พญาคำฟู (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนา[1]

พญาคำฟู
พระมหากษัตริย์ล้านนา
พญาในเมืองเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 1871/72—1881
ก่อนหน้าพญาแสนพู
ถัดไปพญาผายู
พญาในเมืองเชียงแสน
ครองราชย์พ.ศ. 1881—1888
ก่อนหน้าพญาแสนพู
พระราชสมภพพ.ศ. 1821
สวรรคตพ.ศ. 1881 (47 พรรษา)
พระราชบุตรพญาผายู
ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาพญาแสนพู

พระราชประวัติ

แก้

พญาคำฟู มีพระอิสริยยศเดิมว่า ท้าวคำฟู เป็นพระราชโอรสในพญาแสนพู ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวไว้ว่า "เจ้าพระญาแสนภูก็แต่งลูกตน เจ้าพ่อท้าวคำฟู อยู่รักษาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็ไปส่งสะกานเจ้าพระญาไชยสงครามพ่อในเมืองเชียงราย ได้ 1 เดือนบัวระมวลชุอัน ท้าวก็ลวดอยู่เสวยเมืองเชียงรายหั้นแล แล้วก็แต่งหื้ออภิเษกพ่อท้าวคำฟู ลูกตนอายุได้ 26 ปี หื้อเป็นพระญาในเมืองเชียงใหม่ในปีเปิกสี ศักราชได้ 690 ตัวปีหั้นแล"[2]

หลังจากราชาภิเษกท้าวคำฟูเป็นพญาในเมืองเชียงใหม่ พญาแสนพูก็ทรงย้ายไปเสวยราชสมบัติที่เมืองเชียงแสน เมื่อพญาแสนพูเสด็จสวรรคต พญาคำฟูจึงทรงย้ายครองราชย์เมืองเชียงแสนระหว่าง พ.ศ. 1881—1888

พญาคำฟูได้พัฒนา ปกครองนครเชียงใหม่ให้เกิดความผาสุก ร่มเย็น นับเป็นช่วงเวลาที่เชียงใหม่มีความเจริญรุ่งเรือง สงบสุข ไม่มีศึกสงคราม ในยุคสมัยของพญาคำฟูนี้พระองค์ทรงร่วมมือกับพญาผานองเจ้าเมืองปัวเข้าปล้นเมืองพะเยาได้[3] และสามารถที่จะผนวกเอารัฐพะเยาที่เป็นอิสระอยู่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาได้ หลังจากพญาคำฟูเสด็จสวรรคต ท้าวผายูพระราชโอรสจึงรับราชาภิเษกเป็นพญาในเมืองเชียงใหม่

พญาคำฟูสวรรคตจากการถูกเงือกหรือจระเข้กัด ถือเป็นการตายร้าย จึงได้รับการบูชาเป็นผีอารักษ์ปกป้องเมืองเชียงใหม่ ส่วนโกศบรรจุพระบรมอัฐิของพญาคำฟูถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2469 ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดพระสิงห์ แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่า แต่ภายหลังโกศพระบรมอัฐิหายไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบ[4]

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. สมหมาย เปรมจิตต์. (2540). ตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฉบับชำระ . เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  3. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, หน้า ๔๘.
  4. เพ็ญสุภา สุขคตะ (4 มกราคม 2561). ""ล้านนาศึกษา" ใน "ไทศึกษา" ครั้งที่ 13 (12) 500 ปี โคลงนิราศหริภุญไชย : คุณค่าและความทรงจำ (1)". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พญาคำฟู ถัดไป
พญาแสนพู    
พญาในเมืองเชียงใหม่
(พ.ศ. 1871/72—1881)
  พญาผายู