มีนเยยานดา[note 1] (อังกฤษ: Minyè Yanta[1]) หรือมีนเยยานดาตู[note 2] (อังกฤษ: Minyèyandathu[2]) ทรงเป็นเมียวหวุ่น[3]แห่งเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2214 ไทยสากล[note 3] - พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล (จ.ศ. 1044)

มีนเยยานดา
เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง13 เมษายน พ.ศ. 2214 ไทยสากล - พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล
ก่อนหน้าเจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น
ถัดไปมีนเยนอระทา
ประสูติไม่ปรากฏ
สิ้นพระชนม์ไม่ปรากฏ
พระชายาอีนซะนะ
ราชวงศ์ราชวงศ์ตองอู
พระบิดามีนเยยานดาตูแห่งหงสาวดี
พระมารดายาดะนะชเวโงน

พระประวัติ แก้

มีนเยยานดามีพระนามเดิมว่า เน-มโยดะดะ[note 1] (อังกฤษ: Némyodatta) เป็นพระโอรสในมีนเยยานดาตูแห่งหงสาวดี พระราชโอรสในพระเจ้าญองย่าน และยาดะนะชเวโงน[note 1] (อังกฤษ: Yadana Shwengon) พระราชธิดาอีกพระองค์ในพระเจ้าญองย่าน

ในปี พ.ศ. 2204 ไทยสากล พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับอีนซะนะ[note 1] (อังกฤษ: Inzana) พระราชธิดาในพระเจ้าปเย และทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งสี่นกู้ (อังกฤษ: Singu) จากนั้นในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2212 ไทยสากล จึงได้รับพระราชทานราชทินนาม มีนเยยานดาตู[2]

พระเจ้าปเยทรงแต่งตั้งให้มีนเยยานดาเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2214 ไทยสากล[1][2] มีนเยยานดาอาจเป็นบุคคลเดียวกับมังแรนันทสูที่ถูกกล่าวถึงในปี พ.ศ. 2214 ไทยสากล โดยราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[4]และพงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[5] (ซึ่งระบุเป็นปี พ.ศ. 2314 ไทยสากล)

มหาราชวงศ์[2]ระบุว่ามีนเยยานดาสิ้นพระชนม์ ณ เมืองเชียงใหม่ มีนเยนอระทาทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล[6]

พงศาวลี แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า
  2. ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า บางครั้งสะกดว่า มีนเยนานดาตู (อังกฤษ: Minyènandathu) ซึ่งหากสะกดตามความนิยมอาจสะกดได้ว่า มังรายนันทสู
  3. เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 THIEN, NAI (29 February 1912). "INTERCOURSE BETWEEN BURMA AND SIAM AS RECORDED IN HMANNAN YAZAWINDAWGYI" (PDF). สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 U Kala (2016). The Great Chronicle, 1597-1711. แปลโดย Tun Aung Chain. Yangon: MKS Publishing. pp. 50, 194, 208, 210, 213. ISBN 9789997102201.
  3. แซ่เซียว, ลัดดาวัลย์ (2002). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. pp. 87–92. ISBN 9747206099. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  4. Premchit, Sommai; Tuikheo, Puangkam (1975). ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 37.
  5. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2022). งานวงศ์พาณิชย์, กรกฎ (บ.ก.). พิเคราะห์หลักฐาน ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 18. ISBN 9786163986634.
  6. Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 281. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-02-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
ก่อนหน้า มีนเยยานดา ถัดไป
เจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น   เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
(พ.ศ. 2214 ไทยสากล - พ.ศ. 2225/2226 ไทยสากล)
  มีนเยนอระทา