พระช้อย[1] หรือ สะโทกะยอ[2] (သတိုးကျော်) (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ เจ้าหมองส่วยสโตคอย[3] (พงษาวดารเมืองน่าน) เป็นพระเจ้าเชียงใหม่จากราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ หลังจากที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน ในที่สุดขุนนางกลุ่มหนึ่งสนับสนุนให้พระองค์ครองราชย์ต่อจากพระบิดาได้สำเร็จในรัชสมัยแรกระหว่าง พ.ศ. 2150 - 2151 (1 ปี) แล้วทรงถูกขุนนางอีกกลุ่มถอดจากราชสมบัติเพื่อให้พระชัยทิพพระเชษฐาพระองค์รองของพระองค์ครองราชย์แทน แต่ขุนนางฝ่ายพระองค์ได้ยกทัพจากลำปางมายึดเมืองเชียงใหม่แล้วถวายราชสมบัติแก่อีกครั้งใน พ.ศ. 2156 - 2158 (2 ปี) ในช่วงนี้เชียงใหม่สวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอะเน่าก์แพตหลุ่นแห่งกรุงหงสาวดีจึงยกทัพมายึดเมืองเชียงใหม่[4] พระช้อยทรงถูกจับในข้อหากบฏและถึงแก่พิราลัย[5] เมืองเชียงใหม่จึงกลับมาเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้ง

พระช้อย
พระเจ้าเชียงใหม่
(ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา)
ครองราชย์พ.ศ. 2150 - 2151 (รัชสมัยที่ 1)
พ.ศ. 2156 - 2158 (รัชสมัยที่ 2)
ราชาภิเษกพ.ศ. 2150
ก่อนหน้านรธาเมงสอ (ก่อนรัชสมัยที่ 1)
พระชัยทิพ (ก่อนรัชสมัยที่ 2)
ถัดไปพระชัยทิพ (หลังรัชสมัยที่ 1)
เจ้าพลศึกศรีสองเมือง (หลังรัชสมัยที่ 2)
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดานรธาเมงสอ
พิราลัยพ.ศ. 2158

อ้างอิงแก้ไข

เชิงอรรถ
  1. ประวัติศาสตร์ล้านนา, ภาคผนวก 2
  2. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 97
  3. ประชุมพงษาวดารภาคที่ 10, หน้า 70
  4. พระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 224
  5. ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 280
บรรณานุกรม


ก่อนหน้า พระช้อย ถัดไป
นรธาเมงสอ (ก่อนรัชสมัยที่ 1)
พระชัยทิพ (ก่อนรัชสมัยที่ 2)
  พระเจ้าเชียงใหม่
(ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา)

(พ.ศ. 2150 - 2151 (รัชสมัยที่ 1)
พ.ศ. 2156 - 2158 (รัชสมัยที่ 2))
  พระชัยทิพ (หลังรัชสมัยที่ 1)
เจ้าพลศึกศรีสองเมือง (หลังรัชสมัยที่ 2)