พญายอดเชียงราย (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ ท้าวยอดเมือง (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ พระเจ้ายอดเชียงราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2030 - 2038 เป็นกษัตริย์ล้านนาพระองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย พระโอรสในท้าวบุญเรืองซึ่งเป็นพระโอรสในพระเจ้าติโลกราช

พญายอดเชียงราย
พระบรมรูปประดิษฐานบนประตูทางเข้าวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
ครองราชย์พ.ศ. 2030-2038
ก่อนหน้าพระเจ้าติโลกราช
ถัดไปพญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า
พระมเหสีอะตะปาเทวี[1]
สิริยศวดีเทวี [2]
พระราชบุตรพญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า
ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาท้าวบุญเรือง
พระราชมารดาไม่ปรากฏพระนาม[3]

พระราชประวัติ

แก้

พญายอดเชียงรายเสด็จพระราชสมภพที่เมืองน้อย ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน[4] เป็นพระโอรสในท้าวบุญเรือง และเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองเคยร่วมทำสงครามกับท้าวบุญเรือง และพระเจ้าติโลกราชหลายครั้ง ท้าวยอดเมืองเคยครองเมืองแช่สัก ขณะที่ท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดาครองเมืองเชียงรายในฐานะเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นอุปราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2005 ท้าวยอดเมืองได้รับคำสั่งให้ขยายอำนาจไปสู่ดินแดนไทใหญ่ โดยเฉพาะเมืองนายและเมืองใกล้เคียง[5] และท้าวยอดเมืองก็มีบทบาทร่วมรบกับท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดาเสมอมา

ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชได้การประหารชีวิตบุคคลสำคัญหลายคนที่เคยร่วมศึกกันมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือท้าวบุญเรืองที่ถูกประหารชีวิตโดยมีความผิด โทษฐานคิดการก่อกบฏกับพระบิดา โดยถูกแม่ท้าวหอมุกมเหสีองค์หนึ่งในพระเจ้าติโลกราชใส่ความ[6] ผู้ที่เสียใจมากที่สุดคือท้าวยอดเมือง ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงได้สร้างวัดบริเวณตำแหน่งกาลกิณีเมือง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่[7]

ครองราชย์

แก้

หลังการสวรรคตของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองจึงสืบราชสมบัติต่อมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพญายอดเมืองทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น[8] ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงท้าวยอดเมืองไม่รักเจ้าแก้ว ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจากนางโป่งน้อย แต่กลับเอาใจใส่ลูกฮ่อ ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครองเมืองพร้าว[9] ทั้งยังมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วที่ถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย[10] ด้วยการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออก หลังจากครองราชย์ได้ 8 ปี โดยพระองค์ให้ไปครองเมืองซะมาดในเขตแม่ฮ่องสอน พร้อมกับยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์สืบมา[11]

ขณะที่มีการยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์ ก็พบว่านางโป่งน้อย มีอำนาจสูงมาก เนื่องจากมีบทบาทในการปกครองร่วมกับพระโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า"พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ "พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"[12][13][14][15] ขณะเดียวกันบทบาทของขุนนางได้เพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ ส่วนกษัตริย์กลับถูกลิดรอนอำนาจ[2]

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "จารึกวัดตโปทาราม". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 168
  3. "จารึกวัดพวกชอด". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "พบหม้อใส่แหวนรัตนชาติใน "เมืองน้อย" ที่คุมขังโอรสพระเจ้าติโลกราชผู้ถูกใส่ร้ายจนโดนประหาร". มติชนออนไลน์. 29 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 78
  6. เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 132-133
  7. สมโชติ อ๋องสกุล และสรัสวดี อ๋องสกุล. วัดในทักษาเมือง, หน้า 42
  8. วินัย พงศ์ศรีเพียร. ปาไป่สีฟู-ปาไป่ต้าเตี้ยน, หน้า 149
  9. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 83
  10. ตำนานเมืองลำพูน (สังเขป), หน้า 78-79
  11. สรัสวดี อ๋องสกุล. พื้นเมืองเชียงแสน, หน้า 157
  12. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 195
  13. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3, หน้า 198
  14. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4, หน้า 112
  15. ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา, หน้า 263
ก่อนหน้า พญายอดเชียงราย ถัดไป
พระเจ้าติโลกราช    
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
(พ.ศ. 2030 - พ.ศ. 2038)
  พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า