สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4[1] มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ครองราชย์ระยะสั้นเมื่อ พ.ศ. 2153 เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์เป็นพระราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระเอกาทศรถ มีพระเชษฐาคือเจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชเมื่อ พ.ศ. 2150 แต่เสด็จสวรรคตก่อนพระราชบิดาเนื่องจากทรงเสวยยาพิษ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ในฐานะพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ได้รับการคาดหวังว่าพระองค์จะได้รับสถาปนาให้เป็นพระมหาอุปราช แต่สมเด็จพระเอกาทศรถมิได้ทรงตั้งพระองค์เป็นพระมหาอุปราชจนกระทั่งสวรรคตเมื่อประมาณ พ.ศ. 2153[2]: 203
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ | |
---|---|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2153(1ปี)[1] |
ราชาภิเษก | พ.ศ. 2153 พระราชวัง |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเอกาทศรถ |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2128 |
สวรรคต | พ.ศ. 2153(26 พรรษา) |
ราชวงศ์ | สุโขทัย |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเอกาทศรถ |
พระราชมารดา | พระอัครมเหสีไม่ปรากฏพระนาม |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 2128 ท่านเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเอกาทศรถ และมีพระเชษฐาที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ได้แก่ เจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช พระองค์ประชวรพระยอดจนเสียพระเนตรไปข้างหนึ่ง[3] และมีพระบุคลิกค่อนข้างอ่อนแอและไม่สนพระทัยเกี่ยวกับราชการบ้านเมือง หลังจากที่สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตลง พระองค์ได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2153 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยเรือของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวังหลวง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวสมเด็จพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำ[1]
เมื่อครองราชย์อยู่ได้ 1 ปี 2 เดือน พระศรีศิลป์และจมื่นศรีเสารักษ์ก็ร่วมกันนำกองกำลังเข้ายึดพระราชวังหลวง เมื่อทรงทราบก็ตกพระทัยอยู่ครู่หนึ่ง จึงตรัสว่า "เวราเราแล้วก็ตามเถิด แต่อย่าให้ลำบากเลย"[4] พระองค์ถูกพันธนาการอย่างแน่นหนา จนรุ่งเช้าจึงให้พระภิกษุ 100 รูปมาบังสุกุล ถวายธูปเทียนขมา แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ตรงกับปี พ.ศ. 2154 สิริพระชนมายุ 26 พรรษา[1] พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ราชวงศ์สุโขทัย) (พ.ศ. 2153) |
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153-2171) |