พระยากากวรรณาทิปะราชวชิรปราการ[2] หรือ พระยาพุทธวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2389 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผู้คนมาเป็นประชากรของเมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ

พระยาพุทธวงศ์
พระยานครเชียงใหม่
ครองราชย์20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2389[1]
รัชสมัย20 ปี
ก่อนหน้าพระยาคำฟั่น
ถัดไปพระเจ้ามโหตรประเทศ
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชพระยามหาวงส์
พระยาอุปราชนครเชียงใหม่
ดำรงพระยศพ.ศ. 2367 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369
ก่อนหน้าพระยาคำฟั่น
ถัดไปพระยามหาวงส์
เจ้าหลวงพระยาคำฟั่น
พิราลัยมิถุนายน พ.ศ. 2389
ราชเทวีแม่เจ้าปินตอง
พระนามเต็ม
พระยากากวรรณาทิปะราชวชิรปราการ
พระบุตรเจ้าราชบุตร (ธนัญไชย)
เจ้าหนานปัญญา
เจ้าน้อยขี้วัว
เจ้าน้อยขี้ควาย
เจ้าน้อยขี้ช้าง
เจ้าหญิงเฮือนคำ
เจ้าหน่อแก้ว
เจ้าหญิงศิริวรรณา
เจ้าหญิงสุนันทา
ราชสกุลณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระราชบิดาเจ้าพ่อเรือน
พระราชมารดาแม่เจ้าจันทาราชเทวี

พระราชประวัติ

แก้

พระยาพุทธวงศ์ หรือ เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น[3] มีนามเดิมว่านายพุทธวงศ์ เป็นเจ้าโอรสองค์ใหญ่ของนายพ่อเรือน พระราชอนุชาในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ผู้ครองนครลำปางกับแม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับแม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ต้นราชวงศ์ทิพย์จักร (เชื้อเจ้าเจ็ดตน)

พระยาพุทธวงศ์ มีพระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 5 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4
  • เจ้าราชวงศ์ (คำมูล), เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ - เจ้าปู่ในเจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ หนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้าปู่ทวดในแม่เจ้าส่วนบุญ ในพลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
  • เจ้าบุรีรัตน์ (กาวิละ), เจ้าบุรีรัตน์นครเชียงใหม่ - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง ชายาในเจ้ามหาพรหม ณ เชียงตุง ราชโอรสองค์ที่ 6 ในเจ้าฟ้าชายสามจุฬามณีสิริเมฆภูมินทร์ เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง องค์ที่ 1
  • เจ้าคำลือ
  • เจ้าสนธนา - ชายาในพระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง

เมื่อพระยาอุปราชคำฟั่นได้รับการสถาปนาเป็นพระยาเชียงใหม่ เจ้าพุทธวงศ์ได้รับสถาปนาเป็นพระยาอุปราชเชียงใหม่แทนเมื่อวันที่ 31 มกราคม[4] จ.ศ. 1185 ปีมะแม[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2367) เมื่อพระยาเชียงใหม่คำฟั่นถึงแก่อนิจกรรม เจ้านายและขุนนางเชียงใหม่จึงทูลเชิญพระยาอุปราชพุทธวงศ์ขึ้นสืบราชสมบัติในวันที่ 20 พฤษภาคม[5] จ.ศ. 1188 ปีจอ[2] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2369) แต่พระยาพุทธวงศ์ยังคงประทับที่คุ้มเดิมหน้าวัดพระสิงห์ แม้จะได้รับทูลเชิญให้ประทับที่หอคำ ก็เกรงบารมีพระประยูรญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จึงให้สร้างหอเทียมขึ้นทางทิศใต้ของหอคำ ประทับที่หอคำได้ 7 วันรับราชาภิเษกแล้วย้ายไปประทับที่หอเทียม เฉลิมพระนามว่าภูมิปาลรัฏฐาธิปติ[6]

พระยาพุทธวงศ์ ป่วยถึงแก่อสัญกรรมในเดือน 7 ปีมะเมีย จ.ศ. 1208[7] (ราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389)

ราชโอรส ราชธิดา

แก้

พระยาพุทธวงศ์ มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม 9 พระองค์ อยู่ในณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าราชบุตรหนานธนัญไชย, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงทิพโสม ณ เชียงใหม่ พระชายาในเจ้าหนานมหาเทพ ณ เชียงใหม่ เจ้าราชโอรสในพระเจ้ามโหตรประเทศ
  • เจ้าหนานปัญญา
  • เจ้าน้อยขี้วัว
  • เจ้าน้อยขี้ควาย - เจ้าบิดาในเจ้าหญิงศรีกุย ณ เชียงใหม่ พระชายาในเจ้าหนานสมมนุษย์ ณ เชียงใหม่ เจ้าราชนัดดาในพระเจ้ากาวิละ
  • เจ้าน้อยขี้ช้าง
  • เจ้าหญิงเฮือนคำ
  • เจ้าหน่อแก้ว สมรสด้วย เจ้าคำมูล ธิดาเจ้าหลวงอินทวิไชย (อินต๊ะวิไชย)เจ้าผู้ครองนครแพร่ ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์แสนซ้ายปลูกคุ้มอยู่ริมลำน้ำปิงที่เมืองตาก(ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงแรมเวียงตาก) ดูแลธุรกิจสัมปทานค้าไม้สักทองที่ล่องมาตามลำน้ำปิง (แต่เดิมธุรกิจสัมปทานค้าไม้สักทองในมณฑลพายัพ ทางการสยามจะอนุญาตให้เฉพาะเชื้อพระวงศ์และเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้ดูแลเท่านั้น)ทั้งสองมีบุตรและธิดารวม ๓ คน คือ ๑ ร้อยโทเข่ง(ยศในขณะนั้น) ๒ นายขุนทอง(นายสรรพสามิตใหญ่แห่งกาญจนบุรี) และ ๓ นางทองอยู่

ภายหลังล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าพระราชทานนามสกุลให้ร้อยโทเข่งผู้รับราชการทหารตำแหน่งผู้รั้งผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กรมทหารพรานในกองพลทหารบกที่ ๖ ณ เวลานั้น คือ “บุณยปรรณานนท์” ร้อยโทเข่งจึงได้ให้น้องทั้งสองใช้นามสกุลนี้ และเป็นต้นตระกูลและสืบต่อจนกาลปัจจุบัน

  • เจ้าหญิงศิริวรรณา
  • เจ้าหญิงสุนันทา สุริโยดร - เจ้ามารดาในเจ้านิเวศน์อุดร (น้อยบุญปั๋น สุริโยดร) แห่งนครเชียงใหม่ นับเป็นต้นราชตระกูล "สุริโยดร" เนื่องจากขุนบรรณสารโลหะกรรม (เจ้าน้อยอินทร์ทอง สุริโยดร) เจ้านัดดา (หลานยาย) ของเจ้าหญิงฯ ขอพระราชทานนามสกุล จาก ร.6

การครองเมืองเชียงใหม่

แก้
เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
 พระเจ้ากาวิละ
 พระยาธรรมลังกา
 พระยาคำฟั่น
 พระยาพุทธวงศ์
 พระเจ้ามโหตรประเทศ
 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
 พระเจ้าอินทวิชยานนท์
 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
 เจ้าแก้วนวรัฐ

ด้านเศรษฐกิจ ในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ หรือเจ้าหลวงแผ่นดินเย็น นับได้ว่าเป็นช่วงที่ไม่มีศึกสงคราม มีความเจริญทางเศรษฐกิจ กำลังการผลิตของประชากรมากขึ้น แหล่งเพาะปลูกกว้างขวาง ข้าวของเครื่องใช้เริ่มจะละเมียดละไมขึ้น ข้าวปลาอาหารที่เคยผลิตหรือจัดหาเพื่อความอยู่รอดในช่วงก่อนหน้านั้น เริ่มมีมากขึ้นจนเหลือเฟือในบางครั้ง ซึ่งตลาดก็เริ่มมีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า จากตลาดนัดกลายเป็นตลาดที่มีสินค้านานาชนิด โดยเฉพาะตลาดกลางการค้าขายบริเวณหน้าวัดพระสิงห์ และขยายไปยังตลาดที่ถนนท่าแพในปัจจุบัน

มีเส้นทางการค้าขายหลัก 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบก (มะละแหม่ง-ล้านนา-รัฐฉาน-ยูนนาน) และเส้นทางเรือ (ลำน้ำปิง กรุงเทพฯ-ล้านนา)

ด้านการศึกษา ในช่วงแรกยังเป็นการศึกษาในรูปแบบเดิมคือการฝึกอาชีพหรือการดำรงชีวิตตามความชำนาญในครอบครัว หรือเรียนตามสนใจของแต่ละคน ส่วนการศึกษาที่เป็นระบบนั้น จะเป็นรูปแบบของการเรียนในวัด ซึ่งไม่แตกต่างไปจากรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ แต่ที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ จำนวนวัด และจำนวนพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้น และมีการคัดลอกคัมภีร์ใบลานต่างๆ มากขึ้นตามไปด้วย

โดยรวมแล้วในรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ เป็นช่วงที่นครเชียงใหม่มีความเจริญและรับรู้ถึงชนชาติอื่นและการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น มีการสัมพันธ์กับอังกฤษ และรู้จักการบริหารที่ไม่ใช้กำลังในการทำศึกสงคราม นับเป็นจุดเปลี่ยนของนครเชียงใหม่ เข้าสู่กระแสการบริหารและการเศรษฐกิจของโลก[3]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 16
  2. 2.0 2.1 2.2 พงศาวดารโยนก, หน้า 450
  3. 3.0 3.1 เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  4. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 215
  5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, หน้า 222
  6. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 168
  7. พงศาวดารโยนก, หน้า 454
บรรณานุกรม
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
  • ประชากิจกรจักร, พระยาพงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0
  • อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683


ก่อนหน้า พระยาพุทธวงศ์ ถัดไป
พระยาคำฟั่น   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(20 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - มิถุนายน พ.ศ. 2389)
  พระเจ้ามโหตรประเทศ