พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร[1] ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"[2] ในแง่พฤติการณ์แล้ว พระองค์ถือเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ทรงอำนาจมากที่สุดในบรรดาทุกองค์ และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 5 (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ | |||||
ครองราชย์ | เจ้านครเชียงใหม่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 - 2404 พระเจ้านครเชียงใหม่ พ.ศ. 2404 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 | ||||
รัชสมัย | 14 ปี | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้ามโหตรประเทศ | ||||
ถัดไป | พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | ||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
อุปราช | เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ) | ||||
พิราลัย | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 | ||||
ราชเทวี | เจ้าอุษา | ||||
| |||||
พระบุตร | เจ้าทิพเกสร เจ้าอุบลวรรณา | ||||
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ | ||||
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร | ||||
พระบิดา | พระเจ้ากาวิละ | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าโนจา |
พระประวัติ
แก้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหนานสุริยวงศ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้ากาวิละกับแม่เจ้าโนจา ในปี พ.ศ. 2368 ได้รับอิสริยยศเป็น "พระยาเมืองแก้ว"[3] เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น "เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่"[4] เมื่อลงมาเข้าเฝ้าในปี พ.ศ. 2404 ก็ได้รับเพิ่มยศเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ในพระราชทินนามดังนี้ว่า "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิเดชศรี โยนางคดไนย ราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่"[5]
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา รวม 5 องค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต ณ เชียงใหม่) - เจ้าไปยกา (ตาทวด) ของหม่อมทิพวัน กฤดากร ณ อยุธยา และหม่อมศรีนวล กฤดากร ณ อยุธยา ในพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
- พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6
- เจ้าหนานมหาวงศ์ - พระอัยกา (เจ้าปู่) ในเจ้าจอมมารดาทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5 และ พระไปยกา (เจ้าตาทวด) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี
- เจ้าคำใส
- เจ้าหนานไชยเสนา
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2397 จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 16 ปี
พระธิดา
แก้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์มีพระธิดากับเจ้าอุษา รวม 2 องค์ ดังนี้
- เจ้าทิพเกสร - พระชายาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเป็นพระมารดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เจ้าอุบลวรรณา - เจ้าแม่ของเจ้ากรรณิการ์ พระอัยยิกา (เจ้าย่า) ในเจ้าศิริมา ณ เชียงใหม่ พระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี
ราชกรณียกิจ
แก้เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร | |
---|---|
พระเจ้ากาวิละ | |
พระยาธรรมลังกา | |
พระยาคำฟั่น | |
พระยาพุทธวงศ์ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงปกครองนครเชียงใหม่ และทำนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังทรงจัดสร้างระฆังชุดใหญ่น้ำหนักทอง 2,095,600 ตำลึง ถวายแด่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ในปี พ.ศ. 2403 และเป็นผู้จัดตั้งข้อบัญญัติสำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีความ ณ เค้าสนามหลวง[2]
ในปี พ.ศ. 2406 กลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือรวมหัวกันกล่าวโทษพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ว่าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกห่างกรุงเทพ โดยทรงถวายสิ่งของต่อกษัตริย์พม่าและกษัตริย์พม่าก็ถวายสิ่งของตอบ ทางกรุงเทพได้เรียกตัวพระองค์มาทำการชี้แจง พระเจ้ากาวิโลรสได้เสด็จลงกรุงเทพพร้อมพระญาติ แต่ด้วยไหวพริบของพระองค์ พระเจ้ากาวิโลรสถือโอกาสพาตัวเจ้าเมืองหมอกใหม่เข้าถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นข้าขอบขันฑสีมากรุงเทพ นับเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
ในนิพนธ์เรื่อง เครื่องม้าอะแซหวุ่นกี้ ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุว่า พระเจ้ากาวิโลรสทรงถวายสมบัติเครื่องยศจากกษัตริย์พม่าแก่รัชกาลที่ 4 แต่ถูกปฏิเสธ ในเวลานั้นมีมหรสพสมโภชพระราชธิดาพอดี พระเจ้ากาวิโลรสจึงถวายสร้อยนั้นสมโภชพระราชธิดา เป็นเหตุให้รัชกาลที่ 4 ทรงตั้งพระนามพระราชธิดาองค์นั้นว่า "พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์"
ใน พงศาวดารโยนก ระบุว่า บรรดาสิ่งของเครื่องยศจากกษัตริย์พม่ามีแหวนและผ้าด้วย โดยรัชกาลที่ 4 ทรงรับแหวนทับทิมไว้วงเดียวเพื่อรักษาน้ำใจ และจากการสอบสวนพบว่า "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ยังหามีความผิดเปนข้อใหญ่ไม่ ขอพระราชทานให้กลับขึ้นไปรักษาอาณาเขตปกครองญาติพี่น้องบุตรหลาน ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป..."[6] เห็นได้ว่าแม้สยามจะมีโอกาสเข้าแทรกแทรงล้านนาเพื่อลดอำนาจของเจ้านาย แต่ก็ไม่อาจทำการอย่างผลีผลามเพราะพระเจ้ากาวิโลรสเป็นพระเจ้าประเทศราชที่ทรงอำนาจ
ในด้านการปกครองทรงเข้มแข็งเป็นที่เกรงขาม แม้แต่รัฐบาลสยามก็ยังมิอาจล่วงเกินกิจการภายในของนครเชียงใหม่ได้ แต่พระเจ้ากาวิโรรสฯ ก็มิได้โปรดให้มีการเผยแพร่ศาสนาอื่นในนครเชียงใหม่ และได้ทรงสั่งประหารชีวิตคริสต์ศาสนิกชน 2 คน ในปี พ.ศ. 2411
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายพระเศวตวรวรรณ เป็นช้างในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2412[7]
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
แก้พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ 2.0 2.1 บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) อดีตลานนา กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 1 อักษร ก, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549, หน้า 344
- ↑ พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1, หน้า 458
- ↑ "พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 111
- ↑ พระยาประชากิจกรจักร. พงศาวดารโยนก. 2515.
- ↑ "พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย", หน้า 118
ก่อนหน้า | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้ามโหตรประเทศ | เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2399 — 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413) |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ |