เจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9 ในราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นราชบุตรในพระยาคำโสม

เจ้าวรญาณรังษี
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ครองราชย์16 ตุลาคม พ.ศ. 2399 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2414[1]
รัชสมัย15 ปี
ก่อนหน้าพระยาน้อยอินท์
ถัดไปเจ้าพรหมาภิพงษธาดา
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาอุปราชนครลำปาง
ดำรงพระยศไม่ปรากฏ - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399
ก่อนหน้าพระยาขัติยะ
ถัดไปเจ้าอุปราชมหาพรหม
เจ้าหลวงพระยาน้อยอินท์
พิราลัย7 มิถุนายน พ.ศ. 2414
ชายาเจ้าสุวันไล
พระนามเต็ม
เจ้าวรญาณรังษี ภักดีราชธรรม์ สุพรรณโสมดไนย โยนกวิไสยประชาธิกร อมรมหาเดชเชษฐกเสนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง
พระบุตร
  • เจ้าอุปราชไชยแก้ว
  • เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยธรรมเสนา)
  • เจ้าสุริยะจางวาง
  • เจ้าหญิงสุยคำ
  • เจ้านรนันทไชยชวลิต
  • เจ้าหญิงคำปลิว
  • เจ้าฟ้าฮ่วน
  • เจ้าหญิงอินทร์ตุ้ม
  • เจ้าราชภาติกวงศ์ (เมืองพรหม)
  • เจ้าหญิงเมืองชื่น
ราชสกุลณ ลำปาง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาพระยาคำโสม
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ แก้

เจ้าวรญาณรังษี มีนามเดิมว่าเจ้าญาณรังสี เป็นโอรสองค์ที่ 5 ของพระยาคำโสม ได้สมรสกับเจ้าสุวันไล (เจ้าฝาง) มีโอรส-ธิดา ได้แก่

  1. เจ้าอุปราช (ไชยแก้ว) เจ้าอุปราชนครลำปาง พิราลัยก่อนปี พ.ศ. 2429
  2. เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยธรรมเสนา) เจ้าบุรีรัตน์นครลำปาง พิราลัยก่อน พ.ศ. 2419
  3. เจ้าน้อยคำป้อ ต่อมาขึ้นครองนครลำปางเป็นที่ เจ้าสุริยะจางวาง
  4. เจ้าหญิงสุยคำ มีธิดาคือ
    • เจ้าองค์ทิพย์ (ญ.) มีธิดาคือ
      • เจ้าบุ (ญ.)
  5. เจ้าน้อยทนันท์ไชย ต่อมาขึ้นครองนครลำปางเป็นที่ เจ้านรนันทไชยชวลิต
  6. เจ้าหญิงคำปลิว สมรสกับเจ้าบุรีรัตน์ (บุญเลิศ) เจ้าบุรีรัตน์นครลำปาง โอรสพระยาอุปราชหมูล่า มีโอรสคือ
  7. เจ้าฟ้าฮ่วน
  8. เจ้าหญิงอินทร์ตุ้ม
  9. เจ้าราชภาติกวงศ์ (เมืองพรหม) สมรสกับเจ้าบัวคำ มีโอรสคือ
    • เจ้าฟ้าฮ่วน สมรสกับเจ้ากาบจันทร์ มีโอรสคือ
      • เจ้าน้อยศรีหมื่น สมรสกับนางคำปัน มีธิดาคือ
        • เจ้าศรีมา ณ ลำปาง (ญ.)
  10. เจ้าหญิงเมืองชื่น ราชเทวีของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

เจ้าวรญาณรังสี ได้รับราชการจนมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอุปราชเมืองนครลำปาง เมื่อพระยาน้อยอินท์ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีตราตั้งให้ท่านว่าราชการเมืองนครลำปาง[2] ถึงวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง (ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2399[1]) จึงโปรดให้เลื่อนเป็น เจ้าวรญาณรังษี ภักดีราชธรรม์ สุพรรณโสมดไนย โยนกวิไสยประชาธิกร อมรมหาเดชเชษฐกเสนางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง[3]

เจ้าวรญาณรังษีว่าราชการเมืองมาได้ 16 ปี ก็ป่วยจนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม จ.ศ. 1233[4] (ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2414[1])

พระราชกรณียกิจ แก้

ในปี พ.ศ. 2400 เจ้าวรญาณรังษี เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการลงฤกษ์ฝังเสาอินทขีล (เสาหลักเมือง) ณ วัดปงสนุก และในปีต่อมาได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำวัง และบูรณะเนินพระธาตุวัดปงสนุก

ในปี พ.ศ. 2406 ได้สร้างสะพานหนองกระทิง และเป็นปีเดียวกันที่เจ้าอุปราช (มหาพรหม) พิราลัย และในปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเจ้าวรญาณรังษี เสด็จได้เข้าร่วมพิธีดังกล่าวในฐานะเจ้านครประเทศราช

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 17
  2. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 20
  3. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 20
  4. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 28
บรรณานุกรม
  • ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0


ก่อนหน้า เจ้าวรญาณรังษี ถัดไป
พระยาน้อยอินท์   เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2399 - 2414)
  เจ้าพรหมาภิพงษธาดา