ||||
พระเมกุฏิสุทธิวงศ์(เจ้าขนานแม่กุ) | พ.ศ. 2094 - 2101 | 7 ปี | เจ้าฟ้าเมืองนาย เชื้อสายของขุนเครือ พระราชโอรสพญามังราย |
- พระนางจิรประภาเทวี รัชกาลที่ 15 มีข้อสันนิฐานว่าพระนางอาจมีเชื้อสายไทใหญ่ หรือเชื้อพระวงศ์อยุธยา
- สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช รัชกาลที่ 16 มาจากราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง
เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2101 – 2139)
แก้พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพจะมาตีเชียงใหม่ พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ทรงยอมสวามิภักดิ์ โดยยึดใช้ระยะเวลาเพียง 3 วันในการยึดเมืองเชียงใหม่แต่พระเจ้าบุเรงนองก็ทรงให้พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ให้ครองเชียงใหม่ต่อไปจนสิ้นสุดพระนางวิสุทธิเทวี พระเจ้าบุเรงนองจึงส่งพระราชโอรสนรธาเมงสอมาครองเชียงใหม่ทำให้ราชวงศ์มังรายสิ้นสุดลง
ราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 2101-2121)
แก้พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
พระเมกุฏิสุทธิวงศ์(เจ้าขนานแม่กุ) | พ.ศ. 2101 - 2107 | 6 ปี | ทรงสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าบุเรงนอง | |
สมเด็จเจ้าราชวิศุทธ(พระนางวิสุทธิเทวี) | พ.ศ. 2107 - 2121 | 14 ปี | พระราชมารดาในพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ |
ราชวงศ์ตองอู (พ.ศ. 2121-2139)
แก้พระเจ้าบุเรงนองส่งพระราชโอรสชื่อนรธาเมงสอมาครองเชียงใหม่ เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ตองอูเชียงใหม่
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
สาวัตถีนรถามังคะยอ(นรธาเมงสอ) | พ.ศ. 2121 - 2139- | 18 ปี | พระโอรสในพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี |
เชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของอยุธยา (พ.ศ. 2139 – 2158)
แก้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ยกทัพมาตีแคว้นล้านนาเมื่อ พ.ศ. 2127 นรธาเมงสอต่อสู้มิได้ จึงทรงยอมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชในปี พ.ศ. 2139[1]
ราชวงศ์ตองอู (พ.ศ. 2139-2158)
แก้พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
สาวัตถีนรถามังคะยอ(นรธาเมงสอ) | พ.ศ. 2139 - 2150 | 11 ปี | พระโอรสในพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี | |
พระช้อย(สะโทกะยอ)
(ครั้งที่ 1) |
พ.ศ. 2150 - 2151 | 1 ปี | พระโอรสในนรธาเมงสอ | |
พระชัยทิพ(มองกอยต่อ) | พ.ศ. 2151 - 2156 | 5 ปี | พระโอรสในนรธาเมงสอ, พระเชษฐาในพระช้อย | |
พระช้อย(สะโทกะยอ)
(ครั้งที่ 2) |
พ.ศ. 2156 - 2158 | 2 ปี | พระโอรสในนรธาเมงสอ, พระอนุชาในพระชัยทิพ |
เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2158 – 2171)
แก้พระเจ้าอะเน่าก์แพตหลุ่นแห่งกรุงหงสาวดีจึงยกทัพมายึดเมืองเชียงใหม่ พระช้อยทรงถูกจับและพิราลัย เมืองเชียงใหม่จึงกลับมาเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้ง แล้วตั้งเจ้าพลศึกซ้ายไชยสงครามซึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองน่านมารับตำแหน่งเป็นพระเจ้าเชียงใหม่
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม | พ.ศ. 2158 - 2171 | 13 ปี | พระโอรสบุญธรรมในนรธาเมงสอ |
แคว้นเชียงใหม่อิสระชั่วคราว (พ.ศ. 2171 - 2174)
แก้พ.ศ. 2171 พระเจ้าอะเน่าก์แพตหลุ่นถูกลอบปลงพระชนม์และเกิดสงครามแย่งชิงบัลลังก์ขึ้น เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงครามทรงคิดนำล้านนากลับมามีเอกราชอีกครั้งโดยประกาศเอกราชจากพม่า
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
พระเจ้าศรีสองเมือง(เจ้าพลศึกซ้ายไชยสงคราม) | พ.ศ. 2171 - 2174 | 3 ปี | พระโอรสบุญธรรมในนรธาเมงสอ |
เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2174 – 2270)
แก้พระเจ้าตาลูนขึ้นครองบัลลังก์อาณาจักรพม่าในปีถัดมาพม่าบุกตีนครเชียงใหม่อีก พระเจ้าศรีสองเมืองถูกจับกุมไปไว้ที่กรุงหงสาวดี แล้วตั้งเจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรขึ้นครองเชียงใหม่
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร | พ.ศ. 2174 - 2198 | 24 ปี | ทรงเคยเป็นเจ้าเมืองฝางมาก่อน | |
เจ้าฟ้าแสนเมือง | พ.ศ. 2198 - 2202 | 4 ปี | พระโอรสในเจ้าฟ้าหลวงทิพเนตร | |
เจ้าเมืองแพร่(ไม่ปรากฏพระนาม) | พ.ศ. 2202 - 2215 | 13 ปี | ทรงเคยเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่มาก่อน | |
อุปราชอึ้งแซะ | พ.ศ. 2215 - 2218 | 3 ปี | พระราชโอรสในพระเจ้าอังวะ | |
เจพูตราย | พ.ศ. 2218 - 2250 | 32 ปี | พระโอรสเจ้าเจกุตรา | |
มังแรนร่า | พ.ศ. 2250 - 2270 | 20 ปี |
แคว้นเชียงใหม่ในฐานะหัวเมืองอิสระ (พ.ศ. 2270 – 2306)
แก้เทพสิงห์รวบรวมสมัครพรรคพวก ยกเข้าไปปล้นเมืองเชียงใหม่ในเวลากลางคืน และจับฆ่ามังแรนร่าเจ้าเมืองเชียงใหม่แล้วปราบดาภิเษกครองเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2270
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
เทพสิงห์ | พ.ศ. 2270 - 2270 | 1 เดือน | สามัญชนปราบดาภิเษก | |
องค์คำ(พระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา) | พ.ศ. 2270 - 2302 | 32 ปี | พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง | |
องค์จันทร์ | พ.ศ. 2302 - 2304 | 2 ปี | เป็นพระโอรสในองค์คำ ได้ครองเชียงใหม่หลังจากที่พระบิดาสิ้นพระชนม์และทรงประกาศไม่ขึ้นกับหลวงพระบาง | |
เจ้าขี้หุด | พ.ศ. 2304 - 2306 | 2 ปี | เป็นพระภิกษุวัดดวงดี ลาสิกขาบทออกมาเป็นเจ้าเมืองแทนเจ้าปัด หลังจากเจ้าปัดยึดอำนาจองค์จันทร์แต่ไม่สามารถปกครองได้ |
เจ้าเมืองเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2306 – 2317)
แก้ในปีพ.ศ. 2306 กองทัพพม่ายกมา 9 ทัพมีโป่อภัยคามินีเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองเชียงใหม่ ลำพูน พม่ากวาดต้อนเครือญาติวงศ์เจ้าองค์คำ และชาวเมืองเชียงใหม่ส่งไปเมืองอังวะเป็นอันมาก และโป่อภัยคามินีก็ยกเข้าตั้งรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้
พระบรมรูป | รายพระนาม | ช่วงเวลาครองราชย์ | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
โป่อภัยคามินี(อะพะยะคามณี) | พ.ศ. 2306 - 2311 | 5 ปี | ||
โป่มะยุง่วน(สะโตมังถาง) | พ.ศ. 2311 2317 | 5 ปี |
อ้างอิง
แก้- ↑ สิงฆะ วรรณสัย, ปริวรรต,โคลงเรื่อง มังทรารบเชียงใหม่, หน้า 14