พญาแสนพู
พญาแสนพู เป็นพญาในเมืองเชียงใหม่และผู้สร้างเมืองเชียงแสน
พญาแสนพู | |
---|---|
พระมหากษัตริย์ล้านนา | |
![]() พระบรมรูปพญาแสนพูในวัดเจดีย์หลวง เชียงแสน | |
พระมหากษัตริย์แห่งล้านนา พระองค์ที่ 3 | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1861—1862/63 (ครั้งที่ 1)[ต้องการอ้างอิง] |
ราชาภิเษก | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 1861 |
ก่อนหน้า | พญามังราย |
ถัดไป | ขุนเครือ |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1867/68—1870 (ครั้งที่ 2) |
ก่อนหน้า | พญาไชยสงคราม[1] |
ถัดไป | พญาคำฟู |
พญาในเมืองเชียงแสน | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1870—1881 |
ถัดไป | พญาคำฟู |
อัครราชเทวี | นางซีมคำ (จีมคำ)[2] |
พระราชบุตร | พญาคำฟู |
ราชวงศ์ | มังราย |
พระราชบิดา | พญาไชยสงคราม |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 1821 |
สวรรคต | พ.ศ. 1881 (60 พรรษา) |
พระราชประวัติ แก้ไข
พญาแสนพู มีพระอิสริยยศเดิมว่า ท้าวแสนพู เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพญาไชยสงครามผู้ครองเมืองเชียงราย พระราชบิดาได้ราชาภิเษกพระองค์ให้เป็นพญาในเมืองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 1861 สืบแทนพญามังรายที่สวรรคต เมื่อขุนเครือผู้ครองเมืองนายทราบจึงยกทัพมายึดเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ พญาแสนพูหนีไปพึ่งพระราชบิดาที่เมืองเชียงราย พญาไชยสงครามจึงให้ท้าวน้ำท่วมพระราชโอรสพระองค์รองแต่งทัพไปยึดเมืองเชียงใหม่คืน ท้าวน้ำท่วมทำสำเร็จ พญาไชยสงครามจึงราชาภิเษกท้าวน้ำท่วมให้เป็นพญาครองเมืองเชียงใหม่ แต่ผ่านไปเพียงสองปีท้าวน้ำท่วมก็ถูกพระราชบิดาถอดจากราชสมบัติ แล้วเนรเทศไปอยู่เชียงตุง และราชาภิเษกพญาแสนพูให้ครองเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง
เมื่อพญาไชยสงครามสวรรคต พญาแสนพูจึงเสด็จไปปลงพระศพพระราชบิดาที่เชียงราย แล้วราชาภิเษกท้าวคำฟูพระราชโอรสให้เป็นพญาในเมืองเชียงใหม่แทน ส่วนพระองค์เสด็จไปสร้างเมืองเชียงแสน พระองค์ครองราชสมบัติในเมืองนั้นได้ 7 ปีก็สวรรคตราวปี พ.ศ. 1881/82[3]
ราชตระกูล แก้ไข
พงศาวลีของพญาแสนพู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง แก้ไข
- เชิงอรรถ
- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโอกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ สงวน โชติสุขรัตน์, หน้า 83
- ↑ อรุณรัตน์ วิเชียร์เขียว และเดวิด เค. วัยอาจ, หน้า 65
- บรรณานุกรม
- สงวน โชติสุขรัตน์. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศรีปัญญา, 2564. 272 หน้า. ISBN 978-616-437-130-9
- อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม, 2543. 232 หน้า. หน้า 58-65. ISBN 978-974-9575-51-2
- สรัสวดี อ๋องสกุล. กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์ล้านนาศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557. 166 หน้า. หน้า 47-50. ISBN 978-974-672-853-9