พระนางยอดคำทิพย์

พระนางยอดคำทิพย์, นางยอดคำ[3], นางยอดคำราชกัญญา[4] หรือ พระนางหอสูง[5] มีพระนามเต็มว่า สมเด็จบรมบพิตรเป็นเจ้าเหนือหัวพระราชมารดาอัครมหาเทวี[6] (อักขรวิธีเก่า: สัมเดัจบรมบํพิตฺรเปนเจาเหนิอหัวพฺรราชมาดาอะคํมหาเทวี)[7] เป็นพระราชธิดาในพระเมืองเกษเกล้า กับพระนางจิรประภาเทวีแห่งอาณาจักรล้านนา ต่อมาได้อภิเษกสมรสเป็นพระอัครมเหสีในพระยาโพธิสาลราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช[6] ตามทัศนะของมหาสิลา วีระวงส์ แต่ทั้งในพงสาวดารโยนกเชียงแสนและพงสาวดารเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็นหลักฐานชั้นต้นที่เก่าแก่ต่างมีระบุตรงกันว่า พระนางยอดคำทิพย์มีพระราชโอรสร่วมกับพระยาโพธิศาราชทั้งหมด 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, เจ้าท่าเรือ และ เจ้าวรวงษา หรือ เจ้ามหาอุปราชวรวังโส ตามลำดับ[8][9]

ยอดคำทิพย์
มหาเทวีแห่งล้านช้าง
พระราชสวามีพระยาโพธิสาลราช
พระราชบุตรสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช
เจ้ากิจธนวราธิราช
พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช
นางเเก้วกุมารี
นางคำเหลา
นางคำไบ[1][2]
ราชวงศ์มังราย (ประสูติ)
ล้านช้าง (อภิเษกสมรส)
พระราชชนกพระเมืองเกษเกล้า
พระราชชนนีพระนางจิรประภาเทวี

พระราชประวัติ

แก้

พระชนม์ชีพช่วงต้น

แก้

พระนางยอดคำทิพย์ หรือนางยอดคำ ประสูติในราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนา เป็นพระราชธิดาในพระเมืองเกษเกล้า ประสูติแต่พระนางจิรประภาเทวีพระอัครมเหสี เมื่อจำเริญพระชันษาขึ้นจึงได้อภิเษกสมรสเป็นอัครมเหสีของพระยาโพธิสาลราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง เพื่อหวังสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสอง รวมทั้งเป็นการผนึกกำลังต่อต้านอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยาที่ขยายตัวขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว[3] ใน พงศาวดารโยนก ระบุว่าพระนางยอดคำทิพย์ประสูติกาลพระราชบุตรจำนวนห้าพระองค์ได้แก่ เจ้าเชษฐวงศ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช), ท้าวท่าเรือ (เจ้ากิถนาวะราช), ท้าววรวงษ์ (เจ้าสีวละวงษาราชกุมาร), นางแก้วกุมารี และนางคำเหลา[10] ส่วนเอกสารที่รวบรวมโดยสิลา วีระวงส์นั้น เชื่อว่าพระนางยอดคำทิพย์มีสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว[11]

ในอาณาจักรล้านนา

แก้

ใน พ.ศ. 2081 เหล่าขุนนางมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ล้านนา แล้วร่วมกันปลดพระเมืองเกษเกล้าลงจากพระราชอำนาจแล้วส่งไปอยู่เมืองน้อย หลังจากนั้นจึงสถาปนาท้าวชายเสวยราชย์แทนแต่ครองราชย์ไม่นานก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ขุนนางจึงยกพระเมืองเกษเกล้าให้กลับมาครองราชย์อีกครั้ง แต่ทว่าครองราชย์ได้เพียงสองปีก็ถูกขุนนางกลุ่มแสนคราวลอบปลงพระชนม์ แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์ ขุนนางเกิดความแตกแยกเป็นหลายกลุ่ม และเกิดกลียุค[12] ภายหลังขุนนางกลุ่มเชียงแสนนำโดยพระนางจิรประภาเทวีได้กำจัดขุนนางกลุ่มแสนคราวได้สำเร็จ แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2088 เพื่อรอการเสด็จมาของท้าวอุปโย พระราชนัดดาผู้มีเชื้อสายราชวงศ์มังรายทางฝ่ายพระราชชนนีคือนางยอดคำ[13] ในช่วงเวลาที่พระนางจิรประภาเทวีเสวยราชย์นั้น ก็มีศึกติดพันอยู่ไม่ขาด พระองค์จึงทรงของกำลังทหารล้านช้างผ่านทางนางยอดคำให้มาช่วยเหลือ ก่อให้เกิดการแทรกแซงล้านนาโดยล้านช้าง[14]

เมื่อท้าวอุปโยเสด็จมาถึง พระนางจิรประภาเทวีจึงสละราชสมบัติแก่พระราชนัดดา[13] ท้าวอุปโยครองล้านนาช่วงปี พ.ศ. 2089-2090 จนกระทั่งพระยาโพธิสาลราชเสด็จสวรรคตกะทันหัน ท้าวอุปโยจึงเสด็จกลับล้านช้าง พร้อมกับพระนางยอดคำ, พระนางจิรประภา และพระแก้วมรกต แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดกลียุคอีกครั้ง[14]

ในอาณาจักรล้านช้าง

แก้

เมื่อท้าวอุปโยเสด็จถึงเมืองหลวงพระบาง ก็ทรงปราบปรามพระราชอนุชาทั้งสอง แล้วเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่าพระอุปภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราชเมื่อ พ.ศ. 2091 ขณะมีพระชันษาเพียง 14 ปี ด้วยเหตุนี้การจัดการปกครองอาณาจักรจึงอยู่ในกำกับของพระนางยอดคำ ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จบรมบพิตรเป็นเจ้าเหนือหัวพระราชมารดาอัครมหาเทวี[7] ถือเป็นพระเกียรติยศสูงสุดเทียบเท่าพระมหากษัตริย์[6] รวมทั้งพระนางจิรประภาเทวี พระอัยยิกาก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระไอยกามหาเทวเจ้า (พระราชอัยยิกาพระมหาเทวีเจ้า)[15] โดยอิทธิพลทางการเมืองของพระนางยอดคำยังคงอยู่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2094 อันเป็นปีที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชสามารถปกครองอาณาจักรได้ด้วยตนเอง[16]

พระราชกรณียกิจ

แก้

พ.ศ. 2096 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชพร้อมด้วยนางยอดคำพระราชมารดา และพระอัยยิกามหาเทวีเจ้าได้พระราชทานที่ดิน ข้าวัด และภาษี ณ วัดเชียงสา เมืองเชียงของ[17]

พ.ศ. 2098 นางยอดคำพระราชมารดาบำเพ็ญพระราชกุศลในนามสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พระราชทานที่ดิน และข้าวัดแก่วัดมณีเชษฐาราม (ปัจจุบันคือวัดจอมมณี) เมืองหนองคาย[7]

อ้างอิง

แก้
  1. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕, (๒๔๖๐). "พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน", วิกิซอร์ซ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.m.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99 [๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
  2. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 79
  3. 3.0 3.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 175
  4. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 80
  5. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 102
  6. 6.0 6.1 6.2 สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 115
  7. 7.0 7.1 7.2 "จารึกวัดจอมมณี". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-11. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕, (๒๔๖๐). "พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน", วิกิซอร์ซ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.m.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99 [๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
  9. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 79
  10. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 79
  11. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 81
  12. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 176
  13. 13.0 13.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 177
  14. 14.0 14.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 178
  15. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 96
  16. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 103
  17. "จารึกวัดเชียงสา". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)