เจ้าหลวงมหาวงศ์[3] หรือ เจ้ามหาวงศ์[4] ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61 และองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าฟ้าหลวงมหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง กับแม่เจ้านางเลิศอัครเทวี (ผู้เป็นพระธิดาในเจ้าไชยราชากับเจ้านางเทพ) ส่วนเจ้านางเทพ (ผู้เป็นพระธิดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ กับแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี) และทรงเป็นพระปนัดดา (เหลน) ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394

เจ้ามหาวงศ์
พระยาน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 61 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก23 เมษายน พ.ศ. 2381
ครองราชย์23 เมษายน พ.ศ. 2381 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2394
รัชกาล12 ปี 183 วัน
พระอิสริยยศพระยาประเทศราช
ก่อนหน้าเจ้าอชิตวงษ์
ถัดไปเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
พิราลัย23 ตุลาคม พ.ศ. 2394
ณ คุ้มหลวงนครเมืองน่าน
พระชายาแม่เจ้ายอดทิพมโนลาอัครเทวี
ชายาแม่เจ้าแก้วเทวี
พระราชบุตร5 พระองค์
พระนามเต็ม
พระยามหาวงศวรราชานราธิบดี พระยาน่าน[1]
ราชสกุลมหาวงศนันทน์ [2]
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาเจ้าฟ้ามหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง
พระมารดาแม่เจ้านางเลิศอัครเทวี

พระประวัติ แก้

เจ้าหลวงมหาวงษ์ หรือ เจ้ามหาวงษ์ ทรงเป็นราชโอรสองค์โตในเจ้าฟ้ามหาพรหม เจ้าฟ้าเมืองเทิง ประสูติแต่แม่เจ้านางเลิศอัครเทวี (ผู้เป็นพระธิดาในเจ้าไชยราชากับแม่เจ้านางเทพ) ส่วนแม่เจ้านางเทพ (ผู้เป็นพระธิดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ กับแม่เจ้าเมืองเชียงใหม่อัครเทวี) และทรงเป็นพระปนัดดา(เหลน)ในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงมีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้ามารดา 8 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้ามหาวงษ์ ภายหลังเป็นได้ พระเจ้ามหาวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61
  2. เจ้าเมืองแก้ว
  3. เจ้าน้อยพิมพิสาร
  4. เจ้าวุฒนะ ภายหลังเป็นได้ เจ้าหลวงเมืองเทิง
  5. เจ้าสุริยช่อฟ้า
  6. แม่เจ้าอุบลวรรณา
  7. แม่เจ้าศรีวรรณา
  8. แม่เจ้าจันทิมา

พระอิสริยยศ แก้

  1. เจ้าพระเมืองมหาวงษ์
  2. เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์
  3. เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์

พ.ศ. 2381 เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์ ท่านก็ได้ลงไปเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กาลนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จิงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร แต่งตั้ง เจ้ามหาอุปราชามหาวงษ์ ให้เป็น เจ้าพระยาน่านมหาวงษ์ เจ้านครเมืองน่าน

พระชายา และราชบุตร แก้

เจ้ามหาวงษ์ ทรงมีพระชายา 2 องค์ และพระโอรส พระธิดา 5 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระชายาที่ 1 แม่เจ้ายอดทิพมโนลาอัครเทวี ประสูติพระโอรส 3 พระองค์ ดังนี้
  1. เจ้าอินปั๋น ภายหลังเป็น เจ้าบุรีรัตนหัวเมืองแก้ว เมืองน่าน
  2. เจ้าคำเครื่อง ภายหลังเป็น พระยาวังขวา เมืองน่าน
  3. เจ้าน้อยเมือง
  • พระชายาที่ 2 แม่เจ้าแปงเฮือนเทวี ประสูติพระโอรส 2 พระองค์ ดังนี้
  1. เจ้าพิมพิสาร
  2. เจ้าตุ้ย ภายหลังเป็น พระยาไชยสารวงศา เจ้าเมืองเทิง

กรณียกิจ แก้

เมื่อถึงปีพ.ศ. 2391 เจ้ามหาวงศ์ขึ้นครองเมืองน่าน ก็ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซ่อมแซมวัดต่าง ๆ สำหรับวัดพระธาตุแช่แห้งนั้น ท่านได้สร้างเจดีย์ขึ้น 4 องค์ ขึ้นเหนือปากขันหลวง มหาธาตุหลวงเจ้าภูเพียงแช่แห้ง 4 ด้าน ซ่อมแซมวิหารหลวง ศาลาบาตร ประตูโขลน ศาลานางป้อง ได้เชิญแกนเหล็กขึ้นใส่ เอาฉัตรและเกิ้งขึ้นแถมอีก 2 ใบ ดอกบัวเงิน 6 ดอก ดอกบัวคำ 6 ดอก สร้างกระดิ่งห้อย 10 ลูก สร้างพระพุทธรูป 3 องค์ แล้วทำบุญเฉลิมฉลอง

ราชตระกูล แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/1911_1.pdf จารึกมหาวงศ์ฯ ซ่อมพระธาตุแช่แห้ง ด้านที่ 1
  2. นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล)
  3. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 201
  4. ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน (ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช), หน้า 201
ก่อนหน้า พระยามหาวงษ์ ถัดไป
พระเจ้าอชิตวงษ์   เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61
และองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2381 - พ.ศ. 2394)
  พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช