เจ้าหลวงธรรมลังกา (ไทยถิ่นเหนือ: ) หรือ พระยาน้อยลังกา (พ.ศ. 2384 - พ.ศ. 2386) เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงครองเมืองนครลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2384 ถึง พ.ศ. 2386 รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองนครลำพูน 2 ปี[2]

พระยาน้อยลังกา
พระยานครลำพูน
ครองราชย์พ.ศ. 2384 - พ.ศ. 2386[1]
รัชสมัย2 ปี
รัชกาลก่อนหน้าพระยาคำตัน
รัชกาลถัดไปเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
พิราลัยพ.ศ. 2386
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาพระเจ้าลำพูนไชย

พระประวัติ แก้

เจ้าหลวงธรรมลังกา มีพระนามเดิมว่า "เจ้าน้อยลังกา" เป็นราชโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าบุญมาเมือง เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2 ได้เข้ารับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุญมาเมือง ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองแก้ว นครลำพูนไชย เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าน้อยลังกา ได้ช่วยบิดาก่อสร้างเมืองลำพูน ดูแลรักษาบำรุงเมือง และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือเจ้าหลวงน้อยอินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3 ในการพัฒนาบ้านเมือง

ต่อมาในสมัยของเจ้าหลวงคำตัน เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 4 ได้มอบหมายให้เจ้าน้อยลังกา เป็นแม่ทัพคุมกำลังทหารไปรวมกับกำลังของเมืองเชียงใหม่ ในระหว่าง พพ.ศ. 2381 ถึง พ.ศ. 2382 ไปตีเมืองสาด เมืองต่วน และเมืองปุเป็นผลสำเร็จ

เจ้าน้อยลังกา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2384 และถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2386

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง. 2552
ก่อนหน้า พระยาน้อยลังกา ถัดไป
พระยาคำตัน   เจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2384 - พ.ศ. 2386)
  เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ