เจ้าจอมมารดาทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมมารดาทิพเกษร[1][2] หรือสะกดว่า ทิพเกสร[3] เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือจากนครเชียงใหม่ เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระชนนีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี

เจ้าจอมมารดา

ทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมมารดาทิพเกษร (ขวา) กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี (ซ้าย)
เสียชีวิต3 มีนาคม พ.ศ. 2445
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2419–2429)
บุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี
บิดามารดาเจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่
เจ้าสุวัณณา ณ เชียงใหม่

ต่อมาภายหลังเจ้าจอมมารดาทิพเกษรได้ทูลลาออกจากตำแหน่งบาทบริจาริกา เพื่อไปประกอบธุรกิจส่วนตัวนอกพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2429 จนมีทรัพย์สินมากมาย ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2445

ประวัติ

แก้

เจ้าจอมมารดาทิพเกษร เป็นธิดาของเจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่ (โอรสเจ้าหนานมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่) กับเจ้าสุวัณณา ณ เชียงใหม่ (ธิดาในเจ้าอุตรการโกศล (น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่)) ซึ่งทั้งสองเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักร[4]

เจ้าอุตรการโกศล (น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นโอรสในพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 5 และเป็นตาของเจ้าทิพเกษร ได้พาท่านเข้าเฝ้าถวายเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2419 ทรงตรัสเรียกว่า นางทิพ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าทิพเกษรเข้าศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักกรุงเทพฯ อยู่ในสำนักของเจ้าจอมมารดาแพ ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ และยังโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) เป็นผู้อภิบาลดูแลเจ้าทิพเกษร[5]

เมื่อท่านมีประสูติการพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาทรง "กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี" ผู้เป็น "เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ของไทย" ครั้น พ.ศ. 2429 เจ้าจอมมารดาทิพเกษรก็ถูกจำหน่ายจากตำแหน่งเจ้าจอม ออกไปประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยรับซื้อและจำนองที่ดิน ทำให้ท่านมีตึกแถว และมีเรือกสวนไร่นาอีกหลายพันไร่ ถือเป็นเจ้าจอมที่ประกอบสัมมาอาชีพจนมีรายได้ด้วยตนเอง ภายหลังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดีให้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพราะไม่มีกำลังพอที่จะดูแลมรดก[6]

เจ้าจอมมารดาทิพเกษร ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัณโรคภายในเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2445[1] และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  • สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. เชียงใหม่ : [ม.ป.พ.], ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2538.
  1. 1.0 1.1 "ข่าวอสัญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (51): 996. 21 มิถุนายน พ.ศ. 2445. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "การกุศลปิดศพเจ้าจอมมารดาทิพเกษร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (12): 180. 8 มีนาคม พ.ศ. 2445. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "การเมรุวัดเทพศิรินทราวาศ ศพเจ้าจอมมารดาทิพเกสร เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ท่านผู้หญิงอู่ ท้าวภัณฑสาร เจ้าจอมเจิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (48): 1306. 1 มีนาคม พ.ศ. 2450. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
  5. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว, ผศ. ดร. เปิดแผนยึดล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 95
  6. สรัสวดี อ๋องสกุล (26 เมษายน 2562). "บทบาทของขัตยนารีในประวัติศาสตร์ล้านนา". วารสารประวัติศาสตร์. หน้า 23-24
  7. ราชกิจจานุเบกษา, การถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894, หน้า 262