รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง

เจ้าผู้ครองนครลำปาง เป็นตำแหน่งที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญชัย โดยกษัตริย์พระองค์แรกของนครลำปางคือพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวี พระเจ้าอนันตยศทรงสร้างนครลำปางและขึ้นครองเมืองเมื่อ พ.ศ. 1231 ซึ่งลูกหลานของพระเจ้าอนันตยศยังคงขึ้นครองลำปางสืบต่อมา จนถึงรัชสมัยของพระยาเบิก ในปี พ.ศ. 1838 พญามังรายแห่งเวียงเชียงใหม่ ได้ให้ขุนสงครามยกทัพมาตีนครลำปาง พระยาเบิกทรงช้างออกมากระทำยุทธหัตถี กองทัพนครลำปางแตกพ่าย และพระยาเบิกได้รับบาดเจ็บ พระยาเบิกถูกขุนสงครามปลงพระชนม์ที่บ้านแม่ตาลน้อย ในเขตนครลำปาง ถือเป็นการสิ้นสุดยุคราชวงศ์หริภุญชัยในนครลำปาง

เจ้าผู้ครอง
แห่งนครลำปาง
ราชาธิปไตยในอดีต
ตราแผ่นดินเมืองนครลำปาง
เจ้าราชบุตร
(ผู้รั้ง) เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)
องค์สุดท้าย เจ้าราชบุตร
อิสริยยศ พระเจ้านครลำปาง
เจ้านครลำปาง
พระยาลำปาง
สถานพำนัก คุ้มหลวงหอคำ
ผู้แต่งตั้ง กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2275–2317)
กษัตริย์สยาม (พ.ศ. 2317–2468)
เริ่มระบอบ พ.ศ. 2275
สิ้นสุดระบอบ 1 มีนาคม พ.ศ. 2468
ผู้อ้างสิทธิ์ เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง

เมื่อพญามังรายมีอำนาจเหนือล้านนา ทรงแต่งตั้งให้ขุนมาครองนครลำปางสืบต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีได้กรีฑาทัพยึดล้านนาไว้ได้ทั้งหมด จึงสิ้นสุดยุคราชวงศ์มังรายในนครลำปาง ตลอดระยะที่พม่าได้ครอบครองอาณาจักรล้านนามาเป็นเวลา 200 ปีนั้น ได้กดขี่ข่มเหงชาวบ้านอย่างมากมาย จนเกิดกบฏหลายครั้ง จนกระทั่งหนานทิพย์ช้างได้ชัยชนะเหนือท้าวมหายศแห่งนครลำพูน (ซึ่งอยู่ในอำนาจของพม่า) และชาวเมืองพร้อมใจสถาปนาหนานทิพย์ช้างเป็นพระยาไชยสงคราม และเริ่มต้นยุคราชวงศ์ทิพย์จักร (ทิพย์จักราธิวงศ์) หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในนครลำปาง ลูกหลานของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)ได้ให้ความร่วมมือกับอาณาจักรธนบุรีและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในการขจัดอิทธิพลพม่าออกจากอาณาจักรล้านนาได้ทั้งหมด และสิ้นสุดยุคประเทศราชของพม่าในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนได้ครองนครลำปางจนถึง พ.ศ. 2465 ในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

รายพระนาม

แก้
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ รูป รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   พระยาไชยสงคราม(ทิพย์ช้าง) พ.ศ. 2275 พ.ศ. 2306 ต้นราชวงศ์ทิพย์จักร
2   เจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว พ.ศ. 2306 พ.ศ. 2317 พระโอรสในพระยาไชยสงคราม
สมัยธนบุรี
ลำดับ รูป รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
3   พระเจ้ากาวิละ พ.ศ. 2317 พ.ศ. 2325 พระโอรสในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
ต่อมาย้ายไปครองนครเชียงใหม่
สมัยรัตนโกสินทร์
ลำดับ รูป รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
4   พระยาคำโสม พ.ศ. 2325 พ.ศ. 2337 พระโอรสในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
5   พระเจ้าดวงทิพย์ พ.ศ. 2337 พ.ศ. 2368 พระโอรสในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
6   พระยาไชยวงศ์ พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2380 พระโอรสในพระยาคำโสม
7   พระยาขัติยะ พ.ศ. 2380 พระโอรสในพระยาคำโสม
8   พระยาน้อยอินท์ พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2391 พระโอรสในพระยาคำโสม
9   เจ้าวรญาณรังษี พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2414 พระโอรสในพระยาคำโสม
10   เจ้าพรหมาภิพงษธาดา พ.ศ. 2416 พ.ศ. 2435
(บางตำราว่า พ.ศ. 2429)
พระโอรสในพระเจ้าดวงทิพย์
ต่อมาเลื่อนเป็นจางวางเมืองนครลำปาง [1]
11   เจ้านรนันทไชยชวลิต พ.ศ. 2435 พ.ศ. 2438[2] พระโอรสในเจ้าวรญาณรังษี
12   เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2465 พระโอรสในเจ้านรนันทไชยชวลิต
-   เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2468 ผู้รั้งตำแหน่งเจ้านคร [3]
สยามยกเลิกประเพณีการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครประเทศราช

ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แก้
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ลำดับ รูป รายพระนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) พ.ศ. 2468 พ.ศ. 2482 (14 ปี)
2   พระเพชรคีรีศรีสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2513 (31 ปี)
3   เจ้าเดชา ณ ลำปาง พ.ศ. 2513 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (45 ปี)
4   เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน

พระราชลัญจกรประจำเจ้าหลวงนครลำปาง

แก้
 
พระราชลัญจกรประจำเจ้าหลวงนครลำปาง

พระราชลัญจกรประจำเจ้าหลวงนครลำปางหรือหน้าจีตในภาษาล้านนา[4] ใช้ประทับลงบนเอกสารสำคัญ มีลักษณะเป็นเทวดาประทับบนหลังพญานาคสามเศียร พระวรกายทรงเครื่องแบบเทวดาอย่างไทย ลักษณะทางประติมานวิทยาคล้ายพระคลังของสยาม เครื่องประดับทั่วพระวรกายสื่อถึงความมั่งคั่งร่ำรวย และแสดงถึงความเป็นจักรพรรดิราช พระเศียรสวมศิราภรณ์ลักษณะคล้ายมงกุฎ พระโอษฐ์อมยิ้ม พระกรซ้ายถือพระแสงขรรค์ หมายถึง การพิทักษ์และการปกป้องรักษา พระกรขวาถือดอกบัวหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ หรือทรัพย์สมบัติ[5]

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งเจ้าประเทศราช, เล่ม 9, หน้า 389
  2. ข่าวพิลาไลย
  3. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 เล่มที่ 40 หน้า82
  4. Facebook. (2016, February 26). ฮักเมืองลองนะ. Retrieved October 23, 2021, from Link
  5. พิพิธภัณฑ์เหรียญ กษาปณานุรักษ์. (2018, August 21). ประติมานวิทยาพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ. พิพิธภัณฑ์เหรียญ โดยกรมธนารักษ์. Retrieved October 21, 2021, from Link

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ลานนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ). เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง).
  • เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.

ดูเพิ่ม

แก้