พญาไชยสงคราม
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พญาไชยสงคราม (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่สองแห่งอาณาจักรล้านนา[1] ทรงครองราชย์ใน พ.ศ. 1854 - 1868 พญาไชยสงครามเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพญามังราย มีพระนามเดิมว่า เจ้าขุนคราม เสวยราชย์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อจากพระราชบิดา ในปี พ.ศ. 1860 ขณะขึ้นเสวยราชย์พระองค์มีพระชนมายุได้ 55 พรรษา พญาไชยสงครามนับเป็นปิยราชโอรส เพราะทรงเป็นเสมือนพระพาหาเบื้องขวาของพญามังรายพระราชบิดา ในการสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 พระองค์ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ หลังจากที่ทรงมีชัยชนะต่อพญาเบิก เจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย ในการยุทธครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 1839 แล้วพระราชบิดาก็สถาปนาให้เป็นมหาอุปราช และโปรดพระราชทานเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จรางวัลอีกด้วย
พญาไชยสงคราม | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งล้านนา พระองค์ที่ 2 | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1854–1868 (14 ปี) |
ก่อนหน้า | พญามังราย |
ถัดไป | พญาแสนพู |
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | มังราย |
พระราชบิดา | พญามังราย |
พระเจ้าไชยสงครามมีพระมเหสีหลายองค์ และมีพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ เจ้าท้าวแสนพู เจ้าท้าวน้ำท่วม เจ้าท้าวงั่ว พระราชโอรสทั้งสามนี้เมื่อทรงจำเริญวัยขึ้นแล้ว พระราชบิดาได้ส่งเข้ามาเล่าเรียนศึกษาศิลปะวิทยาการและราชประเพณีในราชสำนักของพญามังรายผู้เป็นพระราชอัยกา ซึ่งพญามังรายก็ได้มีพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชนัดดาทั้งสามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพญาไชยสงครามได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ก็ทรงจัดการบ้านเมืองในเมืองเชียงใหม่ได้ 4 เดือน พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ จึงได้สถาปนาให้เจ้าท้าวแสนภูพระราชโอรสพระองค์โตขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงใหม่ได้ลดฐานะเป็นเพียงเมืองลูกหลวง พญาไชยสงครามองค์พระประมุขทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเชียงราย และทรงแต่งตั้งให้เจ้าท้าวน้ำท่วมพระราชโอรสพระองค์กลางไปครองเมืองฝาง ให้พระราชโอรสพระองค์เล็กคือเจ้าท้าวงั่วไปครองเมืองเชียงของแล้วครองราชย์ถึงปี พ.ศ. 1868
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแแสดงผู้รับบท พญาไชยสงคราม ได้แก่
- สวิช เพ็ชรวิเศษสิริ ในงานโครงการประชาสัมพันธ์ "เปิดประตูสู่เวียงกุมกาม นครโบราณใต้พิภพ" (2546)
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของพญาไชยสงคราม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ก่อนหน้า | พญาไชยสงคราม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พญามังราย | พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1854 - 1868) |
พญาแสนภู |