พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 39 ทรงขึ้นครองน่านในปี พ.ศ. 2103 ต่อจากพระยาพลเทพฦๅไชย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 38 ที่หนีกองพม่าไปเมืองล้านช้าง

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 39
(ภายใต้การปกครองของพม่า)
ราชาภิเษกพ.ศ. 2103
ครองราชย์พ.ศ. 2103 - พ.ศ. 2134
รัชกาล31 ปี
ก่อนหน้าพระยาพลเทพฦๅไชย
ถัดไปเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์
ประสูติเมืองเชียงใหม่
พิราลัย25 มิถุนายน พ.ศ. 2134
เมืองน่าน
พระมเหสีพระนางแสดพลัวเทวี
พระราชบุตร4 พระองค์

พระประวัติ

แก้

พ.ศ. 2103 เจ้าฟ้าหงษามังตรายกทัพมาตีเมืองน่านได้ พระยาพลเทพฤๅไชยต้องหนีไปหลวงพระบาง เมืองน่านว่างผู้ปกครองเมือง เจ้าฟ้ามังตราจึงส่งพระญาหน่อคำไชยเสถียรสงครามมาครองเมืองน่านต่อ[1] ภายใต้อำนาจของพม่าผ่านทางเมืองเชียงใหม่

พระกรณียกิจ

แก้

1. จัดระบบข้าพระธาตุแช่แห้งใหม่

  • ในปี พ.ศ. 2107 - พ.ศ. 2119 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงจัดระบบข้าพระธาตุ เช่น ติดตามหาข้าพระธาตุที่หลบหนี จัดซื้อข้าพระธาตุเพิ่มเติม และบัญญัติกฎกติกา ของข้าพระธาตุ และทรงจัดระบบศาสนสมบัติ ที่มีผู้นํามาบูชาพระธาตุแช่แห้ง

2. สร้างศาสนสถานในนครน่าน

  • ในปี พ.ศ. 2114 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงโปรดให้สร้างพระวิหารคลุมเจดีย์ทิพย์ สร้างวิหารวัดช้างกองสนุก สร้างวิหารมหาโพธิ สร้างวิหารมหาพรหม สร้างกุฏิวัดพระแก้ว วัดพญาวัด วัดภูมินทร์ วัดอุทยานน้อย และสร้าง เจดีย์ข่มหงส์ วัดหัวข่วง[2]

3. กําหนดให้บูชาพระธาตุแช่แห้ง ในวันเพ็ญ เดือน ๖ เหนือ (สืบมาจนถึงปัจุบัน)

  • ในปี พ.ศ. 2119 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ได้ทรงกําหนดให้มีการบูชา พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ เป็นประจําทุกปี

4. สร้างศาสนสถานในวัดพระธาตุแช่แห้ง

  • ในปี พ.ศ. 2122 พระยาหน่อคําเสถียรไชยสงคราม เจ้าเมืองน่าน ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถ บ่อน้ํา วิหาร และให้สร้างทางเดินสู่วัดพระธาตุแช่แห้ง ยาว 1,300 วา กว้าง 60 วา และสร้างศาลาเข้าพระธาตุ วิหารน้อย และอุโบสถจนแล้วเสร็จรวมระยะทางทั้งสิ้น 1,600 วา

พระราชบุตร

แก้

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงครามทรงมีพระชายา 1 องค์ คือ พระนางแสดพลัวเทวี ประสูติพระโอรส 4 พระองค์ ดังนี้[3]

  1. เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ภายหลังเป็น พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 40
  2. เจ้าน้ำบ่อ
  3. เจ้าศรีสองเมือง ภายหลังเป็น พระยาพลศึกซ้ายไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 42 ต่อมารับการโปรดเกล้าฯ จากพระมหากษัตริย์พม่าให้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2158 - พ.ศ. 2174 เป็นเวลา 17 ปี
  4. เจ้าอุ่นเมือง ภายหลังเป็น พระเจ้าอุ่นเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 43

พิราลัย

แก้

พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2134 รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองน่าน 31 ปี เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ผู้เป็นพระโอรสองค์ใหญ่จึงขึ้นครองเมืองน่านสืบต่อมา

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม

แก้
  1. ถนนหน่อคำ

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ถัดไป
พระยาพลเทพฦๅไชย   พระยาหลวงน่าน
(พ.ศ. 2103 - 2134)
  เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์