มีนเยละจอ[note 1] (อังกฤษ: Minyè Hlakyaw[1]) หรือมีนเยมีนละจอ[note 2] (อังกฤษ: Minyèminhlakyaw[2]) ทรงเป็นเมียวหวุ่น[3]แห่งเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า ระหว่างปี พ.ศ. 2207 ไทยสากล[note 3] - พ.ศ. 2210 ไทยสากล

มีนเยละจอ
เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง4 ธันวาคม พ.ศ. 2207 ไทยสากล - พฤษภาคม/มิถุนายน พ.ศ. 2210 ไทยสากล
ก่อนหน้าพญาแสนหลวง (รักษาการ)
ถัดไปเจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น
ประสูติไม่ปรากฏ
สิ้นพระชนม์ระหว่างธันวาคม พ.ศ. 2215 ไทยสากล ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2216 ไทยสากล
พระชายาคีนจเวะพยู
ราชวงศ์ราชวงศ์ตองอู
พระบิดามังรายกะยอฉะวาแห่งซะกุ๊
พระมารดาคีนอีนพโย

พระประวัติ แก้

มีนเยละจอมีพระนามเดิมว่า เน-มโยซานจอ[note 2] (อังกฤษ: Némyo Sankyaw) เป็นพระโอรสในมังรายกะยอฉะวาแห่งซะกุ๊ พระราชอนุชาและพระมหาอุปราชาในพระเจ้าตาลูน และคีนอีนพโย[note 2] (อังกฤษ: Khin In Phyo) หลานสาวของยานดะปยิซี[note 2] (อังกฤษ: Yandapyitsi) พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ คีนจเวะพยู[note 2] (อังกฤษ: Khin Kywet Phyu) หรือที่รู้จักในพระนามโตนดะรี[note 2] (อังกฤษ: Thondari) ผู้เป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดา[2]

เจ้าชายแห่งเมียวดี แก้

เน-มโยซานจอทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเมียวดี[note 4]โดยพระเจ้าปีนดะเล การพิชิตหมิงของชิงทำให้กองทัพราชวงศ์หมิงใต้บุกเข้าสู่พม่าเพื่อปล้นสะดมในปี พ.ศ. 2202 ไทยสากล[4] เน-มโยซานจอทรงเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้นำกองทัพเข้าสกัดกั้นการรุกคืบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2202 ไทยสากล แต่ถูกกองทัพหมิงตีแตกไป[2] จนในที่สุดกองทัพหมิงเข้าโจมตีกรุงอังวะในเดือนพฤษภาคม ความล้มเหลวในการต่อต้านกองทัพจีนเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปลดพระเจ้าปีนดะเลออกจากราชสมบัติในปี พ.ศ. 2204 ไทยสากล

หลังจากพระเจ้าปเยกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์พระราชทานราชทินนาม มีนเยละจอ ให้แก่เน-มโยซานจอแห่งเมียวดีในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2204 ไทยสากล

เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ แก้

ความวุ่นวายในพม่าทำให้อาณาจักรอยุธยาเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2206 ไทยสากล และกวาดต้อนผู้คนกลับไป ซึ่งรวมถึงพญาแสนหลวงผู้รักษาเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น การต่อต้านจากคนในพื้นที่ทำให้กองทัพอยุธยาตัดสินใจทิ้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2207 ไทยสากล เมื่อทางเชียงใหม่แจ้งข่าวต่อพระเจ้าปเย พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้มีนเยละจอเป็นเมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2207 ไทยสากล และให้นำกำลังคนไปฟื้นฟูบ้านเมือง[2]

มีนเยละจออาจเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าฟ้าแม่กุที่ถูกกล่าวถึงในปี พ.ศ. 2208/2209 ไทยสากล (จ.ศ. 1027) โดยราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดเชียงมั่น[5]ดังนี้

พระยาเหล็กชาย พระยาเช้า ชิคคายต่อมังนันทะสู ก็ได้แต่งแปง [แปลง] เมืองเชียงใหม่ดั่งเกล่า [เก่า] และเจ้าฟ้าแม่กุก็คืนมากินเมืองเชียงใหม่และ

— สมหมาย เปรมจิตต์, ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔, หน้า 37

เนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมีปรากฏอยู่ในพงศาวดารเชียงใหม่ ต้นฉบับใบลานวัดพระสิงห์เมืองเชียงราย[6] แต่ระบุเป็นปี พ.ศ. 2308/2309 ไทยสากล (จ.ศ. 1127)

ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2210 ไทยสากล มีรายงานว่า มีนเยละจอวางแผนต่อต้านกษัตริย์พม่า พระเจ้าปเยจึงมีพระราชโองการให้สืบสวนจนได้ความว่าเป็นความจริง มีนเยละจอจึงถูกปลดจากตำแหน่งเมียวหวุ่นและถูกส่งไปยังโม่ญี่น ในเดือนเดียวกัน เจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น[note 5]ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองเชียงใหม่[1][2]

บั้นปลาย แก้

ในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2215 ไทยสากล ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2216 ไทยสากล มีรายงานว่า เน-มโยซานจอซึ่งถูกส่งไปโม่ญี่นส่งจดหมายจำนวนมากไปหาพระชายาของพระองค์ เน-มโยซานจอจึงถูกย้ายจากโม่ญี่นไปยังมีนกีน[note 2] (อังกฤษ: Mingin) หลังจากนั้นพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์[2]

พงศาวลี แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า หากสะกดตามความนิยมอาจสะกดได้ว่า มังรายละกะยอ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 ทับศัพท์ตามการทับศัพท์ภาษาพม่า
  3. เทียบตามปฏิทินสุริยคติไทย โดยยึดวันปีใหม่คือ 1 มกราคม
  4. อาจเป็นคนละเมืองกับเมืองเมียวดีในปัจจุบัน
  5. อาจมีพระนามว่า เจ้ายอดชัย (อังกฤษ: Sao Yawt Chai) ดู Mongyang State [en]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 THIEN, NAI (29 February 1912). "INTERCOURSE BETWEEN BURMA AND SIAM AS RECORDED IN HMANNAN YAZAWINDAWGYI" (PDF). สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 U Kala (2016). The Great Chronicle, 1597-1711. แปลโดย Tun Aung Chain. Yangon: MKS Publishing. pp. 157, 181, 193, 201–202, 205, 217. ISBN 9789997102201.
  3. แซ่เซียว, ลัดดาวัลย์ (2002). 200 ปี พม่าในล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค. pp. 87–92. ISBN 9747206099. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
  4. วิพากษ์ประวัติศาสตร์ (1 November 2021). "อวสานราชวงศ์หมิงใต้ ศึกฮ่อล้อมอังวะ ปฐมบทสงครามขยายอำนาจของสมเด็จพระนารายณ์". Facebook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-05. สืบค้นเมื่อ 2024-03-01.^
  5. Premchit, Sommai; Tuikheo, Puangkam (1975). ราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่ ภาคปริวรรต ลำดับที่ ๔. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 37.
  6. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2022). งานวงศ์พาณิชย์, กรกฎ (บ.ก.). พิเคราะห์หลักฐาน ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. p. 19. ISBN 9786163986634.
ก่อนหน้า มีนเยละจอ ถัดไป
พญาแสนหลวง (รักษาการ)   เมียวหวุ่นแห่งเชียงใหม่
(พ.ศ. 2207 ไทยสากล - พ.ศ. 2210 ไทยสากล)
  เจ้าฟ้าแห่งโม่ญี่น