เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง)
พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) หรือ แก้วภาพเมรุ ณ ลำปาง[1] เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นข้าราชการตำรวจชาวไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร (ภาคเหนือ) คนแรกของกองบังคับการตำรวจภูธรภาคเหนือ[2] และเป็นโอรสในเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง)
เจ้าราชวงศ์ | |
---|---|
เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง | |
ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง | |
ระยะเวลา | 1 มีนาคม พ.ศ. 2468 — พ.ศ. 2482 |
ก่อนหน้า | เจ้าราชบุตร |
ถัดไป | พระเพชรคีรี |
พิราลัย | พ.ศ. 2482 |
พระมเหสี | เจ้าทิพยอด ณ ลำปาง |
พระบุตร | พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ ลำปาง |
พระบิดา | เจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง) |
ศาสนา | เถรวาท |
อาชีพ | ตำรวจ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สยาม |
แผนก/ | กรมตำรวจ |
ชั้นยศ | พลตำรวจตรี |
บังคับบัญชา | ตำรวจภูธรภาคเหนือ |
ประวัติ
แก้เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เป็นโอรสในเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง) ซึ่งเป็นโอรสในพระยาอุปราชหมูล่า กับเจ้าหญิงคำปลิว พระธิดาในเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง สมรสกับเจ้าหญิงทิพยอด ธิดาในเจ้าพรหมาภิพงษธาดา[3] [4] เจ้าแก้วปราบเมรุ เข้ารับราชการเป็นตำรวจในกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำวัง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการคนแรก
เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น "พลตำรวจตรี" ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จในการพระราชทานพระแสงราชศัสตราวุธประจำจังหวัดนครลำปางเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2469[5]
พระยศ
แก้พระยศเสือป่า
แก้- 28 ธันวาคม 2463 – นายหมวดโท[6]
เจ้านายฝ่ายเหนือ
แก้เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นเจ้าแก้วปราบเมรุ ดำรงฐานันดรเป็น "เจ้าราชวงศ์" ซึ่งมีศักดิ์สูงสุดสืบต่อจากเจ้าผู้ครองนครลำปาง จึงเป็นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักสยามให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง สืบต่อจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่เนื่องจากเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง ธิดาในเจ้าบุญวาทย์ฯ ได้มีหนังสือถึงราชสำนักกรุงเทพ เพื่อขอให้แต่งตั้งเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) ผู้เป็นสวามีให้รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน
หากข้าเจ้าถือกำเนิดมาเป๋นจาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าเจ้าโดยชอบธรรมและข้าเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรีเพียงคนเดียวในป้อเจ้าบุญวาทย์ฯ หื้อเจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากป้อเจ้าแทน
— เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง
จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) รั้งตำแหน่งดังกล่าวแทน จนถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางราชสำนัก ก็มิได้มีการแต่งตั้งผู้รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปางอีก แต่เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำของเจ้านายฝ่ายเหนือสายนครลำปาง
พิราลัย
แก้เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ. 2482[7]
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[10]
- 1 มิถุนายน 2463 – เข็มข้าหลวงเดิม[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0ง): 1673. 12 พฤศจิกายน 2480.
- ↑ "ตำรวจภูธรภาค 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2015-06-16.
- ↑ "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2015-06-16.
- ↑ คติแนวคิดและพัฒนาการของการก่อกู่อัฐิในล้านนา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศตำรวจ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๖ หน้า ๓๖๐๓, วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๗๒
- ↑ ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๘ หน้า ๖๑๙, วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
ก่อนหน้า | เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) | ผู้สืบสายสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง (พ.ศ. 2468-พ.ศ. 2482) |
พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) |