พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง)

พันเอก พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) อดีตผู้นำสกุล ณ ลำปาง อดีตเจ้าเมืองสงขลา อดีตผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกจังหวัดนครลำปาง และเป็นเจ้านายที่ข้าราชการเคารพนับถือเป็นอย่างมาก[1] เป็นราชบุตรองค์โตของพลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ท.จ. กับเจ้าทิพยอด ณ ลำปาง (ธิดาในเจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 11)

พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม
(เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง)

พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม
พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) 1962.jpg
ราชวงศ์ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์
พระบิดาเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ท.จ.
พระมารดาเจ้าทิพยอด ณ ลำปาง
ประสูติพ.ศ. 2434
พิราลัยพ.ศ. 2513

พระประวัติส่วนพระองค์แก้ไข

เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง สูติเมื่อ พ.ศ. 2434 เป็นราชบุตรองค์โตของพลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) (เป็นราชบุตรในเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ ณ ลำปาง) และเป็นราชนัดดาในพระยาอุปราชหมูล่า) กับเจ้าทิพยอด พระธิดาในพระเจ้าพรหมาภิพงษ์ธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 10[2][3] ได้รับการศึกษาที่คุ้มของเจ้าราชวงศ์แก้วปราบเมรุ จนอายุได้ 13 ปี ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) หากนับตามการสืบราชสันตติวงศ์ของทางพระราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์และธรรมเนียมล้านนาครอบครัวที่เป็นผู้นำราชตระกูล ณ ลำปางและประธานราชตระกูล ณ ลำปางในพระราชวงศ์ทิพย์จักรธิวงศ์คือครอบครัวบุตรหลานเหลนของท่านพันเอก พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางลำดับที่ 1 ประธานราชตระกูล ณ ลำปาง) สืบไปทุกท่าน ตามประวัติศาสตร์หากไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครอบครัวในสายของพลตำรวจตรีเจ้าราชวงศ์แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง (เจ้าราชวงศ์นครลำปาง) พระบิดาของท่านพันเอก พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางลำดับที่1 ประธานราชตระกูล ณ ลำปาง) ที่เป็นฝ่ายชายทุกท่านมีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางและเจ้าขันห้าใบ (ลำดับชั้นยศของเจ้าผู้ครองนคร) ตามลำดับชั้นยศ ในปัจจุบันหนึ่งในทายาทฝ่ายชายซึ่งเป็นเจ้านายบุตรหลานในสายของท่านพันเอก พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม(เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ.) กับแม่เจ้าจำรัสศรี ณ ลำปาง(ณ สงขลา) หลานในเจ้าพระยาวิเชียรคีรี พระองค์เม่น ณ สงขลา (เจ้าผู้ครองนครสงขลา) ที่เป็นที่รู้จักในวงสังคมและวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดินจัดสรรทั้งในประเทศและต่างประเทศและธุรกิจคลังสินค้าให้เช่าขนาดใหญ่เจ้าแรกๆของประเทศไทยในกรุงเทพมหานครมีนามว่าท่านพ่อเลี้ยงธนพัฒหรือเป็นที่รู้จักในนาม (เจ้าธนพัฒ) หลานตาในเจ้าญานรังษี ณ ลำปางและเจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง เหลนในพันเอก พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางลำดับที่ 1 ประธานราชตระกูล ณ ลำปาง)

โอรส-ธิดาแก้ไข

เจ้าวรรณรา ณ ลำปางแก้ไข

สมรสกับเจ้าวรรณรา ณ ลำปาง (สกุลเดิม ณ ลำพูน) ธิดาในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10

แช่ม ณ ลำปางแก้ไข

สมรสกับนางแช่ม ธิดาของพระยาวิเชียรคีรี (ชม) มีบุตร 2 คน คือ

น้อม ณ สงขลาแก้ไข

เจ้าแก้วเมืองไท มีธิดากับนางน้อม ณ สงขลา ธิดาหลวงอุดมภักดี (ทับ) อีก 1 คน คือ เจ้าจันทร ณ ลำปาง

เจ้าจำรัสศรี ณ ลำปางแก้ไข

สมรสกับเจ้าจำรัสศรี ณ ลำปาง หลานสาวของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา)[5] และมีบุตร 3 คน ได้แก่

การทำงานแก้ไข

หลังสำเร็จการศึกษา เจ้าแก้วเมืองไท ได้เข้ารับราชการในสำนักราชเลขาธิการ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายวรการบัญชา” ต่อมาได้ตามเสด็จไปถวายงาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ที่จังหวัดสงขลา ในตำแหน่งนายอำเภอสะเดา และปฏิบัติหน้าที่ราชการในพื้นที่จังหวัดสงขลาจนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา คนที่ 14 รวมระยะเวลาที่รับราชการในจังหวัดสงขลากว่า 18 ปี

ในปี พ.ศ. 2475 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จแปรพระราชฐานโดยทางเรือไปประทับที่พระตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา รัฐบาลในขณะนั้น ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระเบิดทำลายทางรถไฟ แต่พระเพชรคีรีฯ ก็มิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง

พระเพชรคีรีฯ ยังพักอาศัยอยู่ในในจังหวัดสงขลา จนถึงปี พ.ศ. 2485 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองบ้านของท่าน และต่อมามีถนนตัดผ่านหน้าบ้านเดิมไปทะลุออกถนนนางงาม จึงมีการตั้งชื่อว่า “ถนนเพชรคีรี” เพื่อเป็นอนุสรณ์ ภายหลังถูกยึดครองบ้านพักจึงย้ายครอบครัวไปอาศัยที่จังหวัดลำปาง

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[6] ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานยศนายทหารพิเศษเป็นนายพันเอก

สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางแก้ไข

เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ในฐานะผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง (เจ้าเมืองประเทศราช)[7]

ในปี พ.ศ. 2496 เจ้าแก้วเมืองไท และนายวิเชียร ณ ลำปาง ได้ร่วมกันบริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนอนุบาลลำปาง เพื่ออุทิศให้เจ้าผู้ครองนครลำปาง และขออนุญาตให้ใช้นามว่า "เขลางค์รัตน์อนุสรณ์" เป็นชื่อโรงเรียนอีกชื่อหนึ่งด้วย[8]

พิราลัยแก้ไข

พระเพชรคีรีศรีราชสงคราม (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) ถึงพิราลัย ด้วยโรคชราที่กรุงเทพฯ สิริอายุได้ 80 ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2513

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

ลำดับสาแหรกแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. เชียงใหม่: ผู้จัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538, หน้า 48
  2. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.
  3. คติแนวคิดและพัฒนาการของการก่อกู่อัฐิในล้านนา[ลิงก์เสีย]
  4. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
  5. "สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ 6" (PDF). ชมรมสายสกุล ณ สงขลา. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 2" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  7. พิธีประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์[ลิงก์เสีย]
  8. "ประวัติโรงเรียนอนุบาลลำปาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี ๒๕๐๐, ตอนที่ ๗๔ เล่ม ๔๗ ง หน้า ๑๒๑๑, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๔๙๖, ตอนที่ ๗๑ เล่ม ๓ ง หน้า ๗๑, ๕ มกราคม ๒๔๙๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ตอนที่ ๖๗ เล่ม ๖๗ หน้า ๖๓๕๑, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, ตอนที่ ๕๐ หน้า ๒๓๖๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๖
ก่อนหน้า พระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) ถัดไป
เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง)   ผู้สืบสายสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2482-พ.ศ. 2513)
  เจ้าเดชา ณ ลำปาง