เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง
เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง มีนามเดิมว่า เจ้าสะเปาคำ หรือ สำเภาคำ เป็นธิดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ กับแม่เจ้าเมืองชื่น และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขึ้นรั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปาง ของเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ผู้เป็นสวามี ในปี พ.ศ. 2465
เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง | |
---|---|
สามี | เจ้าหม่อม ณ ลำปาง เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) |
บุตร | เจ้าหญิงอบ ณ ลำปาง เจ้าหญิงสร้อยแก้ว ณ ลำปาง เจ้าวงเกษม ณ ลำปาง เจ้าหญิงฟองสมุท ณ ลำปาง เจ้ามงคล ณ ลำปาง เจ้าหญิงบุญศรี ณ ลำปาง เจ้าหญิงศรีโสม ณ ลำปาง |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
พระบิดา | เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต |
พระมารดา | เจ้าเมืองชื่น ณ ลำปาง |
ศาสนา | พุทธนิกายเถรวาท |
ประวัติ
แก้เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง เป็นราชธิดาในเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต กับแม่เจ้าเมืองชื่น
เจ้าศรีนวล สมรสกับเจ้าน้อยหม่อม โอรสเจ้านรนันท์ไชยชวลิต มีธิดา 1 คน คือ เจ้าหญิงอบ ณ ลำปาง
ต่อมาสมรสกับเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) โอรสในเจ้าราชบุตร (รวงคำ ณ ลำปาง) มีโอรสธิดา 6 คน คือ
- เจ้าหญิงสร้อยแก้ว ณ ลำปาง
- เจ้าวงเกษม ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงฟองสมุท ณ ลำปาง
- เจ้ามงคล ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงบุญศรี ณ ลำปาง (1 มิถุนายน 2458 - 5 เมษายน 2553)
- เจ้าหญิงศรีโสม ณ ลำปาง
บทบาทในการสนับสนุนการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครลำปาง
แก้เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2465 เจ้าศรีนวล ได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) ได้รับแต่งตั้งให้รั้งนครลำปาง (หมายถึงการรักษาการในตำแหน่งเจ้าหลวง) เนื่องจากเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ไม่มีราชโอรสกับราชเทวี มีเพียงโอรสกับเทวีองค์อื่น ๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร สมควรจะแต่งตั้งจากเจ้าขันห้าใบ ที่ดำรงฐานันดรชั้นสูงกว่า กล่าวคือ สมควรจะแต่งตั้งเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) แต่ในครั้งนั้นเจ้าศรีนวล ได้มีหนังสือไปยังราชสำนักกรุงเทพ ความตอนหนึ่งว่า
หากข้าเจ้าถือกำเนิดมาเป๋นจาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าเจ้าโดยชอบธรรมและข้าเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรีเพียงคนเดียวในป้อเจ้าบุญวาทย์ฯ หื้อเจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากป้อเจ้าแทน
— เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง
ส่งผลให้ราชสำนักกรุงเทพ จึงต้องแต่งตั้งให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปาง[1] สืบแทนเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แม้ว่าจะมีฐานะเป็นเพียงพระชามาดาก็ตาม
ภายหลังการถึงแก่พิราลัยของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ในปี พ.ศ. 2465 แล้ว เจ้าศรีนวล กับสวามีในฐานะเจ้าผู้ครองนครลำปาง ก็หาได้มีฐานะอันมั่งคั่งร่ำรวยแต่ดังก่อน แม้จะเป็นผู้รับผิดชอบมรดกของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่ไม่สามารถจัดการเรื่องหนี้สินได้ เจ้าราชบุตรได้พยายามขอยืมเงินรัฐบาลไปประมูลซื้อคุ้มหลวงคืน และยังร้องขอให้รัฐบาลสยามรับซื้อคุ้มหลวงเอง[2] ดังปรากฏในความตอนหนึ่งที่พระศรสุรราช (เปลื้อง ศาสตระรุจิ) กราบทูลอภิรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2468 ว่าเจ้าราชบุตร ในฐานผู้จัดการมรดกจำนวนประมาณ 11 แสนบาทเศษ ได้ใช้สอยหมดเปลืองไปในทางสุรุ่ยสุร่าย คงเหลือไม่เกินกว่าร้อยละ 30[3] และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กล่าวถึงเจ้าราชบุตร และเจ้าศรีนวล ว่าถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว มีแต่หนี้สินรุงรัง เป็นอันสิ้นหวังที่จะใช้เงินมรดกปลงศพเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตได้[4]
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าศรีนวล ณ ลำปาง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (2559). เจ้าหญิงศรีนวล ณ ลำปาง กับการล่มสลายของเจ้านายลำปาง. ใน ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น (บก.), ร้อยปีเปลี่ยนไป ลำปางเปลี่ยนแปลง (น. 159-196). ลำปาง: สำนักงานจังหวัดลำปาง.
อ้างอิง
แก้- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40: 82. 8 เมษายน 2466. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วิบากกรรมการเงินเจ้าลำปาง เจ้าหนี้ถึงกับยึดเครื่องประดับพระยศงานศพเจ้าหลวงไปขัดดอก!วารสารประวัติศาสตร์ วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2565
- ↑ วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. 2556. หน้า 372
- ↑ วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค. 2556. หน้า 371