พระยาคำโสม (พ.ศ. 2287 — พ.ศ. 2337)[1] หรือ เจ้าคำสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือพระเจ้ากาวิละ ในระหว่างปี พ.ศ. 2329-2337 ถึงแก่กรรมขณะอายุได้ 50 ปี

พระยาคำโสม
พระยานครลำปาง
ครองราชย์พ.ศ. 2329 — พ.ศ. 2337
รัชสมัย9 ปี
ก่อนหน้าพระยากาวิละ
ถัดไปพระเจ้าดวงทิพย์
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
อุปราชพระยาดวงทิพย์
ประสูติพ.ศ. 2287
พิราลัยพ.ศ. 2337 (50 ปี)
ราชเทวีแม่เจ้าปทุมมาราชเทวี
แม่เจ้าจันทรา
แม่เจ้าจอมแก้ว
พระบุตร12 องค์
ราชสกุลณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว
พระมารดาแม่เจ้าจันทาราชเทวี
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ

แก้

พระยาคำโสม เกิดเมื่อปีชวด พ.ศ. 2287 มีเจ้าพี่เจ้าน้องรวม 10 องค์ หญิง 3 ชาย 7 เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[2]

  1. พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 และเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3 ในทิพย์จักราธิวงศ์
  2. พระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
  3. พระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  4. พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
  5. เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  6. เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์)
  7. พระยาอุปราชหมูล่า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
  8. พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  9. เจ้าหญิงสรีบุญทัน (ถึงแก่กรรมแต่เยาว์)
  10. พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

พระเจ้าคำโสม อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงปทุมมา ต่อมาคือ แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี และมีชายาอีกหลายพระองค์ อาทิ แม่เจ้าจันทรา แม่เจ้าจอมแก้ว

ราชโอรส-ธิดา

แก้

พระเจ้าคำโสม มีราชโอรสหลายองค์ องค์ที่ได้ขึ้นครองนคร ได้แก่

  1. พระยาไชยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 6 เป็นโอรสองค์ที่ 1
  2. พระยาขัติยะ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 7 เป็นโอรสองค์ที่ 2
  3. พระยาน้อยอินท์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3 เป็นโอรสองค์ที่ 3
  4. เจ้าราชวงศ์ (คำแสน ณ ลำปาง), เจ้าราชวงศ์นครลำปาง
  5. พระยาประเทศอุตรทิศ (พุทธวงศ์) (เจ้าน้อยพุทธวงศ์ ณ ลำปาง) เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 1
  6. เจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9 เป็นโอรสองค์ที่ 4
  7. เจ้าหลวงมหายศ (เจ้าน้อยมหายศ ณ ลำปาง), พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 2
  8. เจ้าราชวงศ์แก้วมนุษย์ ณ ลำปาง, เจ้าราชวงศ์เมืองพะเยา
  9. เจ้าอุปราชหนานยศ ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชเมืองงาว
  10. เจ้าสุริยวงศ์ (คำลือ ณ ลำปาง), เจ้าสุริยวงศ์เมืองงาว
  11. เจ้าราชบุตร (คำเครื่อง ณ ลำปาง), เจ้าราชบุตรนครลำปาง
  12. แม่เจ้าอุบลวรรณาเทวี (ณ ลำปาง) ใน เจ้าหลวงฟ้าเมืองแก้วขัตติยะ (ศีติสาร), พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 3

พระราชกรณียกิจ

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2307 เจ้าฟ้าแก้ว ได้ครองนครลำปาง และเจ้าคำโสม ได้ช่วยงานราชการนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2309 เจ้าคำโสม ได้นำกำลังไพร่พลจากนครลำปางเข้าสมทบกองทัพพม่าที่เกณฑ์กำลังหัวเมืองขึ้นทั้งปวงของพม่าในเวลานั้น เพื่อเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

ในปี พ.ศ. 2317 พระยาคำโสมได้รับพระราชทานอาชญาสิทธิ์เป็นพระยาราชวงศ์นครลำปาง[3] ถึงปีมะเมีย อัฐศก จ.ศ. 1148 พ.ศ. 2329 เจ้าคำโสมได้รับแต่งตั้งเป็นพระยานครลำปาง[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2336 พระยาคำโสมร่วมกับพระเจ้ากาวิละ และเจ้าพี่น้องรวมกัน 7 คน (ภายหลังได้รับสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") และกองทัพเมืองแพร่ เมืองน่าน มีไพร่พล 10,000 ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนล้อมเมืองอยู่ 2 เดือน จึงยึดเมืองได้

พระเจ้าคำโสม เมื่อว่างจากราชการสงครามได้ทำนุบำรุงพระศาสนาในนครลำปาง อาทิ สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระเจ้าตนหลวง) การสร้างวัดหลวงกลางเวียง วิหารวัดป่าดัวะ วิหารวัดศรีเกิด วิหารวัดหมื่นกาด วิหารวัดปงสนุก วิหารวัดป่าพร้าว รวมทั้งสิ้น 8 วัด และสร้างรั้วรอบพระธาตุลำปางหลวง และพระธาตุเสด็จ[5]

พระยาคำโสมป่วยถึงแก่กรรมในปีขาลฉศก จ.ศ. 1156 (พ.ศ.2337) เป็นพระยานครได้ 9 ปี[4]

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. หนานอินแปง. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2546
  2. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. วรชาติ มีชูบท (2556) เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค หน้า 4
  4. 4.0 4.1 พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 92
  5. มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
บรรณานุกรม
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
  • ประชากิจกรจักร, พระยาพงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683
ก่อนหน้า พระยาคำโสม ถัดไป
พระเจ้ากาวิละ   เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2329 — พ.ศ. 2337)
  พระเจ้าดวงทิพย์