พระเศวตวรวรรณ
พระเศวตวรวรรณฯ เป็นช้างสำคัญช้างที่หนึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลูกช้างด่าง ตกที่เมืองพร้าว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 โปรดให้หนานไชยวงศ์ พระยาไยชเลิก คุมลงมาถวายที่กรุงเทพมหานคร [1] เดินทางถึงเมื่อวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 1 ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช 1231 ตรงกับ พ.ศ. 2412
สปีชีส์ | ช้าง |
---|---|
สายพันธุ์ | ช้างอินเดีย |
เพศ | ผู้ |
เกิด | ไม่ทราบ เมืองพร้าว นครเชียงใหม่ |
ตาย | ไม่ทราบ |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2412 – ไม่ทราบ |
เป็นที่รู้จักสำหรับ | ช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 5 |
ยศ | พระ |
เจ้าของ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ. 2412) |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภช ขึ้นระวาง ณ โรงพิธี สนามชัย พระราชทานนามว่า พระเศวตวรวรรณฯ [2] และโปรดฯ ให้สร้างโรงช้างต้นขึ้นภายในบริเวณพระราชวังดุสิต (ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น ถนนอู่ทองใน)
อ้างอิง
แก้- ↑ พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย
- ↑ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้ตั้งนาม และแต่งคำฉันท์ดุษฎีสังเวย กล่อมพระเศวตฯ [1]