เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)

รองอำมาตย์ตรี เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) มีนามเดิม เจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน เป็นราชโอรสองค์ที่ 8 ในเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 (องค์สุดท้าย)กับ แม่เจ้าศรีโสภา อัครชายา (ชายาที่ 1)

เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน
เจ้าราชบุตร นครเมืองน่าน
เกิดพ.ศ. 2423
ถึงแก่กรรม1 มีนาคม พ.ศ. 2501 (78 ปี)
ชายาเจ้าบุญโสม ณ น่าน
พระบุตร7 คน
ราชสกุลณ น่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
เจ้าบิดาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้ามารดาเจ้าศรีโสภา

ประวัติ แก้

เจ้าน้อยหมอกฟ้า เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่บ้านหัวข่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน วันพุธ เดือน 9 เหนือ พ.ศ. 2423 เป็นราชโอรสในเจ้ามหาพรหมสุรธาดากับแม่เจ้าศรีโสภา มีพี่น้อง 7 องค์ เมื่อมีอายุได้ 15 ปี เจ้าบิดาได้มอบให้เป็นศิษย์แห่งพระภิกษุอินต๊ะสอน เจ้าอาวาสวัดหัวเวียงใต้ เพื่อให้ศึกษาข้อปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดหัวเวียงใต้ ถึง พ.ศ. 2440 ได้ลาสิกขาบทเพื่อช่วยราชการฉลองเจ้าบิดา ต่อมาเมื่ออายุได้ 25 ปี จึงได้เสกสมรสกับเจ้าบุญโสม ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าบุญทะวงศ์ และเจ้าบุญนำ

เจ้าราชบุตร มีโอรสธิดากับเจ้าบุญโสม รวม 7 ท่าน เป็นชาย 2 หญิง 5 อาทิ เจ้าบัวมัน ณ น่าน และเจ้าโคมทอง ณ น่าน ภรรยาเจ้าประดิษฐ์ ณ น่าน อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน และนายกเทศมนตรีเมืองน่าน และนัดดาคือ เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน ผู้ดูแลคุ้มเจ้าราชบุตร[1]

เจ้าราชบุตร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501 รวมอายุได้ 78 ปี

การทำงาน แก้

เมื่อเจ้าราชบุตรยังดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน ในปี พ.ศ. 2445 เกิดจลาจลเงี้ยวที่จังหวัดแพร่ ทางราชการจัดให้เป็นหัวหน้ากองตรวจ รักษาชายเขตแดนจังหวัดน่าน ในปีต่อมาได้รับราชการเป็นรองเสนาวังจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าน้อยหมอก ได้บริจาคทรัพย์สินจำนวน 300 บาท เพื่อสร้างสะพานให้ประชาชนสัญจรไปมา[2] กระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ถึงปี พ.ศ. 2459 เจ้าราชบุตร ได้เป็นหัวหน้าควบคุมคนหาบคานและสัตว์พาหนะไปรับเงินของรัฐบาลที่คลังจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ มาไว้ที่คลังจังหวัดน่าน และต่อมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน ดำรงอิสริยยศเป็น "เจ้าประพันธพงษ์ เมืองนครน่าน" และได้เลื่อนเป็น "เจ้าราชบุตร เมืองนครน่าน" ในปี พ.ศ. 2468

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ได้ไปรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประพาศมณฑลพายัพ ที่เมืองนครเชียงใหม่

เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะผู้สืบสายตรงในเจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายประเทศราชที่สืบกันมา [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. ตีนแมวเหิม-งัด“คุ้มเจ้าราชบุตร/หมอกฟ้า ณ น่าน”ฉกงาช้างโบราณกลางดึก[ลิงก์เสีย]
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (เรื่อง นายน้อยหมอกบุตรเจ้าอุปราชนครน่าน ได้บริจาคทรัพย์สร้างสะพานข้ามเหมืองที่ถนนสายประตูริม ๑ สะพาน)
  3. "แห่พระสุพรรณบัตรและจุดเทียนชัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  4. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2015-02-22.
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าราชบุตรหมอกฟ้า ณ น่าน
ก่อนหน้า เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) ถัดไป
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้าผู้ครองนครน่าน
  ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครน่าน
(พ.ศ. 2474 — พ.ศ. 2501)
  เจ้าโคมทอง ณ น่าน