เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (มหาพรหม ณ น่าน) ประสูติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 และเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 ในราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ เป็นราชโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ กับแม่เจ้าขอดแก้วเทวี ทรงเป็นพระอนุชาต่างเจ้ามารดา กับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 สิริรวมอายุได้ 84 ปี ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของนครน่าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามประเทศ ในปี พ.ศ. 2475
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |
---|---|
![]() | |
เจ้าผู้ครองนครน่าน | |
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช |
ชายา | เจ้าศรีโสภา ณ น่าน (ชายาเอก) เจ้าบัวทิพย์ ณ น่าน เจ้าศรีคำ ณ น่าน |
พระราชบุตร | 9 คน |
ราชวงศ์ | หลวงติ๋นมหาวงศ์ |
พระบิดา | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช |
พระมารดา | แม่เจ้าขอดแก้ว |
ประสูติ | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 |
พิราลัย | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (84 ปี) |
พระประวัติแก้ไข
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีพระนามเดิมว่า เจ้ามหาพรหม ณ น่าน ประสูติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2389 เป็นโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ประสูติแต่เจ้าขอดแก้ว และเป็นอนุชาต่างเจ้ามารดาในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าราชวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2436 ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนามหาดไทยจังหวัดน่าน และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าอุปราช ในปี พ.ศ. 2443 รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก ในปี พ.ศ. 2454 และเป็นมหาอำมาตย์โท ในปี พ.ศ. 2460[1]
ในปี พ.ศ. 2461 ได้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่าน[2] และในปีถัดมาจึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้ามหาพรหมสุรธาดา นันทบุราธิวาศวงศ์ บรมราชประสงค์สฤษดิรักษ์ นิตยสวามิภักดิ์อาชวาศัย ประสาสนนัยวิจิตร กิติคุณาดิเรก เอกโยนกมหานคราธิบดี เจ้านครน่าน[3] โดยมียศทางพลเรือนเป็นมหาอำมาตย์โท และยศทางการทหารเป็นนายพลตรี
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ถึงแก่พิราลัยในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ 85 ปี[1]
การพระราชทานเพลิงศพแก้ไข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์โท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เสด็จแทนพระองค์ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานภูษามาลา กรมสนมพลเรือน ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้ามหาพรมสุรธาดา โดยพระราชทานโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้งรองโกศ 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน มีประโคมกลองชะนะ 10 จ่าปี 1 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 (นับตามสากลเป็น พ.ศ. 2475) ครั้นถึงวันที่ 3 มีนาคม เวลาบ่าย จึงได้พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานดอนชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน[4]
พระโอรส-ธิดาแก้ไข
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา มีโอรสและธิดา รวม 9 คน อยู่ในราชตระกูล ณ น่าน มีนามตามลำดับ ดังนี้
- ในเจ้าศรีโสภา จ.จ.[5] ชายาเอก มีโอรส 3 องค์ และธิดา 1 องค์ ได้แก่
- เจ้าสุริยวงศ์ (น้อยอินทนนท์ ณ น่าน)
- เจ้าบัวเขียว สมรสกับเจ้าราชวงศ์ (สุทธิสาร ณ น่าน)[6]
- เจ้าบุรีรัตน์ (ขัติยศ)
- เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า) สมรสกับเจ้าบุญสม ณ น่าน
- ในเจ้าบัวทิพย์ ณ น่าน มีโอรส 3 องค์ ได้แก่
- เจ้าธาดา (นามเดิม เจ้าแก้วพรหมา)
- เจ้าเมืองพรหม (นามเดิม เจ้าขี้หมู)
- เจ้าสุรพงษ์ (นามเดิม เจ้าจันต๊ะคาด)
- ในเจ้าศรีคำ ณ น่าน มีโอรส 1 องค์ และธิดา 1 องค์ ได้แก่
- เจ้าสนิท หรือ เจ้านิด
- เจ้าลัดดา (นามเดิม เจ้าหมัดคำ)
พระกรณียกิจที่สำคัญแก้ไข
การสร้างท่าอากาศยานน่านแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2458 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซื้อเครื่องบินให้แก่กองทัพอากาศ[7] จำนวน 1 ลำ ซึ่งต่อมาพระองค์มีพระประสงค์จะชมเครื่องบินลำที่พระองค์ซื้อให้แก่กองทัพอากาศ จึงได้นำความปรึกษากับอำมาตย์เอกพระวรไชยวุฒิกรณ์ ปลัดมณฑลพายัพ เพื่อจัดสร้างสนามบินขึ้น เมื่อพระวรไชยวุฒิกรณ์เห็นชอบแล้ว จึงได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทำการถากถางโค่นต้นไม้บริเวณตำบลหัวเวียงเหนือเพื่อสร้างสนามบินขึ้น โดยใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3 ปีเศษ จึงแล้วเสร็จ และทางกองทัพอากาศจึงได้นำเครื่องบินแบบ “เบเก้” จำนวน 3 ลำ รวมทั้งลำที่เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อให้ บินจากกองทัพอากาศดอนเมืองถึงสนามบินน่านสำเร็จและลงอย่างปลอดภัย ครั้นเมื่อเครื่องบินได้กลับไปแล้วก็มิได้ใช้สนามบินนี้อีก คงปล่อยทิ้งไว้และได้รับการบำรุงรักษาตามสมควร
รับเสด็จรัชกาลที่ 7 คราวประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2449 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) (สมัยนั้นเรียกว่าจุลสุราภรณ์)[8]
- พ.ศ. 2469 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2454 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2451 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[11]
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
พงศาวลีแก้ไข
พงศาวลีของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิงแก้ไข
ก่อนหน้า | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 ในราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2474) |
ยกเลิกตำแหน่ง ผู้สืบตระกูล: เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) |
- ↑ 1.0 1.1 ข่าวพิราลัย
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองจังหวัดน่านแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่, เล่ม 35, 28 เมษายน พ.ศ. 2461, หน้า 223
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเจ้าผู้ครองนคร, เล่ม 36, 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462, หน้า 2414
- ↑ ราชกิจานุเบกษา พระราชทานเพลิงศพ เล่ม 48 หน้า 4876 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2474
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ตอนที่ 35 เล่ม 23, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125, หน้า 893
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เจ้าอุปราชให้เงิน ๙,๐๐๐ บาทสำหรับซื้อเครื่องบิน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓, ตอนที่ ๓๖, ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๓๙๙๔ ๙๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓, ตอน๐ ง, ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๙๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๘๓
- ↑ พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า