เจ้าเมืองแพร่ เป็นเจ้าผู้ครองเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าระหว่างปี พ.ศ. 2202[2] หรือ 2206[3] ถึง พ.ศ. 2215 ที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

เจ้าเมืองแพร่
เจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ครองราชย์พ.ศ. 2202/2206 - พ.ศ. 2215[1]
รัชสมัย9-13 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระแสนเมือง
รัชกาลถัดไปอุปราชอึ้งแซะ
ประสูติไม่ปรากฏ
พิราลัยพ.ศ. 2215

การกล่าวถึงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และการตีความ

แก้

เจ้าเมืองแพร่ถูกกล่าวถึงอย่างสั้นๆในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เพียง 2 ครั้ง ได้แก่ "ศักราช ๑๐๒๑ ตัวปีกัดไก้ เอาพระยาเมืองแพร่ขึ้นนั่งแท่นแก้วเชียงใหม่ปีนั้น"[2] และ "ศักราช ๑๐๓๔ ตัวปีเต่าไจ้...พระเจ้าเมืองแพร่ตนกินเชียงใหม่ก็จุตติ..."[2] เจ้าเมืองแพร่ถูกสันนิษฐานว่าเคยเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากการศึกษาตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่[4][5]หรือหลักฐานชั้นหลังที่นำตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ไปอ้างอิง เช่น พงศาวดารโยนก[3][6]

อย่างไรก็ตาม ตัวตนของเจ้าเมืองแพร่ขัดแย้งกับข้อมูลผู้ปกครองเชียงใหม่จากหลักฐานของพม่า[7][8] อยุธยา[9] และเชียงแสน[10][11] อีกทั้งยังปรากฏข้อความที่คล้ายกันในพื้นเมืองเชียงแสน คือ "สักกพทได้ ๑๐๒๑ ตัว ปีกัดใค้...พระเจ้าเมืองเบ่ขึ้นเปนกระสัตรนั่งแท่นแก้วอังวะ..."[10] ทำให้เกิดข้อโต้แย้งว่า บันทึกเกี่ยวกับเจ้าเมืองแพร่นั้นผิดเพี้ยนมาจากบันทึกเกี่ยวกับพระเจ้าปเยแห่งพม่า โดยพระยศเดิมของพระองค์คือเจ้าเมืองแปร[12][13]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 631
  2. 2.0 2.1 2.2 สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, p. 81, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
  3. 3.0 3.1 ประชากิจกรจักร, พระยา (1973). พงศาวดารโยนก (7th ed.). กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. pp. 412–413. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  4. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2010). ประวัติศาสตร์ล้านนา (7th ed.). กรุงเทพฯ: อมรินทร์. p. 631. ISBN 978-974-8132-15-0.
  5. วิเชียรเขียว, อรุณรัตน์; วัยอาจ, เดวิด เค (2000). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอร์ม. p. 134. ISBN 978-974-9575-51-2.
  6. ประชากิจกรจักร, พระยา (2014). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา. pp. 395–396. ISBN 978-616-7146-62-1.
  7. U Kala (2016). The Great Chronicle, 1597-1711. แปลโดย Tun Aung Chain. Yangon: MKS Publishing. pp. 157, 181, 193, 201–202, 205, 217. ISBN 9789997102201.
  8. THIEN, NAI (29 February 1912). "INTERCOURSE BETWEEN BURMA AND SIAM AS RECORDED IN HMANNAN YAZAWINDAWGYI" (PDF). สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. pp. 88–93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  9. กรมศิลปากร, บ.ก. (9 March 1937), "พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)" [Phraratchaphongsawadan Chabap Phan Channumat (Choem)], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
  10. 10.0 10.1 อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. pp. 121–122. ISBN 9742726612.
  11. กรมศิลปากร, บ.ก. (19 April 1936), "พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน" [Phongsawadan Mueang Ngoen Yang Chiang Saen], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์อักษรโสภณ, สืบค้นเมื่อ 2024-05-01
  12. Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 275. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
  13. สุขคตะ, เพ็ญสุภา (16 July 2023). "ตระหนัก 'ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่' (จบ) ความคลาดเคลื่อนที่ควรแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมชำระใหม่แบบขยายความ". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-08. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
ก่อนหน้า เจ้าเมืองแพร่ ถัดไป
พระแสนเมือง   เจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่

(พ.ศ. 2202/2206 - พ.ศ. 2215)
  อุปราชอึ้งแซะ