เจ้ามโน

เจ้าเมืองน่าน

เจ้าหลวงมโนราชา หรือ เจ้าหนานมโน[5]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54 และองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2317

เจ้ามโนราชา
เจ้าฟ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 54 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก10 กันยายน พ.ศ. 2312[1]
ครองราชย์10 กันยายน พ.ศ. 2312 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2318
รัชกาล5 ปี 6 เดือน 3 วัน
ก่อนหน้าพระเจ้านายอ้าย
ถัดไปพระเจ้าวิธูรราชา
กษัตริย์พระเจ้ามังระ
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัย4 กรกฎาคม พ.ศ. 2327[2]
ณ เมืองเทิง
ถวายเพลิงพระศพ21 กรกฎาคม พ.ศ. 2327
ณ พระเมรุชั่วคราว สุสานหลวงเมืองเทิง
พระชายาแม่เจ้าเมืองเทิงอรรคราชเทวี[3]
พระราชบุตร2 พระองค์
พระนามเต็ม
เจ้าหลวงมโนราชา เจ้าเมืองน่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาเจ้าไชยราชา
พระมารดาแม่เจ้านางเทพ[4]

พระประวัติ

แก้

เจ้ามโน ประสูติ ณ เมืองเชียงใหม่ เป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าไชยราชา กับแม่เจ้านางเทพ (ราชธิดาในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์) มีพระเชษฐาและพระขนิษฐา ร่วมเจ้ามารดา 7 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้านายอ้าย ภายหลังเป็น พระเจ้านายอ้าย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 53
  2. เจ้าสุทธะ พระบิดาใน สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57
  3. เจ้ามโน ภายหลังเป็น พระเจ้ามโนราชา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54
  4. เจ้านางพิมพา เสกสมรสกับ เจ้านรินทร์ (ราชโอรสในพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์)
  5. เจ้านางโนชา
  6. เจ้านางเลิศ พระมารดาใน พระเจ้ามหาวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61
  7. เจ้านางศรีแก้ว

ราชโอรส ราชธิดา

แก้

เจ้าหลวงมโน มีพระชายา 1 องค์ มีนามว่า แม่เจ้าเมืองเถินเทวี ประสูติแต่ราชโอรส ราชธิดา 2 พระองค์

  1. เจ้าสุริยะกลางเวียง
  2. เจ้านางคำปิว[6]

กรณียกิจ

แก้
  • เจ้าหลวงมโน ท่านได้เป็นเจ้าเมืองน่านได้ 6 ปี จนถึง พ.ศ. 2317 ได้ส่ง เจ้าวิธูร ผู้เป็นพระนัดดา(หลาน) ให้ไปช่วย พระยาจ่าบ้านเชียงใหม่ พระยาลำพูน และพระยานครลำปาง ก็พากันฟื้นฟันม่านอันอยู่เวียงเชียงใหม่ ก็ใช้ไปขอเอากำลังเมืองอโยธยาขึ้นมารบม่านโปมวยหวานแลจะกายอันอยู่ยังเมืองเชียงใหม่นั้นแล ม่านก็หนีไปในกาลยามนั้นเจ้าวิธูรคือเจ้านาขวาลูกเจ้าอริยวงษ์ก็ได้ไปเอาราชการม่านในเมืองเชียงใหม่ ชาวใต้ก็ได้เจ้าน้อยวิธูรในเมืองเชียงใหม่ที่นั้นแล้ว ก็เอาลงไปเมืองนคร แล้วชาวใต้ก็ตั้งเจ้าน้อยวิธูรนั้นให้เป็ร เจ้าเสวยเมืองน่าน ใน พ.ศ. 2317[7]

พิราลัย

แก้

เจ้าหลวงมโนราชา เสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2327 ณ เมืองเทิง แล้วทำการปลงพระศพถวายพระเพลิง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2327 ณ สุสานหลวงเมืองเทิง

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

แก้
  1. ถนนมะโน

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า เจ้ามโน ถัดไป
พระเจ้านายอ้าย   เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54
และองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2317)
  พระเจ้าวิธูรราชา