ตำรวจภูธรภาค 5
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เป็นส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดับกองบัญชาการ มีหน้าที่ดูแล 8 จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย[1]ได้แก่
- จังหวัดเชียงราย
- จังหวัดเชียงใหม่
- จังหวัดน่าน
- จังหวัดพะเยา
- จังหวัดแพร่
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- จังหวัดลำปาง
- จังหวัดลำพูน
ตำรวจภูธรภาค 5 Provincial Police Region 5 | |
---|---|
อักษรย่อ | ภ.5 |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2494 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
![]() | |
แผนที่เขตอำนาจของ ตำรวจภูธรภาค 5 | |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | ตำรวจภูธรภาค 5, ประเทศไทย |
ลักษณะทั่วไป |
|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 311 ถนนมหิดล ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | ![]() |
กองบังคับการ | • 11 กองบังคับการ • 1 ศูนย์ฝึก |
เว็บไซต์ | |
police5 |
ตำแหน่งผู้บัญชาการ | |
---|---|
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ชั้นยศ | ![]() |
หน่วย | กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 |
บังคับบัญชา | ตำรวจภูธรภาค 5 |
ประวัติ
แก้ในอดีตพื้นที่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อน อันเป็นประเทศราชของสยามในอดีตที่มีอำนาจปกครองตนเอง แต่ขึ้นกับราชอาณาจักรสยาม (รัตนโกสินทร์) จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รวมอาณาจักรล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม[2] และถูกจัดการปกครองใหม่ให้เป็นสองมณฑล[3]อันได้แก่ มณฑลพายัพ และ มณฑลมหาราษฎร์ (ภายหลังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการยุบมารวมกับมณฑลพายัพ)[4] เมื่อการปกครองมีลักษณะขึ้นอยู่กับส่วนกลางเป็นหลักแล้วจึงต้องมีการจัดตั้งหน่วยราชการจากส่วนกลาง
โดยในส่วนของตำรวจนั้นช่วงแรกเป็นหน้าที่ของกรมพลตระเวนหัวเมือง ภายหลังสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทน โดยสังกัดกับกระทรวงมหาดไทย และมีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรไปตามมณฑลต่าง ๆ[5] รวมถึงทมณฑลในภาคเหนือทั้งสองนี้ด้วย โดยเมื่อมีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรในภาคเหนือแล้ว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นผู้บังคับบัญชาท่านแรก [4] โดยในช่วงแรกนี้เองก็ถูกเรียกว่ากองบัญชาการตำรวจภูธรเขต 3 ก็ได้ตั้งอยู่ในคุ้มเจ้าหลวงนครลำปางด้วยความอนุเคราะห์จาก พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์(เจ้าแก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ ณ ที่ตั้งเดิมของกงศุลอังกฤษในสมัยที่เป็นอาณาจักรล้านนา ริมแม่น้ำ ้วัง ใน อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง[4]
ในปี พ.ศ. 2494 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 5 และทำการสร้างตัวกองบัญชาการขึ้นใหม่ใกล้กับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง และสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปาง[4] แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการออก พรฎ.การแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ พ.ศ. ๒๕๑๙[6] ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนใหม่อีกครั้งโดยครั้งนี้ใช้ชื่อ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ ๓[7] โดยได้จัดตั้งกองบังคับการ 1-12 ขึ้น ในกองบัญชาการตำรวจภูธร 1-4[8] และกองบังคับการ 7 - 9 ขึ้นต่อกองบัญชาการตำรวจภูธร 3
หลังจากนั้นก็มีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (บช.ภ.5) และสุดท้ายก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครั้งสุดท้ายที่ยังใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ก็ได้กำหนดให้เป็นตำรวจภูธรภาค 5 (ภ.5)[9] ในปัจจุบัน[10]
กองบังคับการในสังกัต
แก้ตำแหน่งผู้บังคับการ | |
---|---|
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ชั้นยศ | พลตำรวจตรี |
หน่วย | กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 |
บังคับบัญชา | กองบังคับการ |
ตำรวจภูธรภาค 5 ประกอบไปด้วย 3 กองบังคับการ 8 ตำรวจภูธรจังหวัด[11] (สถานะเทียบเท่ากองบังคับการ แต่ไม่ต้องเรียกขึ้นต้นด้วยคำว่ากองบังคับการ) 1 ศูนย์ฝึก และ 1 กองกำกับการ ประกอบด้วย
- กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.)
- กองบังคับการกฎหมายและคดี (บก.กค.)
- กองบังคับการสืบสวนสอบสวน (บก.สส.)
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ (กก.ปพ.)
- ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย (ภ.จว.เชียงราย)
- ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ (ภ.จว.เชียงใหม่)
- ตำรวจภูธรจังหวัดน่าน (ภ.จว.น่าน)
- ตำรวจภูธรจังหวัดพะเยา (ภ.จว.พะเยา)
- ตำรวจภูธรจังหวัดแพร่ (ภ.จว.แพร่)
- ตำรวจภูธรจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ภ.จว.แม่ฮ่องสอน)
- ตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง (ภ.จว.ลำปาง)
- ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน (ภ.จว.ลำพูน)
ศูนย์ฝึก
แก้- ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 (ศฝร.)
อ้างอิง
แก้- ↑ https://police5.go.th/p5/about-us/field
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
- ↑ มณฑลพายัพ
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 มณฑลมหาราษฎร์
- ↑ http://www.ppr3.go.th/aboutus/history
- ↑ http://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/32753/3/Noppadol_pe_ch4.pdf
- ↑ http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/29259
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-03. สืบค้นเมื่อ 2019-10-26.
- ↑ http://www.royalthaipolice.go.th/agencies_under.php
- ↑ https://www.sbpolice.go.th/news/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%81%e0%b8%a4%e0%b8%a9%e0%b8%8e%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%a3/
- ↑ กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ที่มา
แก้- https://police5.go.th/p5/about-us/history
- http://www.p2.go.th/newweb/index.php/en/about-us-2/history เก็บถาวร 2016-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2017-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD เก็บถาวร 2018-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.royalthaipolice.go.th/agencies_under.php