เจ้ามหายศ[2] หรือ เจ้าหลวงมหายศ [3]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 59 และองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2378

เจ้ามหายศ
พระยาน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 59 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก24 พฤษภาคม พ.ศ. 2369
ครองราชย์6 กันยายน พ.ศ. 2368 - 30 มกราคม พ.ศ. 2378
รัชกาล9 ปี 4 เดือน 24 วัน
พระอิสริยยศพระยาประเทศราช
ก่อนหน้าเจ้าสุมนเทวราช
ถัดไปเจ้าอชิตวงษ์
พิราลัย30 มกราคม พ.ศ. 2378 ณ กรุงเทพฯ
พระชายาแม่เจ้าศรีวรรณาอัครเทวี
ชายา2 องค์
พระราชบุตร11 พระองค์
พระนามเต็ม
พระยามหายศราชบดี ไชยนันทบุรี พระยาน่าน
ราชสกุลมหายศนันทน์[1]
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
พระมารดาแม่เจ้าคำน้อยอัครเทวี

พระประวัติ

แก้

เจ้าหลวงมหายศ ทรงเป็นราชโอรสองค์โต ในเจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ประสูติแต่แม่เจ้าคำน้อยอัครเทวี (พระชายาที่ 1) ทรงมีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้ามารดา 5 พระองค์ ดังนี้

  1. เจ้ามหายศ ภายหลังได้เป็น พระเจ้ามหายศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 59
  2. ถึงแก่กรรม
  3. แม่เจ้าประภาวดี
  4. แม่เจ้ามี
  5. แม่เจ้าหล้า

พระชายา ราชบุตร

แก้

 เจ้ามหายศ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 59 ทรงมีพระชายา 3 องค์ และพระโอรส/พระธิดา 11 พระองค์ ดังนี้ [4]

  • พระชายาที่ 1 แม่เจ้าศรีวรรณาอรรคราชเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 7 องค์ ดังนี้
    1. เจ้าหนานเทพ
    2. เจ้าจันต๊ะ ภายหลังได้เป็น พระยาวังขวา นครเมืองน่าน
    3. เจ้านางสุพรรณ
    4. เจ้านางกรรณิกา
    5. เจ้านางสุธรรมา
    6. เจ้านางคำแปง
    7. เจ้านางยอดหล้า เสกสมรสกับ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63
  • พระชายาที่ 2 แม่เจ้าพมงาราชเทวี ประสูติพระโอรส/พระธิดา 2 องค์ ดังนี้
    1. เจ้าน้อยเครื่อง
    2. เจ้านางเกียงเเก้ว
  • พระชายาที่ 3 แม่เจ้าบัวแสงเทวี ประสูติพระโอรส 2 องค์ ดังนี้
    1. เจ้ามหาไชย ภายหลังได้เป็น เจ้าอุตรการโกศล นครเมืองน่าน
    2. เจ้ามหาวงษ์

อิสริยยศ

แก้
  • เจ้าราชวงษ์
  • เจ้าพระยาน่าน (พ.ศ. 2368)

เครื่องยศ

แก้

ครั้นเมื่อเจ้าราชวงษ์มหายศ ลงมาเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2368 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา เจ้าราชวงษ์มหายศ ขึ้นเป็น เจ้าพระยาน่าน (มหายศ)

เจ้าหลวงมหายศ ได้รับพระราชทานเครื่องยศ [2]ดังนี้

  1. พานพระศรีคำ 1 ใบ
  2. จอกคำ 2 ใบ
  3. ผะอบยาสูบคำ 2 อัน
  4. ซองพลูคำ 1 อัน
  5. มีดด้ามคำ 1 อัน
  6. อุบนวดคำ 1 ใบ
  7. คนโทคำ 1 ลูก
  8. กะโถนคำ 1 ลูก
  9. พระกลดแดงดอกคำ 1 ใบ

กรณียกิจ

แก้

ด้านถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี

แก้
  1. เมื่อปี พ.ศ. 2388 เจ้ามหาวงศ์ ได้ถวายช้างสําคัญแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ช้างมาถึงกรุงเทพตรงกับวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2388 ความว่า

“พระยาน่านถวายช้างพังเล็บครบช้าง ๑ ลงมาถึงกรุงเทพมหานคร ณ วันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ํา พระราชทานชื่อขึ้นระวางว่า "พระบรมนาเคนทรนขา”

(เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, ๒๕๔๖: ๑๑๗)

ด้านปกครองบ้านเมือง

แก้

พ.ศ. 2369 เจ้าหลวงมหายศ เจ้านครเมืองน่านราชโอรส สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ ที่เวียงจันทน์ พร้อมกับเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน นครลำปาง และเมืองแพร่ จนปราบกบฎได้สำเร็จ

26 กันยายน พ.ศ. 2368 พระมหากระษัตริย์จิงตั้งเจ้าราชวงษ์ตนชื่อมหายศ ตนเปนบุตรเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ขึ้นเปน พระยาน่าน แทนหั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าก็พระราชทานเครื่องยศหื้อเหมือนดังพระยาน่านตนเก่าหั้นแล เจ้าหลวงมหายศครั้นว่าได้รับพระราชทานเครื่องยศเปนเจ้าพระยาน่านแล้ว ก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้าขึ้นมาเถิง เมืองแล้ว ท่านก็มายั้งพักอยู่ตำหนักดอนไชยเวียงเก่าที่นั้น เถิงเดือน 11 ลง 8ค่ำ ท่านก็เสด็จขึ้นสถิตย์อยู่ในมงคลนิเวศน์ที่ เก่าท่านก่อน ในต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 มหาขัติยราชวงษาเสนาอามาตย์ทั้ง หลาย ก็อาราธนาเชิญท่านขึ้นสถิตย์สำราญในราชนิเวศน์โรงหลวง แทนเจ้าสุมนเทวราชสร้างไว้นั้นแล

เถิงจุลศักราชได้ 1188 ตัวปีรวายเสร็จเดือน 6 ลง 6 ค่ำท้องตราพระราชสีห์เรียงลำดับหัวเมือง เมืองพิไชยส่งขึ้นมาเถิงเมืองน่าน ว่าเจ้าอนุเวียงคิดขบถต่อพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ หื้อพระยาน่านได้เกณฑ์กองทัพ ๕๐๐๐ คน ไว้ จักยกเข้าไปตีเอาเมืองจันทบุรี

เถิงจุลศักราชได้ 1186 ตัวปีกาบสันเดือน ๕ ลง ๕ ค่ำ ท่านก็หื้อป่อคุ้มแก้วด้านลางยาว ๗๙ วา ลางขวางมี ๗๐ วาแล

อยู่มาเถิงเดือน ๖ ลง ๑๔ ค่ำ ข้าหลวงชื่อแผงสด้านถือท้องตราขึ้นมาเร่ง ยกทัพไปตีเอาเวียงจันทบุรีให้ทัน พร้อมกับ เมืองเชียงใหม่ ลำพูน นคร เมืองแพร่ ว่าสันนี้ เถิงเดือน ๖ ลง ๔ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงมหายศจิงเกณฑ์หื้อเจ้าราชวงษ์เปนแม่ทัพ น่า คุมกำลังคน ๑๐๐๐ คน ยกออกจากเวียงไปตั้งเมืองโต่งเกณฑ์หื้อเจ้าพระเมืองแก้วคุมกำลังคน ๕๐๐ คน ยกไปทางน้ำปาด หื้อบังคับกองทัพนครเชียงใหม่ลำพูน ดังอาชญาเจ้าหลวงยกกำลังคน ๓๕๐๐ คนออกไปยั้งเอาไชยที่ตำหนักดอนไชยในวัน อังคารเดือน ๗ ลง ๑๑ ค่ำ ยามกองแลง จุลศักราชได้ ๑๑๘๘ ตัวปีรวายเสร็จนั้นแล เถิงวันศุกร์เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ อาชญาเจ้า หลวงมหายุวราชก็ยกรี้พลศึกออกไปตั้งเมืองโต่ง ไปเถิงเมืองพานพร้าวในเดือน ๙ ลง ๕ ค่ำหั้นแล ดังกระษัตริย์เจ้าวังน่าแล ไทยลาวหัวเมืองทั้งมวลก็ไปอยู่เมืองพานพร้าวหั้นนับเสี้ยงแล ดังเจ้าอนุเวียงจันท์แลบ้านเมืองไพร่พลทั้งมวล รู้ว่าทัพใหญ่ เมืองใต้ยกเข้าไปสันนั้น ก็แตกตื่นกระจัดกระจายหนี ดังเจ้าอนุก็ลงเรือไปออกท่าสีดาแล้ว ก็หนีเข้าไปเมืองพวนหั้นแล มหา กระษัตริย์วังน่าจิงมีอาชญาหื้อกองทัพหัวเมืองทั้งมวลข้ามไปตั้งอยู่เมืองจันท์แล้ว หื้อไปกวาดเอาครอบครัวพวกพระยาสุปาก เพียวแลครัวเมืองเวียงจันท์ ซึ่งอันจะแตกตื่นไปลี้อยู่ขอกบ้านแคมเมืองนั้น มาหื้อได้

นับเสี้ยงหั้นแล ครั้นว่ากองทัพหัวเมืองทั้งหลายไปกวาดเอามาได้แล้วก็เอาไปถวายพระมหากระษัตริย์เจ้าวังน่าหั้นแล้ว ก็ ส่งไปเมืองใต้หั้นแล ดังเมืองน่านได้คนครัวมาถวาย ๑๒๐๐ ครัว ดังพระยาราชสุภาวดีท่านขึ้นมาทางเมืองปาจิณ เถิงเมืองบา สัก มาเถิงเวียงพานพร้าว เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ มหากระษัตริย์เจ้าวังน่าก็เสด็จลงไปเมืองใต้หั้นแล ในเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๒ ค่ำ พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพพระราชทานคนครัวเมืองจันท์หื้ออาชญาเจ้าหลวงเมืองน่าน ๔๓๘ คนหั้นแล อาชญาเจ้าหลวงท่านก็ เลิกยกทัพขึ้นมาเมืองจันท์พานพร้าว มาเถิงเมืองน่านเดือนเจียงลง ๑๓ ค่ำหั้นเซิงลาวเมืองหล่มเมืองเลย แก่นท้าวนำปูนรำจำ พยองน้ำปาดก็แตกตื่นเข้ามาเมืองน่าน มาพึ่งอาชญาเจ้าหลวงน่านหั้นแลเราท่านก็มาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่พึ่งสมภารเจ้า หลวงน่านที่นี้แล ยังแต่เมืองหลวงพระบางบ่เข้ามาเทือะ เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าก็บ่ไว้วางใจได้ เหตุด่านต่อแดนเมือง พวนอันหนึ่ง ดังเจ้าอนุเวียงจันท์ก็บ่ได้ตัวเทือะ จิงมีท้องตราขึ้นมาว่า หื้อพระยาพิไชยคุมกำลังคน ๕๐๐ คน ยกขึ้นเมืออยู่รักษา เมืองหลวงพระบาง แลมีตราโปรดขึ้นมาเมืองน่าน ว่าหื้อพระยาน่านเกณฑ์คนไปอยู่รั้งฟังราชการในเมืองหลวงพระบางอย่า ให้ขาด มีโปรดประการนั้น

เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๘๙ ตัวเมิงไก๊เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ อาชญาเจ้าหลวงก็หื้อแสนศิริสงครามคุมคน ๖๐ ไปอยู่รั้งฟัง ราชการเมืองหลวงพระบางกับพระยาก่อนหั้นแล

เถิงเดือน ๖ ลง ๑๐ ค่ำ พระยาพิไชยรณฤทธิ์ถือตราขึ้นมาว่า เร่งจัดเอาคนครัวลาวซึ่งอันขึ้นมาพึ่งอยู่ยังเมืองน่าน อาญาเจ้าหลวงก็เกณฑ์ขัติยท้าวขุนไพร่ ๑๔๔ คนคุมคนครัวลาวส่งไปทางเมืองแพร่ ในศักราช ๑๑๙๐ ตัว ปีเบิกไจ๊เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำนั้นแล เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๒ ค่ำพระยาพิไชยรณฤทธิ์เลิกจากเมืองน่านไปทางเมืองแพร่แล ดังพระยาเชียงของตนเถ้าก็ เถิงอนิจกรรมในพรรษานั้น เดือน ๑๑ ลง ๑๒ ค่ำหม่อมน้อยแต่งหื้อราชาศรีวิไชยแลท้าวปราการไชย นำราชบรรณาการลงมา เถิงเมืองน่าน เถิงเดือน ๑๒ ลง ๔ ค่ำ หลวงไชยยศข้าหลวงถือตราขึ้นมาว่าหื้อเมืองน่านเกณฑ์กองทัพไปเมืองหลวงพระบาง เถิงเดือนเจียงลง ๑๓ ค่ำอาชญาเจ้าหลวงมหายศก็เกณฑ์หื้อเจ้าพระเมืองราชาพระยาแสน คุมคน ๖๕๐ คนยกไปรักษาเมือง หลวงพระบาง เถิงเดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำท่านซ้ำเกณฑ์เจ้าพระเมืองไชยราชาพระแขงคุมคน ๖๔๐ คน ยกไปเมืองหลวงพระบาง แถมเถิงเดือนยี่ลง ๑๑ ค่ำ หื้อแสนกันธนัญไชยแสนจิตมโนคุมคน ๓๐๐ ไปฟังราชการฝ่ายเมืองเวียงจันท์ ไปตั้งอยู่ปากลายอยู่ กับพระลับแล ตัวแสนจิตมโนลงไปเมืองเวียงจันทร์ เถิงท่านพระยาราชสุภาวดี แสนจิตมโนก็แจ้งการกลับขึ้นมาตั้งอยู่สาม หมื่นเมืองเฟืองกวาดเอาต้อนเอาครอบครัวที่นั้น อาชญาเจ้าหลวงได้รู้แจ้งว่า แสนจิตมโนขึ้นมาตั้งอยู่สามหมื่นหนองแก้วหาด เดือย ท่านจิงเกณฑ์เจ้าสุริยคุมคน ๓๐๐ ยกไปทวยหาแสนจิตมโน เดือน ๔ ลง ๑๑ ค่ำเจ้าสุริยไปเถิงแสนจิตมโนแล้วก็พร้อม กันกวาดเอาคนครัวเวียงจันท์ ซึ่งอันแตกขึ้นมาตั้งอยู่สามหมื่นเมืองเฟืองหนองแก้วหาดเดือยได้ ๓๐๐๐ ครัว ส่งเข้ามาหาพระลับแลอันตั้งอยู่ปากลาย ดังพระ ยาพิไชยรณฤทธิ์ก็ให้พระมหาสงครามลงมาอยู่ปากลายที่นั้น พระมหาสงครามก็แบ่งคนครัวให้เจ้าสุริย ๑๗๐ คน ปันให้แสน ธนัญไชย ๖๑ คนหั้นแล ดังพระยาพิไชยรณฤทธิ์อยู่เมืองหลวงพระบาง ก็รู้ข่าวว่าเจ้าอนุเวียงจันท์เอาตัวลี้อยู่ในแขวงเมือง พรวน จิงแต่งหื้อพระยาแสนกับพระยาลับแล คุมคน ๑๗๐ คนยกเข้าไปเสาะสืบ ก็รู้เปนแน่แล้ว ก็ยกเข้าไปจับเอา ก็ได้ตัวเจ้า อนุกับนางคำปองได้ ในเดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำเวลากลางคืน ก็คุมเอาตัวเจ้าอนุแลนางคำปองลงไปเถิงพระยาราชสุภาวดียังเมือง เวียงจันท์แล้ว พระยาราชสุภาวดีก็พระราชทานคนครัวหื้อพระยาแสน ๓๐ คนเปนความชอบหั้นแล เถิงศักราชได้ ๑๑๙๑ ตัวปีกัดเป๋าเดือน ๑๒ ลง ๑๓ ค่ำวันเสาร์ยามทูตซ้าย อาชญาเจ้าหลวงมหายศก็พาเอาขัติยรา ชวงษาลงไปพิดทูลเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้า ท่านก็ทูลตั้งเจ้ามหาวงษ์ พระเมืองไชยตนเปนน้า หื้อเปนเจ้ามหาอุปราชาฮ่อ ตั้งนายหนานรามเสนบุตรพระยาเชียงของ หื้อเปนพระยาเชียงของ ตั้งพระยาเชียงแขง ตั้งพระยาเมืองหลวง พระยาภูคาครั้งนั้นแล้ว ท่านก็กลับคืนมาเมืองดังพระยาเชียงของก็ขึ้นเมืออยู่เมืองเชียงของที่นั้นแล

อยู่มาพระยาเชียงของรามเสนก็ใช้ไปขันปันลูกสาวหื้อเจ้าราชวงษ์เมืองเชียงใหม่ เจ้าหลวงมหายศได้รู้จิงเอาลูกสาว พระยาเชียงของชื่อพิมพาผู้อัน ท่านจักเอาไปหื้อเชียงใหม่นั้นเอามาเปนลูก ดังพระยาเชียงของได้เข้ามาอยู่เมืองน่านเสี้ยงไป ๒ พระยา เถิงถ้วน ๓ เจ้ารามเสนนี้ก็ไปขันปันลูกสาวหื้อเจ้าต่างประเทศเมือ เช่นพระยาศรีวิไชยนั้นก็ไปขันปันหลานสาวหื้อเจ้า เมืองเวียงจันท์ เช่นพระยาอริยะเถ้านั้นก็ว่าจักคิดหื้อลูกไปสืบสัญไชยไมตรีเมืองหลวงพระบาง จนได้หมายไว้มีสิ้นแล ดังเจ้าหลวงมหายศท่านได้เสวยราชสมบัติเปนเจ้านครเมืองน่านได้ ๑๐ ปี เถิงจุลศักราชได้ ๑๑๙๗ ตัวปีดับเม็ด ท่านได้ลงไปเฝ้าพระ มหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ก็ลวดได้บังเกิดด้วยพยาธิอันหนักแล้ว ท่านก็เถิงแก่อสัญกรรมไปในเมืองใต้ที่นั้นวันนั้นแล ได้ ๙ ชั่วเช่นวงษาแลผิจักนับแต่เจ้าขุนฟองมา ก็ได้ ๕๙ เช่นตนกินเมืองแล

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

แก้
  1. ถนนมหายศ

ราชตระกูล

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า พระยามหายศ ถัดไป
พระเจ้าสุมนเทวราช   เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 59
และองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2378)
  พระเจ้าอชิตวงษ์