เจ้าฟ้า
เจ้าฟ้า เป็นพระยศเจ้านายในกลุ่มชาติพันธุ์ไท ได้แก่ ชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน และชาวไทถิ่นอื่นในมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นยศของเจ้าผู้ครองแคว้น[1] ต่อมายศเจ้าฟ้าเริ่มถูกใช้งานในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และถูกใช้เป็นสร้อยพระนามกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาใช้เป็นสกุลยศอย่างหนึ่งของเชื้อพระวงศ์
ในชาติพันธุ์เยอรมันก็มียศเจ้าฟ้า (Fürst) ในทำนองเดียวกับเจ้าฟ้าของไทใหญ่ ซึ่งเป็นคนละยศกับเจ้าชาย (Prinz)
ไทใหญ่
แก้ตามพงศาวดารท้องถิ่น บางราชวงศ์ที่มีเจ้าฟ้ามีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล แต่นักประวัติศาสตร์ทั่วไปมีความเห็นตรงกันว่าส่วนแรก ๆ ของพงศาวดารเหล่านี้เป็นเพียงตำนาน[2]
ในช่วงที่พม่าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร มีเจ้าฟ้าชาวไทใหญ่ 14 ถึง 16 พระองค์ในขณะนั้น แต่ละพระองค์ทรงมีอำนาจปกครองแว่นแคว้นของตนเองอย่างสูง จนถึงปี พ.ศ. 2465 มีการก่อตั้งสหพันธรัฐชาน อำนาจของเจ้าฟ้าจึงถูกลดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าฟ้าทั้งหมดยังทรงรักษาฐานะในนามไว้ได้เช่นเดียวกับราชสำนักและยังทรงมีบทบาทในการปกครองส่วนท้องถิ่น จนกระทั่งร่วมกันสละบรรดาศักดิ์เพื่อเข้าร่วมสหภาพพม่าในปี พ.ศ. 2502[1]
สยาม
แก้ในสยามเริ่มมีพระยศเจ้าฟ้าใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2106 เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชผู้ครองเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี จึงทรงตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าฟ้าสองแคว ทำนองเดียวกับเจ้าฟ้าไทใหญ่ที่เป็นประเทศราชของหงสาวดีในขณะนั้น เมื่อถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถทรงออกพระนามสมเด็จพระเชษฐาธิราชว่าสมเด็จบรมบาทบงกชลักษณอัครบุริโสดม บรมหน่อนรา เจ้าฟ้านเรศ เชษฐาธิบดี แต่เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถสืบราชสมบัติ ทรงเลิกใช้คำว่าเจ้าฟ้าในคำสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน แต่เฉลิมพระนามพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเป็นเจ้าฟ้าสุทัศน์และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค นับแต่นั้นมา เจ้าฟ้าจึงกลายเป็นสกุลยศของลูกหลวงที่พระมารดาเป็นเจ้า ต่อมาจึงขยายไปถึงหลานหลวงที่พระบิดาและพระมารดาทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าฟ้า หลานหลวงนั้นให้เป็นเจ้าฟ้าด้วย[3]
- เจ้าฟ้าของไทยที่ยังทรงพระชนม์อยู่ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามพระชันษา)
- อดีตเจ้าฟ้าของไทยที่ยังทรงพระชนม์อยู่ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามพระชันษา)
พระนาม | ประสูติ | พระบิดา | พระมารดา | สิ้นสุด | สาเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) |
5 เมษายน พ.ศ. 2494 | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | ลาออกจากฐานันดรศักดิ์[7] |
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) |
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | สืบราชสันตติวงศ์[8] |
ไทลื้อ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Donald M. Seekins (2006). Historical Dictionary of Burma (Myanmar). Scarecrow Press. entry Sawbwa, p. 391.
- ↑ "Pinkaew Leungaramsri. - Women, Nation, and the Ambivalence of Subversive Identification along the Thai-Burmese Border - Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia 21:1". muse.jhu.edu. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
- ↑ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 207. ISBN 978-974-417-594-6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาและเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี, เล่ม 136, ตอนที่ 15 ข, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาและเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เก็บถาวร 2019-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 15 ข, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาและเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เก็บถาวร 2019-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอนที่ 15 ข, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์, เล่ม 89, ตอนที่ 112, 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง อัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์, เล่ม 133, ตอนที่ 102 ก, 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559, หน้า 1