เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ | |
---|---|
![]() | |
เจ้านครลำพูน | |
ครองราชย์ | 12 มีนาคม พ.ศ.2418 - 17 กันยายน พ.ศ. 2434 |
รัชสมัย | 16 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ |
รัชกาลถัดไป | เจ้าเหมพินธุไพจิตร |
พิราลัย | 17 กันยายน พ.ศ. 2434 |
พระมเหสี | เจ้าปิมปา |
พระบุตร | 14 พระองค์ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ ลำพูน |
พระบิดา | เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ |
พระมารดา | เจ้าโก๊ะ |
พระประวัติ
แก้เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ หรือ เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ วรโฆษกิติโสภณวิมลคุณ หริภุญไชยมหาเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดาประดิษฐบดี เจ้าลำพูนไชย มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยดาวเรือง ราชสมภพเมื่อจุลศักราช - ปี- จัตวาศก (พ.ศ.-) ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับแม่เจ้าโก๊ะราชเทวี และทรงเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 กับแม่เจ้าคำแปงราชเทวี
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ ทรงเป็นราชโอรสพระองค์เดียวใน แม่เจ้าโก๊ะราชเทวี เสด็จขึ้นครองนครลำพูน ใน พ.ศ. 2414 และถึงแก่พิราลัยด้วยอาการไข้ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2434 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 20 ปี[1]
เมื่อแรกเข้ารับราชการนั้น เจ้าน้อยดาวเรืองได้เป็นนายทัพผู้หนึ่งในการขึ้นไปรบกับเมืองเชียงตุงสมัยรัชกาลที่ 4 คุมไพร่ 500 คน ร่วมกับพี่น้องคนอื่น ๆเข้าตีทางเมืองล้ง เป็นนายทัพและนายกองสมัยเดียวกันกับพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) และ พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ (เจ้าอินทนนท์)
เจ้าน้อยดาวเรืองได้รับราชการก้าวหน้าตามลำดับตลอดมา ได้ช่วยกิจการงานเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณผู้เป็นบิดา ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กิตติศัพท์ในความขยันหมั่นเพียรในราชการนี้ได้ขจรขจายไปถึงกรุงเทพอยู่ตลอด จนกระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชวงศ์แห่งนครลำพูน
เมื่อเจ้าผู้ครองนครลำพูนผู้เป็นบิดาได้ถึงแก่พิราลัยแล้วแต่ทางกรุงเทพยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดมาแทน เจ้าราชวงศ์ (ดาวเรือง) ได้รับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำพูนในปี พ.ศ. 2414
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2418 รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเจ้าราชวงศ์ (ดาวเรือง) ขึ้นเป็น เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ วรโฆษกิติโสภณวิมลคุณ หริภุญไชยมหาเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดาประดิษฐธิบดีเจ้าลำพูนไชย
ในสมัยที่เจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ปกครองเมืองอยู่นี้ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เพราะอิทธิพลทางพม่าถูกอังกฤษยึดครอง
ราชโอรส ราชธิดา
แก้เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 14 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำพูน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
ใน แม่เจ้าปิมปาราชเทวี (มีราชโอรส 1)
- เจ้าอินทยงยศโชติ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9
ใน แม่เจ้าน้อยเมืองคำ (มีราชธิดา 1)
- เจ้าบัวแก้ว ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าบัวคำ (มีราชโอรส 1)
- เจ้าน้อยต๋อ ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าก๋องแก้ว (มีราชธิดา 1)
- เจ้าแก้วมเหษี ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าล้อม (มีราชธิดา 1)
- เจ้ามธุรจิตร์ ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าเรือนแก้ว (มีราชโอรส 1)
- เจ้าน้อยบัวละถะ ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าเฟย (มีราชโอรส 1)
- เจ้าน้อยเลาแก้ว ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าบุเทวี (มีราชโอรส 1)
- เจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน), เจ้าราชบุตรนครลำพูน (พ.ศ. 2409 - พ.ศ. 2444)[2]
ใน แม่เจ้าคำแสน (มีราชโอรส 4 ราชธิดา 2)
- เจ้าน้อยแสงคำ ณ ลำพูน
- เจ้าแก้วสีมา ณ ลำพูน
- เจ้าจันทน์กลิ่นกู๊ ณ ลำพูน
- เจ้าน้อยแก้วพญาวัน ณ ลำพูน
- เจ้าหนานบัวระกฎ ณ ลำพูน
- เจ้าหนานหมื่นแก้ว ณ ลำพูน
ใน แม่เจ้าเฮือนคำ (ไม่มีราชโอรส ราชธิดา)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2427 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวเจ้าประเทศราชถึงแก่พิราลัยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8 ตอนที่ 31 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2434 หน้า 274
- ↑ ประวัติเจ้าราชบุตร
- ↑ พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า ๕๕๗)
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่.
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ | เจ้าผู้ครองนครลำพูน (พ.ศ. 2414 - พ.ศ. 2434) |
เจ้าเหมพินธุไพจิตร |